คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ร.ว.ทองเพิ่ม ทองแถม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีเข้าเมืองและการอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขาดอายุความฟ้อง
จำเลยได้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ผ่านการตรวจของ เจ้าพนักงานและไม่ได้เดินทางเข้ามาตามช่องทางซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้ตามกฎหมาย(จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้เข้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์ขาดอายุความ) และจำเลยได้อยู่ในประเทศไทยโดยมิได้รับอนุญาตตลอดมาจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2509 เป็นเวลาถึง 10 ปีแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 21 (โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 11กันยายน 2510) ดังนี้ คดีจึงไม่ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2493 มาตรา 58 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ผ่านการตรวจของเจ้าพนักงานและไม่ได้เดินทางเข้ามาตามช่องทางซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้ตามกฎหมาย(จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้เข้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์ขาดอายุความ) และจำเลยได้อยู่ในประเทศไทยโดยมิได้รับอนุญาตตลอดมาจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2509 เป็นเวลาถึง 10 ปีแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 21 (โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2510) ดังนี้ คดีจึงไม่ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2493 มาตรา 58 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเพิ่มเติมไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม หากขยายความประเด็นข้อต่อสู้เดิมได้ ศาลต้องอนุญาตให้สืบพยาน
กรณีที่ถือว่าคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดแย้งกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเพิ่มเติมที่ไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลอนุญาตให้สืบประเด็นได้ การฟ้องขับไล่ที่ไม่สุจริต
กรณีที่ถือว่าคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดแย้งกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์โมฆียะแต่ยังไม่บอกล้าง โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่าโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์ที่ภริยาทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ย่อมเป็นโมฆียะ แต่ยังไม่บอกล้างถือว่ามีผลใช้บังคับ
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่า โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-44/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อปรากฏว่ากรณีพิพาทเป็นเรื่องเถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า เป็นของโจทก์หรือจำเลย แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาทและขอให้สั่งเพิกถอนโฉนดของจำเลยเสียด้วย ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นเพียงส่วนของคำขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินนั่นเองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-44/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อปรากฏว่ากรณีพิพาทเป็นเรื่องเถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นของโจทก์หรือจำเลย แม้โจทก์จะมีกำขอให้ห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาท และขอให้สั่งเพิกถอนโฉนดของจำเลยเสียด้วย ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นเพียงส่วนของคำขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
of 5