พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างคนประจำเรือมีกำหนดระยะเวลา สิทธิการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือ 2 ฉบับ ฉบับแรกตกลงว่าจ้างโดยเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2559 สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 ตกลงว่าจ้างโดยเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2560 ตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรก จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ทำงานบนเรือในตำแหน่งต้นกล มีหน้าที่หลักด้านเทคนิคของเรือ ตรวจซ่อมเครื่องจักร วางแผนงานกำหนดหน้าที่งานให้แก่คนประจำเรือแผนกช่างกล ประจำอยู่บนเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศของจำเลย โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่า "...สัญญาว่าจ้างฉบับนี้เป็นไปตามมาตรฐาน MLC A2.1.4...." กับระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิดและที่อยู่ปัจจุบันของโจทก์ ชื่อและที่อยู่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเรือ สัญชาติของเรือ สถานที่และวันเดือนปีที่ทำสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือ ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ในการจ้างงาน อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่น ๆ วันเริ่มการว่าจ้างและวันสิ้นสุดการว่าจ้าง เงื่อนไขการสิ้นสุดของสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือ รวมทั้งสิทธิประโยชน์จากการคุ้มครองการประกันสังคมและสุขภาพที่จำเลยเป็นผู้จัดหาให้โจทก์และสิทธิของโจทก์ในการได้รับการส่งตัวกลับ ซึ่งมีลักษณะและรายละเอียดทำนองเดียวกับหลักเกณฑ์เรื่องสภาพการจ้างงานของคนประจำเรือตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 43 ที่กำหนดให้ข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือจะต้องมีรายการดังกล่าว อันเป็นมาตรฐานสากลของการทำงานบนเรือเดินทะเล ประกอบกับเหตุผลประการหนึ่งในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว คือ การทำงานของลูกจ้างและคนประจำเรือเกี่ยวข้องกับกิจการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศที่ต้องนำมาตรฐานสากล คือ อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (Maritime Labour Convention, 2006) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) มาปฏิบัติต่อแรงงานทางทะเลเป็นกรณีเฉพาะ จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าประสงค์ให้สัญญาดังกล่าวมีมาตรฐานการทำงานทางทะเลสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของการทำงานของคนประจำเรือตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (Maritime Labour Convention, 2006) ด้วย
โจทก์เริ่มต้นทำงานกับจำเลยตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 และประเทศไทยได้มีการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานทางทะเลแห่งอนุสัญญาดังกล่าวโดยการตรา พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ขึ้นมาใช้บังคับสำหรับแรงงานทางทะเลเป็นกรณีเฉพาะ แม้ขณะวันเริ่มต้นทำงานของโจทก์ตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกไม่อาจนำ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาใช้บังคับต่อกันได้ก็ตามแต่เมื่อระหว่างที่สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกยังมีผลผูกพันคู่สัญญาอยู่นั้น พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ได้มีผลใช้บังคับแล้ว การที่จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในตำแหน่งต้นกลประจำอยู่บนเรือของจำเลยและได้รับค่าจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรก จึงถือเป็นการทำข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือตามบทนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าชดเชยอันเป็นการเรียกร้องตามสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ส่วนสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 นั้น โจทก์เริ่มต้นทำงานตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 เช่นกัน
เมื่อ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การจ้างงานระหว่างเจ้าของเรือกับคนประจำเรือตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน" และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติในส่วนของค่าชดเชยไว้เป็นการเฉพาะ หรือบัญญัติให้คนประจำเรือได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือมีบทบัญญัติอื่นที่ยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแก่ข้อตกลงจ้างงานของคนประจำเรือที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นการทำงานและระยะเวลาสิ้นสุดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 43 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 44 วรรคหนึ่ง กับก่อนที่จำเลยจะตกลงจ้างคนประจำเรือทุกครั้งจำเลยจะต้องจัดทำการอบรมทดสอบร่างกายจิตใจและความรู้ความสามารถในการทำงานบนเรือรวมถึงความรู้เกี่ยวกับกฎข้อบังคับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเลเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความพร้อม หากพิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลใดมีความพร้อมผ่านเกณฑ์ จำเลยจะตกลงว่าจ้างให้ทำงานในครั้งต่อไป ประกอบกับการทำงานบนเรือเดินทะเลที่มีลักษณะและสภาพของงานแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป การที่จำเลยต้องทำการอบรมทดสอบร่างกายจิตใจและความรู้ความสามารถในการทำงานบนเรือก่อนที่จะตกลงจ้างคนประจำเรือทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ที่จะจ้างคนประจำเรือมีกำหนดระยะเวลาเป็นคราว ๆ ไป
สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า หากสัญญาว่าจ้างสิ้นสุดลงในขณะที่เรือมิได้อยู่ในเมืองท่า ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้ได้รับการต่ออายุออกไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกินสามเดือน และบริษัทจะดำเนินการจัดส่งคนประจำเรือกลับยังภูมิลำเนาเดิมในเมืองท่าที่สะดวกในการเดินทางกลับ ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่าสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่คงหมายความเพียงว่าเมื่อสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาไว้สิ้นสุดลงในขณะที่เรือมิได้อยู่ในเมืองท่า ก็ให้ต่ออายุสัญญาว่าจ้างออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อจำเลยจะได้ดำเนินการจัดส่งคนประจำเรือกลับภูมิลำเนาเดิมของคนประจำเรือเท่านั้น อันเป็นการคุ้มครองคนประจำเรือว่าก่อนที่จะส่งคนประจำเรือซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินเรือกลับภูมิลำเนานั้น คนประจำเรือมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปอีกระยะหนึ่งแต่ไม่เกินสามเดือน ดังนี้ สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือระหว่างโจทก์กับจำเลยฉบับที่ 2 จึงไม่ใช่สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน
เมื่อสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างและมีการสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือ หรือสิ้นสุดลงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เริ่มต้นทำงานกับจำเลยตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 และประเทศไทยได้มีการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานทางทะเลแห่งอนุสัญญาดังกล่าวโดยการตรา พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ขึ้นมาใช้บังคับสำหรับแรงงานทางทะเลเป็นกรณีเฉพาะ แม้ขณะวันเริ่มต้นทำงานของโจทก์ตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกไม่อาจนำ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาใช้บังคับต่อกันได้ก็ตามแต่เมื่อระหว่างที่สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกยังมีผลผูกพันคู่สัญญาอยู่นั้น พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ได้มีผลใช้บังคับแล้ว การที่จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในตำแหน่งต้นกลประจำอยู่บนเรือของจำเลยและได้รับค่าจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรก จึงถือเป็นการทำข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือตามบทนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าชดเชยอันเป็นการเรียกร้องตามสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างซึ่งจะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับแรกจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ส่วนสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 นั้น โจทก์เริ่มต้นทำงานตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 เช่นกัน
เมื่อ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การจ้างงานระหว่างเจ้าของเรือกับคนประจำเรือตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน" และไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติในส่วนของค่าชดเชยไว้เป็นการเฉพาะ หรือบัญญัติให้คนประจำเรือได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือมีบทบัญญัติอื่นที่ยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแก่ข้อตกลงจ้างงานของคนประจำเรือที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นการทำงานและระยะเวลาสิ้นสุดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 43 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 44 วรรคหนึ่ง กับก่อนที่จำเลยจะตกลงจ้างคนประจำเรือทุกครั้งจำเลยจะต้องจัดทำการอบรมทดสอบร่างกายจิตใจและความรู้ความสามารถในการทำงานบนเรือรวมถึงความรู้เกี่ยวกับกฎข้อบังคับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเลเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความพร้อม หากพิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลใดมีความพร้อมผ่านเกณฑ์ จำเลยจะตกลงว่าจ้างให้ทำงานในครั้งต่อไป ประกอบกับการทำงานบนเรือเดินทะเลที่มีลักษณะและสภาพของงานแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป การที่จำเลยต้องทำการอบรมทดสอบร่างกายจิตใจและความรู้ความสามารถในการทำงานบนเรือก่อนที่จะตกลงจ้างคนประจำเรือทุกครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ที่จะจ้างคนประจำเรือมีกำหนดระยะเวลาเป็นคราว ๆ ไป
สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า หากสัญญาว่าจ้างสิ้นสุดลงในขณะที่เรือมิได้อยู่ในเมืองท่า ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้ได้รับการต่ออายุออกไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกินสามเดือน และบริษัทจะดำเนินการจัดส่งคนประจำเรือกลับยังภูมิลำเนาเดิมในเมืองท่าที่สะดวกในการเดินทางกลับ ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่าสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่คงหมายความเพียงว่าเมื่อสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาไว้สิ้นสุดลงในขณะที่เรือมิได้อยู่ในเมืองท่า ก็ให้ต่ออายุสัญญาว่าจ้างออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อจำเลยจะได้ดำเนินการจัดส่งคนประจำเรือกลับภูมิลำเนาเดิมของคนประจำเรือเท่านั้น อันเป็นการคุ้มครองคนประจำเรือว่าก่อนที่จะส่งคนประจำเรือซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินเรือกลับภูมิลำเนานั้น คนประจำเรือมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปอีกระยะหนึ่งแต่ไม่เกินสามเดือน ดังนี้ สัญญาว่าจ้างคนประจำเรือระหว่างโจทก์กับจำเลยฉบับที่ 2 จึงไม่ใช่สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน
เมื่อสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือฉบับที่ 2 ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างและมีการสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือ หรือสิ้นสุดลงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757-1772/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าจ้าง เงินเพิ่มพิเศษ (Offshore Bonus) เป็นค่าจ้างตามผลงาน
การเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อเกิดวิกฤตราคาน้ำมันทั่วโลกส่งผลกระทบให้จำเลยที่ 1 มีปริมาณงานลดลงและมีจำนวนพนักงานมากเกินกว่าความต้องการของงาน จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างลูกจ้างทั้งก่อนและหลังเลิกจ้างโจทก์กับพวกอีกหลายคนโดยไม่ได้กลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติในการเลิกจ้างคนใดคนหนึ่ง แม้ปี 2557 ถึงปี 2559 จำเลยที่ 1 มีผลกำไรจากการประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ผลประกอบการทั่วโลกของจำเลยที่ 1 ประสบปัญหาขาดทุนสูงกว่าผลกำไรที่ได้จากผลประกอบการในประเทศไทยหลายเท่าตัว จำเลยที่ 1 พยายามหาทางแก้ปัญหาก่อนเลิกจ้างโจทก์กับพวก ตั้งแต่การไม่ปรับเงินเดือน การปลดผู้บริหาร การโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานสาขาอื่นในต่างประเทศ การยุบตัวสำนักงานบางส่วน และการปรับลดลูกจ้าง ด้วยเหตุเช่นนี้ย่อมเป็นเหตุจำเป็นและสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 เป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เมื่อคู่มือพนักงานจำเลยที่ 1 จัดหมวดหมู่ของลูกจ้างให้สอดคล้องกับลักษณะของงานและสถานที่ทำงานโดยแบ่งเป็น พนักงานประจำสำนักงานและพนักงานด้านการปฏิบัติการ โดยกำหนดให้พนักงานด้านการปฏิบัติการต้องทำงานตามตารางการทำงานปกติ อันประกอบด้วยวันที่ทำงานภาคสนามติดต่อกันไม่เกิน 28 วัน ตามด้วยวันหยุดประจำช่วง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของโจทก์กับพวก การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์กับพวก โดยคิดจากการที่โจทก์กับพวกไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์กับพวกไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์กับพวกสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติโดยคำนวณตามผลงาน แม้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์กับพวกในกรณีโจทก์กับพวกเจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่งตัวกลับขึ้นฝั่ง แต่เป็นสิทธิของลูกจ้างที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์กับพวกมีสิทธิลาป่วยและได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะจึงเป็นค่าจ้างตามผลงาน
การที่คู่มือพนักงานกำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 เป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เมื่อคู่มือพนักงานจำเลยที่ 1 จัดหมวดหมู่ของลูกจ้างให้สอดคล้องกับลักษณะของงานและสถานที่ทำงานโดยแบ่งเป็น พนักงานประจำสำนักงานและพนักงานด้านการปฏิบัติการ โดยกำหนดให้พนักงานด้านการปฏิบัติการต้องทำงานตามตารางการทำงานปกติ อันประกอบด้วยวันที่ทำงานภาคสนามติดต่อกันไม่เกิน 28 วัน ตามด้วยวันหยุดประจำช่วง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของโจทก์กับพวก การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนให้แก่โจทก์กับพวก โดยคิดจากการที่โจทก์กับพวกไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์กับพวกไปทำงานบนแท่นขุดเจาะในวันทำงาน จึงเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์กับพวกสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติโดยคำนวณตามผลงาน แม้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์กับพวกในกรณีโจทก์กับพวกเจ็บป่วยมิได้ทำงานและยังไม่ได้ถูกส่งตัวกลับขึ้นฝั่ง แต่เป็นสิทธิของลูกจ้างที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์กับพวกมีสิทธิลาป่วยและได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย เงินเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานบนแท่นขุดเจาะจึงเป็นค่าจ้างตามผลงาน
การที่คู่มือพนักงานกำหนดให้เงินเพิ่มพิเศษดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้างนั้น ไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7486/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยย้อนหลังของเจ้าหน้าที่รัฐที่ลาออกแล้ว: ป.ป.ช.มีอำนาจจำกัดเฉพาะความผิดทุจริต
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 มาตรา 88 มาตรา 91 และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะเกิดเหตุ ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและพิจารณาความผิดทางวินัย เฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เท่านั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยในข้อที่มีการกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยโจทก์ว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับของจำเลย ส่วนข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูลให้ตกไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ ไม่เข้ากรณีตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของจำเลย จำเลยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยเพื่อดำเนินการทางวินัยเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์