พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ การกำหนดค่าเสียหาย และดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณงาน ความคับแคบของสถานที่ทำงานของสาขาที่เกิดเหตุ รวมทั้งวิธีปฏิบัติของโจทก์ในการ OVERDRIVE ที่ผู้อนุมัติรายการจำเป็นต้องมาทำรายการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงานการเงินที่ทำรายการเกินวงเงินนั้น ๆ โดยใช้วิธีพิมพ์รหัสเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ข้อจำกัดเรื่องปริมาณงานและสถานที่ทำงาน ประกอบกับระเบียบเกี่ยวกับการรักษารหัสผ่านของโจทก์ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รักษารหัสผ่านให้เป็นความลับได้ไม่สมบูรณ์ และทำให้ ส. กระทำทุจริตได้ง่ายขึ้น อันเป็นกรณีที่การละเมิดนั้นเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดความรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้แก่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้นในการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 โดยจะต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในลักษณะที่อาจแยกพิจารณามาตรา 8 เป็นรายวรรค หรือพิจารณามาตรา 8 ทั้งหมดแล้วนำมาวินิจฉัยรวมกันไปก็ได้ แต่การที่ศาลแรงงานกลางแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 แยกเป็นรายวรรค เมื่อได้ความว่าความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำทุจริตของ ส. มากกว่าความบกพร่องหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้หักส่วนแห่งความรับผิดของโจทก์ออกสูงถึงร้อยละ 90 ของจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดได้เพียงร้อยละ 10 ของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ อีกทั้งยังกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหายหลังจากหักส่วนแห่งความรับผิดข้างต้นออกแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือคิดคำนวณโดยรวมแล้วศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เหลือเพียงร้อยละ 8 ของความเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา และไม่เป็นไปตามสัดส่วนแห่งความรับผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม การใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบไปด้วย คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดความรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้แก่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้นในการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 โดยจะต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในลักษณะที่อาจแยกพิจารณามาตรา 8 เป็นรายวรรค หรือพิจารณามาตรา 8 ทั้งหมดแล้วนำมาวินิจฉัยรวมกันไปก็ได้ แต่การที่ศาลแรงงานกลางแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 แยกเป็นรายวรรค เมื่อได้ความว่าความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำทุจริตของ ส. มากกว่าความบกพร่องหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้หักส่วนแห่งความรับผิดของโจทก์ออกสูงถึงร้อยละ 90 ของจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดได้เพียงร้อยละ 10 ของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ อีกทั้งยังกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหายหลังจากหักส่วนแห่งความรับผิดข้างต้นออกแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือคิดคำนวณโดยรวมแล้วศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เหลือเพียงร้อยละ 8 ของความเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา และไม่เป็นไปตามสัดส่วนแห่งความรับผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม การใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบไปด้วย คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย