พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้หลังล้มละลาย และการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ติดจำนอง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก คงมีแต่หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น การที่ห้องชุดติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง อันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาควบคุมงานก่อสร้าง: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ & การระงับหนี้จากการชำระหนี้โดยลูกหนี้ร่วม
โจทก์ว่าจ้างจำเลยควบคุมงานก่อสร้างโครงการอาคารชุดของโจทก์ การควบคุมงานในส่วนงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมอันเป็นงานก่อสร้างของบริษัท น. งานที่ก่อสร้างมีความชำรุดบกพร่องและยังไม่ได้แก้ไข จำเลยจึงไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงานให้ถูกต้องตามที่ได้ให้สัญญา เป็นการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่การควบคุมงานในส่วนงานระบบของบริษัท อ. เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าจ้างควบคุมงานของเดือนมีนาคม 2559 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่มาควบคุมงาน การที่จำเลยไม่มาควบคุมงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะทิ้งงาน ที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2559 แจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และมีหนังสือลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559 บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แต่ตามหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยกลับมาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างภายใน 15 วัน และขอให้จำเลยเรียกบริษัท อ. เข้ามาแก้ไขความบกพร่องที่เกิดจากการทำงานของบริษัทดังกล่าว เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา เท่ากับว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยทิ้งงานและเหตุที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท อ. ซึ่งทั้งสองเหตุนี้จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่อาจนำมาเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญาได้ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบ มีผลเท่ากับกับโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์ ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ที่ดินพิพาทเป็นถนนที่จำเลยที่ 1 จัดให้มีขึ้นเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการจัดสรรที่ดิน จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปมีหน้าที่บำรุงรักษาที่ดินพิพาทให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดสรรที่ดิน และ ป.พ.พ. มาตรา 1390 แต่จำเลยที่ 1 และผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทอันเป็นสาธารณูปโภคของที่ดินจัดสรรให้เป็นสาธารณประโยชน์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาที่ดินพิพาทได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ย่อมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปและมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เพียงแต่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มีหน้าที่บำรุงรักษาที่ดินพิพาทและมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทอันเป็นสาธารณูปโภคของที่ดินจัดสรรให้เป็นสาธารณประโยชน์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ได้
ต่อมาขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ได้มี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ โดยมาตรา 3 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งมาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ เช่นเดียวกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และมีบทเฉพาะกาล มาตรา 70 วรรคสาม บัญญัติว่า การพ้นจากความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค ให้นํามาตรา 44 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ...(3) ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ ดังนี้ บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเพื่อให้พ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่แตกต่างจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว จึงต้องใช้พ.ร.บ. ดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ แต่เมื่อตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 70 วรรคสาม ให้นํามาตรา 44 (เดิม) มาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ที่บุคคลต่าง ๆ มีอยู่ก่อนแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ประกอบด้วย การนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นหมายความเพียงว่า ให้ใช้บังคับเท่าที่จะบังคับได้ เมื่อตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคสอง กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินมีอำนาจอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้ และ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 44 (เดิม) บัญญัติให้ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคเมื่อได้โอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์จึงชอบแล้ว แม้บุคคลทั่วไปนอกจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถใช้สอยที่ดินพิพาทในฐานะเป็นทางสาธารณประโยชน์ได้ แต่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมได้เป็นปกติดังเดิม ไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแต่ประการใด จึงไม่ขัด ต่อ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ
ต่อมาขณะที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ได้มี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ โดยมาตรา 3 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งมาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ เช่นเดียวกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และมีบทเฉพาะกาล มาตรา 70 วรรคสาม บัญญัติว่า การพ้นจากความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค ให้นํามาตรา 44 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 44 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ...(3) ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ ดังนี้ บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเพื่อให้พ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่แตกต่างจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว จึงต้องใช้พ.ร.บ. ดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ แต่เมื่อตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 70 วรรคสาม ให้นํามาตรา 44 (เดิม) มาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ที่บุคคลต่าง ๆ มีอยู่ก่อนแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ประกอบด้วย การนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นหมายความเพียงว่า ให้ใช้บังคับเท่าที่จะบังคับได้ เมื่อตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคสอง กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินมีอำนาจอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้ และ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 44 (เดิม) บัญญัติให้ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคเมื่อได้โอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์จึงชอบแล้ว แม้บุคคลทั่วไปนอกจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถใช้สอยที่ดินพิพาทในฐานะเป็นทางสาธารณประโยชน์ได้ แต่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมได้เป็นปกติดังเดิม ไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแต่ประการใด จึงไม่ขัด ต่อ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขัดแย้งกับคดีฟอกเงิน: ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ไม่อาจบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นมาตรการทางกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและเป็นมาตรการทางแพ่งในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ไม่ใช่เป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป แม้มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การดำเนินการตามหมวด 6 ให้นำ ป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่ต้องเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ และนำมาปรับใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติวิธีการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปมาปรับใช้กับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีฟอกเงินได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องในขณะที่ศาลแพ่งมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก่อนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ต้องส่งเงินตามสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี และยังปรากฏว่าต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดิน ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องเป็นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยตกเป็นของแผ่นดินเป็นต้นไป โจทก์ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดี ไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 หากโจทก์เห็นว่า ตนเป็นผู้มีสิทธิในเงินตามบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยเป็นเจ้าของ ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ โจทก์ต้องไปดำเนินการในคดีฟอกเงินดังกล่าวตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้สามัญไม่อาจดำเนินการบังคับคดีในคดีนี้เพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีฟอกเงินดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องพิจารณาเหตุสุดวิสัย ความบกพร่องของทนายความไม่ใช่เหตุ
การพิจารณาว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ว่า เหตุที่โจทก์อ้างเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ และมีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในกำหนดหรือไม่
ศาลชั้นต้นให้โอกาสโจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาแล้ว 2 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 3 เดือน ย่อมอยู่ในวิสัยที่ทนายโจทก์จะเรียงอุทธรณ์ให้ทันภายในกำหนดเพราะทราบเรื่องดีอยู่แล้ว การที่ทนายโจทก์ยื่นฎีกาว่า ทนายโจทก์เสร็จคดีที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรีในเวลาประมาณ 15 นาฬิกา และมีลูกความโทรศัพท์ให้ไปรับเอกสาร ทั้งที่ทนายโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าต้องรีบดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวก่อนเวลาปิดทำการปกติของศาล แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปรับเอกสารจากคู่ความที่ตำบลลาดหญ้า ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร แสดงว่าทนายโจทก์มิได้สนใจติดต่อศาลชั้นต้น ข้ออ้างว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียระหว่างเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดกาญจนบุรีได้ทันเวลาทำการปกติของศาล จึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นให้โอกาสโจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มาแล้ว 2 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 3 เดือน ย่อมอยู่ในวิสัยที่ทนายโจทก์จะเรียงอุทธรณ์ให้ทันภายในกำหนดเพราะทราบเรื่องดีอยู่แล้ว การที่ทนายโจทก์ยื่นฎีกาว่า ทนายโจทก์เสร็จคดีที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรีในเวลาประมาณ 15 นาฬิกา และมีลูกความโทรศัพท์ให้ไปรับเอกสาร ทั้งที่ทนายโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าต้องรีบดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวก่อนเวลาปิดทำการปกติของศาล แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปรับเอกสารจากคู่ความที่ตำบลลาดหญ้า ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร แสดงว่าทนายโจทก์มิได้สนใจติดต่อศาลชั้นต้น ข้ออ้างว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียระหว่างเดินทาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดกาญจนบุรีได้ทันเวลาทำการปกติของศาล จึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ - ที่ดินสาธารณประโยชน์: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เนื่องจากคดีมีประเด็นซ้ำกับคดีก่อนหน้า
เดิมจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นคดีนี้ คดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แล้วในคดีนี้จึงวินิจฉัยต่อไปได้ว่าจำเลยบุกรุกและทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นดังกล่าวซ้ำอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้และการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แล้วมีคำพิพากษา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อตามประเด็นข้อพิพาทเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าการชี้ขาดตัดสินคดีนี้จำต้องอาศัยคำชี้ขาดตัดสินคดีดังกล่าวซึ่งจะต้องกระทำเสียก่อน ดังนั้น ถ้าศาลชั้นต้นได้เลื่อนการพิจารณาคดีนี้ไปจนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ก็ย่อมทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม แม้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้มา แต่เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจะยกเรื่องที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท