พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาณการกำไรสุทธิขาดเกิน 25% ไม่มีเหตุสมควร ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ด้วยการยื่นแบบแสดงรายการประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่ง ป.รัษฎากร โดยจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทั้งจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มาคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามเงื่อนไขของมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร แล้วให้ชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งการประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิดังกล่าวเป็นการประมาณการซึ่งรวมการคาดหมายของผู้เสียภาษีในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหลังด้วย ดังนั้น มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร จึงกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดได้ถึงร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่หากประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิดังกล่าวจะต้องมีเหตุอันสมควร หากไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา "เหตุอันสมควร" กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานของจำเลยในช่วงระยะเวลาบัญชีพิพาท ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวกำหนดว่า "กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุผลอันสมควร" แต่รอบระยะเวลาบัญชีพิพาทของโจทก์มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 รวม 12 เดือน ขณะที่รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วของโจทก์ คือรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 มีเพียง 3 เดือน จึงไม่อาจนำภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมาใช้เปรียบเทียบกับการประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทของโจทก์เพื่อให้ฟังได้ว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา "เหตุอันสมควร" กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานของจำเลยในช่วงระยะเวลาบัญชีพิพาท ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวกำหนดว่า "กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุผลอันสมควร" แต่รอบระยะเวลาบัญชีพิพาทของโจทก์มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 รวม 12 เดือน ขณะที่รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วของโจทก์ คือรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 มีเพียง 3 เดือน จึงไม่อาจนำภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมาใช้เปรียบเทียบกับการประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทของโจทก์เพื่อให้ฟังได้ว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินตามสนธิสัญญาฯ จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนหรือไม่ ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ข้อ 11 ระบุว่า "... (4) แม้จะมีบทของวรรค 2 และ 3 อยู่ ดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐนั้น ถ้าดอกเบี้ยนั้นได้รับโดย (ก) รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือ (ข) สถาบันการเงินใด ๆ ซึ่งรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้นเป็นเจ้าของทั้งหมด และโดยเฉพาะในกรณีสหพันธ์สาธารณรัฐ โดย "ดอยช์ บุนเดสแบงก์" หรือ "เครดิตทันสตาลห์ฟือร์ วีเดอรัฟเบา" และในกรณีประเทศไทย โดย "ธนาคารแห่งประเทศไทย" หรือ (ค) โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจากพันธบัตรซึ่งออกจำหน่ายโดยรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก..." ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะเหตุผลสามประการประกอบกัน ประการที่หนึ่ง คำว่า เป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) หมายถึงเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น ไม่หมายรวมถึงการเป็นเจ้าของโดยอ้อมหรือโดยทางอ้อมด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ตามความตกลงนี้หากกรณีที่ต้องการให้หมายรวมถึงโดยทางอ้อมด้วยก็จะระบุไว้ชัดเจน ดังที่ระบุไว้ในข้อ 9 และข้อ 23 ประการที่สอง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบข้อ 11 (4) (ก) กับข้อ 11 (4) (ข) แล้วควรมีความสำคัญที่เท่าเทียมหรือเกือบเท่าเทียมกัน ซึ่งตามข้อ 11 (4) (ก) ถ้าดอกเบี้ยได้รับโดยรัฐ มลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนข้อ 11 (4) (ข) ผู้รับดอกเบี้ยมิใช่รัฐ แต่เป็นสถาบันการเงินโดยเป็นสถาบันการเงินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด การที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจึงควรมีความสำคัญเท่ากับหรือเกือบเท่ากับรัฐตามข้อ 11 (4) (ก) นั่นคือ ต้องเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น เพราะหากเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางอ้อมด้วย ความสำคัญของสถาบันการเงินจะมีน้อยกว่ารัฐตามข้อ 11 (4) (ก) มาก เช่น หากรัฐเป็นเจ้าของทางอ้อมด้วย รัฐไม่อาจควบคุมดูแลสถาบันการเงินได้ดีเหมือนกับที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรง และประการที่สาม กรณีที่กระทรวงการคลัง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหนังสือ 2 ฉบับ ตอบมายังจำเลย โดยตอบมารวมความได้ว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB มีหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นโดยทางอ้อมด้วย จึงไม่ได้เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ที่อาจอ้างสิทธิได้รับยกเว้นภาษีจากแหล่งเงินได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาเหตุผลสามประการดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นได้ชัดว่าธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6128/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเปลี่ยนแปลงค่าเช่ามาตรฐานกลาง และการพิจารณาปัจจัยตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บัญญัติบังคับให้นําค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรง กฎหมายเพียงแต่ให้นํามาเป็นหลักในการคํานวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง และสําหรับค่ารายปีนั้น มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ให้ความหมายว่า คือ จํานวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทําให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จํานวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดําเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคํานวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจที่จะแก้ไขกําหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชําระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
จําเลยประกาศกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นเวลานานสิบกว่าปี ลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งประกาศดังกล่าวไม่ได้มีการจําแนกประเภททรัพย์สินตามประเภทกิจการ โดยในส่วนของพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น ถนนคอนกรีต กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลาดยางแอสฟัลต์ กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สนามหญ้า ลานดิน กําหนดค่าเช่า 1 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นการกําหนดเป็นการทั่วไปไม่มีการจําแนกแยกประเภทดังเช่นบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรประจําปีภาษี 2560 ที่แบ่งแยกตามประเภทของกิจการและลักษณะการใช้ประโยชน์ โดยบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลาง ประจําปีภาษี 2560 ได้แยกประเภททรัพย์สินสําหรับกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าออกมาโดยเฉพาะในรหัส 13 และในรายการที่ 13.9 คือ ลานใช้ประกอบการ ได้แก่ ลานคอนกรีต ค่าเช่า 8 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานแอสฟัลต์ ค่าเช่า 10 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานหินคลุก ค่าเช่า 25 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และลานดิน ค่าเช่า 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าย่อมใช้ลานดังกล่าวในการประกอบกิจการโดยตรง แตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นที่ลานคอนกรีต ลานแอสฟัลต์ หรือลานดินเป็นเพียงพื้นที่ต่อเนื่องหรือลานใช้ประโยชน์ ประกอบกับตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2559 และรายงานการประชุมปรึกษาหารือผู้ประกอบกิจการลานใช้ประโยชน์ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ /1 2559 ปรากฏว่า ปัจจุบันมีการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์หรือลานจอดรถขนส่งสินค้าเช่าที่ดินทําลานตู้คอนเทนเนอร์อยู่ข้างบ้านเรือนประชาชนจํานวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังได้ความจากคําเบิกความของ พ. ว่าการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์ต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งตู้สินค้าก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่อประชาชน เกิดเสียงดัง ฝุ่นละออง ปัญหาด้านการจราจรที่มีรถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าบนผิวจราจรจํานวนมาก ทําให้พื้นผิวจราจรได้รับผลกระทบอย่างหนักจนชํารุด จําเลยต้องจัดสรรงบประมาณในการบํารุงรักษา ซ่อมแซมพื้นผิวการจราจร และจัดเจ้าหน้าที่ทําความสะอาดพื้นผิวจราจร เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ใช้ทรัพย์สินก่อให้เกิดมลภาวะแก่ชุมชน ซึ่งการกําหนดค่ารายปีนั้น จะต้องคํานึงที่บริการสาธารณะที่ทรัพย์สินได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ในการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานตู้คอนเทนเนอร์ของจําเลยได้เทียบเคียงกับเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ซึ่งมีผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากเช่นเดียวกับจําเลยมีการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานหินคลุกประจําปีภาษี 2560 ในอัตรา 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งที่เขตพื้นที่ของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังมากกว่าเขตพื้นที่ของจําเลยกลับมีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสูงกว่าเขตพื้นที่ของจําเลย พยานหลักฐานจําเลยที่นําสืบมาจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จําเลยกําหนดค่ารายปีและค่าภาษีในส่วนของลานแอสฟัลต์และลานหินคลุกโดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามแล้ว
ส่วนที่จําเลยประกาศลดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสําหรับลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้านั้น เป็นการลดชั่วคราวสําหรับปีภาษี 2561 ถึง 2563 ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2560 ก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ มิได้เป็นเพราะการกําหนดค่ารายปีของปีภาษี 2560 ไม่ชอบแต่อย่างใด การประเมินและคําชี้ขาดของจําเลยจึงชอบแล้ว
จําเลยประกาศกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นเวลานานสิบกว่าปี ลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งประกาศดังกล่าวไม่ได้มีการจําแนกประเภททรัพย์สินตามประเภทกิจการ โดยในส่วนของพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น ถนนคอนกรีต กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลาดยางแอสฟัลต์ กําหนดค่าเช่า 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สนามหญ้า ลานดิน กําหนดค่าเช่า 1 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งเป็นการกําหนดเป็นการทั่วไปไม่มีการจําแนกแยกประเภทดังเช่นบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรประจําปีภาษี 2560 ที่แบ่งแยกตามประเภทของกิจการและลักษณะการใช้ประโยชน์ โดยบัญชีกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลาง ประจําปีภาษี 2560 ได้แยกประเภททรัพย์สินสําหรับกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าออกมาโดยเฉพาะในรหัส 13 และในรายการที่ 13.9 คือ ลานใช้ประกอบการ ได้แก่ ลานคอนกรีต ค่าเช่า 8 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานแอสฟัลต์ ค่าเช่า 10 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ลานหินคลุก ค่าเช่า 25 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และลานดิน ค่าเช่า 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้าย่อมใช้ลานดังกล่าวในการประกอบกิจการโดยตรง แตกต่างจากทรัพย์สินประเภทอื่นที่ลานคอนกรีต ลานแอสฟัลต์ หรือลานดินเป็นเพียงพื้นที่ต่อเนื่องหรือลานใช้ประโยชน์ ประกอบกับตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2559 และรายงานการประชุมปรึกษาหารือผู้ประกอบกิจการลานใช้ประโยชน์ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ /1 2559 ปรากฏว่า ปัจจุบันมีการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์หรือลานจอดรถขนส่งสินค้าเช่าที่ดินทําลานตู้คอนเทนเนอร์อยู่ข้างบ้านเรือนประชาชนจํานวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังได้ความจากคําเบิกความของ พ. ว่าการประกอบกิจการลานตู้คอนเทนเนอร์ต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งตู้สินค้าก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขต่อประชาชน เกิดเสียงดัง ฝุ่นละออง ปัญหาด้านการจราจรที่มีรถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าบนผิวจราจรจํานวนมาก ทําให้พื้นผิวจราจรได้รับผลกระทบอย่างหนักจนชํารุด จําเลยต้องจัดสรรงบประมาณในการบํารุงรักษา ซ่อมแซมพื้นผิวการจราจร และจัดเจ้าหน้าที่ทําความสะอาดพื้นผิวจราจร เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ใช้ทรัพย์สินก่อให้เกิดมลภาวะแก่ชุมชน ซึ่งการกําหนดค่ารายปีนั้น จะต้องคํานึงที่บริการสาธารณะที่ทรัพย์สินได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ในการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานตู้คอนเทนเนอร์ของจําเลยได้เทียบเคียงกับเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ซึ่งมีผู้ประกอบการลานตู้คอนเทนเนอร์จํานวนมากเช่นเดียวกับจําเลยมีการกําหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางของลานหินคลุกประจําปีภาษี 2560 ในอัตรา 30 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งที่เขตพื้นที่ของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังมากกว่าเขตพื้นที่ของจําเลยกลับมีราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสูงกว่าเขตพื้นที่ของจําเลย พยานหลักฐานจําเลยที่นําสืบมาจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จําเลยกําหนดค่ารายปีและค่าภาษีในส่วนของลานแอสฟัลต์และลานหินคลุกโดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามแล้ว
