พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทดแทนทางแพ่งจากการเปิดใช้ทางจำเป็นบนที่ดิน และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์หลังการเวนคืน
การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การครอบครองที่ดินในแนวเขตเวนคืนเป็นของรัฐ แม้ยังมิได้จดทะเบียนเวนคืนทั้งหมด สิทธิเรียกร้องเป็นของเจ้าของเดิม
เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งที่ดินอยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้ขอรังวัดแบ่งเวนคืนที่ดินส่วนหนึ่งที่อยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้แก่กรมทางหลวงใช้สร้างถนนจนแล้วเสร็จ แต่ที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่เหลือจากการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนและที่ดินที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเวนคืนอันเป็นที่ดินพิพาทนั้นก็อยู่ในแนวเขตเวนคืนเพื่อใช้สำหรับงานทาง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ด้วย ที่ดินพิพาทย่อมถูกเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 เป็นของรัฐแล้ว การจดทะเบียนแบ่งเวนคืนหรือจดทะเบียนเวนคืนสำหรับที่ดินทั้งสองส่วนนี้อาจกระทำคนละครั้งได้ มิใช่ว่า เมื่อมีการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนที่ดินเป็นของกรมทางหลวงและมีการเปิดใช้ทางหลวงแผ่นดินฯ แล้ว จะถือว่าการเวนคืนเสร็จสิ้นและทำให้ที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตเวนคืนของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่ยังมิได้ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนเวนคืน ปลอดพ้นจากการเวนคืนแต่อย่างใด
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินค่าทดแทนเวนคืนสำหรับภาระจำยอม: การพิจารณาผู้รับประโยชน์และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางตามมาตรา 1349 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็นโดยเฉพาะ ไม่รวมถึงผู้ได้สิทธิในการใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยประการอื่น และเมื่อมาตรา 29 บัญญัติถึงทรัพยสิทธิอย่างอื่นเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนไว้แล้วซึ่งทางภาระจำยอมในคดีนี้เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาตรา 18 (6) มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้สิทธิในภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงอื่นโดยทางอื่นนอกจากบทบัญญัติมาตรา 18 (6) จึงต้องบังคับตามมาตรา 29
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝาก
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตาม พระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติ ให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงิน ค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ย่อมเป็นผล ถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนด เวลาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 และ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงิน ค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นแม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้วก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามเพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดิน ดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาแล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนด เงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคา เบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นผู้พิจารณากำหนดตาม หลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่ พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมาย ให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่า ราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทน ให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเล ที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่ กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุน ข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯมีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกัน ตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใดและเมื่อพยานหลักฐาน ของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปด มีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึง หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกำหนดเงิน ค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 66 วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินเมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน-เจ้าของรวม-การโอนสิทธิ-ดอกเบี้ย-หลักเกณฑ์การประเมินราคา
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย
ป.พ.พ.มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆอาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่งไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 ย่อมเป็นผลถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 และมาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 16วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น แม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้ว ก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้าม เพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.แล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนดเงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เป็นผู้พิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่าราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พ.ร.ฎ.ฯ มีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใด และเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปดมีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน เมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีคงที่ตลอดไป เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
ป.พ.พ.มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆอาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่งไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 ย่อมเป็นผลถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 และมาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 16วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น แม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้ว ก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้าม เพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.แล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนดเงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เป็นผู้พิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่าราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พ.ร.ฎ.ฯ มีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใด และเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปดมีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน เมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีคงที่ตลอดไป เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิอุทธรณ์ 60 วันของผู้รับค่าทดแทนและอำนาจฟ้องของผู้รับประโยชน์ภาระติดพัน
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิสำเนาของโจทก์แล้วโดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 นั้นไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วันซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนกล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสอง,29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กำหนดเวลาอุทธรณ์ และสิทธิผู้รับประโยชน์
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิลำเนาของโจทก์แล้ว โดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2แผ่นที่ 3 นั้น ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วัน ซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน กล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 16 วรรคสอง, 29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน กล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 16 วรรคสอง, 29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4913/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับ มิใช่แค่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 1 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติถึงขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 17 มีใจความโดยย่อดังนี้ คือ มาตรา 5 เมื่อรัฐต้องการจะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืน จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ มาตรา 6 บัญญัติว่าข้อความใดบ้างจะต้องระบุในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 กำหนดให้ปิดประกาศสำเนาพระราชกฤษฎีกาในที่ต่าง ๆ มาตรา 9 เมื่อใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วให้เจ้าหน้าที่สำรวจเพื่อทราบ "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน" แล้วตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ และหากจะมีการซื้อขายก็ให้ปฏิบัติตามมาตรา 10ถึงมาตรา 14 ขั้นตอนต่อไปบัญญัติในมาตรา 15 ว่า เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีแผนที่หรือแผนผังด้วย และในที่สุดบัญญัติถึงการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 16 ว่า "ให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ" ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนยังไม่มีผลทำให้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆตามมาตรา 15 แล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับแต่ในกรณีนี้เพียงแต่ปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวางเขตบางกะปิ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เท่านั้นยังไม่ปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แต่อย่างใด ขณะขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่ ยังไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่ การขายทอดตลาดไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด ไม่อาจจะให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องได้