คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 744 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีจำนอง: สิทธิจำนองยังคงอยู่ แม้พ้นระยะเวลาบังคับคดี
ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และ 745 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เมื่อคดีเข้าสู่ศาล กระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. ดังนั้น เมื่อ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย อย่างไรก็ตาม ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13104/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี จำเป็นต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ หรือมีเหตุใช้สิทธิทางศาล กรณีจำนองถูกต้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ที่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล กล่าวคือ ต้องมีกฎหมายรองรับว่ามีสิทธิหรือหน้าที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์แย่งสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของภายหลังจากที่ พ. จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ไว้แก่จำเลยก่อนที่จำเลยฟ้องบังคับให้ พ. ชำระหนี้และดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดแก่ผู้มีชื่ออันมีผลให้สัญญาจำนองระงับตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (3) (4) เท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยจดทะเบียนรับจำนองจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินและบ้านพิพาท ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้แก่ตนได้ การที่โจทก์จะเข้าแย่งการครอบครองหรือได้สิทธิครอบครองในภายหลังหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นหรือเป็นการถอนจำนอง อันมีผลให้สัญญาจำนองระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (3) (4) ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายหรือใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายประการใด การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์หรือมีเหตุที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความ และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์จำนองถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นนำยึดออกขายทอดตลาดโดยติดจำนอง จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์ติดจำนองดังกล่าว ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จำนองศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดโจทก์มิได้บังคับคดีจนล่วงเลย 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่การจำนองหาระงับสิ้นไปไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) (3) เพราะมิใช่กรณีหนี้ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความหรือผู้จำนองหลุดพ้น การจำนองจึงยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 เมื่อจำเลยซื้อทรัพย์ติดจำนอง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองแก่จำเลยจากทรัพย์นั้นได้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ (1) ดอกเบี้ย (2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ (3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองมีข้อตกลงว่าผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองทรัพย์พิพาทได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาจำนองได้ แม้จำเลยไม่ใช่ผู้กู้และมิได้เป็นคู่สัญญาจำนองกับโจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันและจำนอง: จำเลยต้องแสดงเจตนาชำระหนี้ที่ถูกต้องชัดเจน
หนังสือบอกกล่าวแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 กับหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ของโจทก์ ระบุยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระไม่ตรงกัน หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาระความรับผิดของตนและเห็นว่ายอดหนี้ที่โจทก์แจ้งมิใช่ยอดหนี้ที่แท้จริง ก็ชอบที่จำเลยที่ 2 จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยแสดงเจตนาขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้อง ลำพังหนังสือแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้ดังกล่าว จึงยังถือมิได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 , 727 , 744 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินจำกัดตามจำนวนเงินกู้เดิม แม้เจ้าหนี้ขยายวงเงินกู้
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ต่อมาได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 20 กันยายน2529 ไปจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ซึ่งโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากบัญชีดังกล่าว หรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นสองครั้ง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ถือว่าสัญญาเลิกกันนับแต่วันที่ 20กันยายน 2529 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันดังกล่าว หามีสิทธิคิดถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2531 ไม่ จำนวนยอดหนี้ในวันที่ 20 กันยายน 2529 อันเป็นวันสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันไม่มีระบุไว้ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่โจทก์ส่งศาล คงระบุไว้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 และวันที่ 30 กันยายน2529 ดังนี้ ศาลย่อมคำนวณดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2529ถึงวันที่ 20 กันยายน 2529 ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด แล้วนำไปรวมกับยอดหนี้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2529 เป็นยอดหนี้ในวันที่20 กันยายน 2529 ได้เอง ศาลฎีกาคำนวณรวมยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องร่วมกันชำระแก่โจทก์รวม 479,159.58 บาท แต่ศาลอุทธรณ์คำนวณรวมยอดหนี้ได้ 479,029.59 บาท เป็นการคำนวณผิดพลาดไปเล็กน้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมีข้อความทำนองเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นจำนวน 400,000บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดก็ตาม ก็เป็นการผูกพันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ และแม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความตอนท้ายว่า "ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง" และข้อความว่า"ถ้าแม้ว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวมาแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด... ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันที" ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้(จำเลยที่ 1) ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาทันทีและโดยสิ้นเชิงภายในต้นเงิน 400,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับลูกหนี้แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 ขอชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อหนี้ถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรกแล้ว โจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 โดยจะให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว การค้ำประกันมีผลถึงวงเงินที่จำนองเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากหนี้เมื่อเจ้าหนี้ไม่รับชำระ
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)