ส่วนที่จําเลยประกาศลดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางสําหรับลานตู้คอนเทนเนอร์และลานจอดรถขนส่งสินค้านั้น เป็นการลดชั่วคราวสําหรับปีภาษี 2561 ถึง 2563 ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการประเมินค่ารายปีเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 1/2560 ก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ มิได้เป็นเพราะการกําหนดค่ารายปีของปีภาษี 2560 ไม่ชอบแต่อย่างใด การประเมินและคําชี้ขาดของจําเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พิกัดอัตราอากรศุลกากรและผลกระทบต่อภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามบทพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร การเสียค่าภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้" มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสําหรับของที่นําเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นําของเข้าสําเร็จ" วรรคสอง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 87 และมาตรา 88 การคํานวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของ ราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีเกิดขึ้น..." และ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการตีความพิกัดศุลกากรว่า "การตีความให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ ประกอบกับคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งทำเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2493 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515" เห็นว่า สินค้าพิพาทประกอบด้วยเส้นลวดกลมพันเป็นเกลียว มีชั้นพลาสติกคลุมด้านนอก และมีท่อพลาสติกด้านในตรงตามคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ตอนที่ 83.07 ดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 เคยพิจารณาว่าท่อชิ้นนอก (ลวดเหล็กม้วนวนเป็นเกลียว) หรือ Outer Spring นำมาผลิตเป็นสายคลัตซ์รถยนต์ จัดเข้าประเภทพิกัด 8307.10.00 ซึ่งโจทก์นำสืบโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถามค้านหรือนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า Outer Spring มีโครงสร้างคล้ายกับ Outer Shield หรือสินค้าพิพาท แต่ชั้นที่ 2 ชั้นกลางจะเป็นลวดเหล็กทับแบนม้วนวนเป็นเกลียวและ Outer Spring จะทำแรงดึงและดันได้น้อยกว่า Outer Shield หรือสินค้าพิพาทที่มีเส้นลวดเหล็กทรงกลมหลายเส้นพันรอบหลอดที่เป็นพลาสติก ดังนั้น ลักษณะของสินค้าที่พิพาทกันเรื่องอากรขาเข้าคดีนี้ จึงตรงกับลักษณะลวดที่ขดเป็นเกลียวแน่น และมีลักษณะการใช้งานไม่ต่างกับสินค้าที่จำเลยที่ 1 เคยวินิจฉัยว่าจัดเข้าประเภทพิกัด 8307.10.00 นอกจากนี้ศุลกากรของประเทศอื่นซึ่งใช้กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์เช่นเดียวกับประเทศไทย ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและสหราชอาณาจักรเคยวินิจฉัยสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าพิพาทว่าเป็นประเภทพิกัด 8307.10.00 ประกอบกับเมื่อสินค้าพิพาทเป็นของผสมหรือของรวมที่มีวัตถุหรือสารนั้นรวมอยู่กับวัตถุหรือสารอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ข้อ 2 (ข) ซึ่งระบุให้จำแนกประเภทของของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไปให้จำแนกตามหลักเกณฑ์ ข้อ 3 โดยข้อ 3 (ก) ระบุว่า "ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบุไว้อย่างกว้างๆ ให้จัดของนั้นเข้าประเภทที่ระบุไว้โดยเฉพาะ..." เห็นว่า สินค้าพิพาทเป็นท่อพลาสติกที่มีเส้นลวดเหล็กพันรอบ และมีพลาสติกอยู่ชั้นนอกสุดจึงถือเป็นหลอดหรือท่อที่อ่อนงอได้ ทำด้วยโลหะสามัญ ตามประเภทพิกัด 83.07 โดยเข้าประเภทพิกัดย่อย 8307.10 ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า และเป็นกรณีที่ประเภทพิกัดศุลกากรได้ระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะแล้วตามข้อ 3 (ก) อนึ่ง เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้วินิจฉัยให้โจทก์เสียอากรขาเข้าลดลง ย่อมส่งผลให้ฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 30 จะบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 บัญญัติว่า "ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ มูลค่าสินค้าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ตามที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ..." เมื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยมูลค่าของฐานภาษีคือราคาสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าที่โต้แย้งกันในคดีนี้ว่าเป็นอากรเท่าใดเพื่อใช้เป็นฐานภาษี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป สังกัดจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 16 และจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร เป็นผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว และ ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) สำหรับสินค้าที่นำเข้า ให้กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร ..." ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีคำพิพากษาวินิจฉัยในเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรอันมีผลให้อากรขาเข้าลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีความรับผิดตามการประเมินของจำเลยที่ 1 ก็ต้องลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับพิกัดอัตราอากรศุลกากรซึ่งเป็นผลให้กระทบจำนวนเงินที่ต้องนำมารวมกับมูลค่าของเพื่อเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรณีนี้จึงไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรอีก ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าตามการประเมินได้รวมอากรขาเข้าที่ไม่ถูกต้องและโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินอากรขาเข้าแล้วศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. และผลกระทบต่อการฟ้องคดี
ความผิดฐานกรรโชกและฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ที่ผู้เสียหายทั้งสองขอถอนคำร้องทุกข์ ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โดยเฉพาะความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น เป็นความผิดซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย สิทธิฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประเวศและสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยถูกจับที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) การที่ น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประเวศได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยได้แล้ว น. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่ น. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ได้ เมื่อ น. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลประเวศและสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยถูกจับที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ก) การที่ น. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประเวศได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยได้แล้ว น. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่ น. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง (ข) ได้ เมื่อ น. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด ธนาคารมีลักษณะทดรองจ่ายเงิน
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ทำสัญญาให้สินเชื่อแก่จำเลยโดยให้จำเลยสมัครเป็นสมาชิก โจทก์เป็นผู้กำหนดวงเงินสินเชื่อซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจของโจทก์ โจทก์ออกบัตรเครดิตพร้อมกำหนดรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อสามารถนำไปถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้ตามความต้องการของจำเลยภายใต้วงเงินที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดเวลา 1 ปี โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมจากจำเลยปีละ 500 บาท หากมีการต่อสัญญาออกไปจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในอัตราเดียวกันทุกปี การใช้สินเชื่อดังกล่าวจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี และต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่โจทก์ออกใบแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยในแต่ละเดือน แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ดังกล่าวไปซื้อสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้โดยตรงก็ตาม แต่ลักษณะที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยในการถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ตามความต้องการของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้ควบคุมวงเงินที่จำเลยจะเบิกถอนได้ และคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการดังกล่าวเป็นรายปีจากการที่จำเลยสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อใช้บริการสินเชื่อในลักษณะนี้ จึงมีลักษณะที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินสดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกเพื่อให้จำเลยสามารถเบิกเงินสดได้ตามเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของจำเลยเองเช่นกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้สมาชิก การที่โจทก์ให้สมาชิกนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 และต้องชำระเงินให้โจทก์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2542 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงตั้งต้นนับแต่นั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2545 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดอาญา: รับของโจร-ใช้เอกสารปลอม มีเจตนาเดียวกัน ศาลแก้โทษลดกระทง
จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมเป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร และการที่จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วยเจตนาอันเดียวกัน เพื่อให้การกระทำความผิดฐานรับของโจรสำเร็จผลตามความมุ่งหมายเท่านั้น ดังนั้น การใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์อันเป็นเอกสารราชการปลอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานรับของโจร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้