คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับศาล/ผู้พิพากษา
ไม่ระบุศาล - นายปิยะวรรณ สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท การพนัน-ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-เสี่ยงแพร่เชื้อ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลย
ความผิดฐานร่วมกันเล่นการพนัน ฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ จำเลยทั้งยี่สิบสามมีเจตนาเล่นการพนันฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกระทำการอันเป็นการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งยี่สิบสามจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทมิใช่หลายกรรมต่างกัน กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 23 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าวัตถุอันตรายหลีกเลี่ยงกฎหมาย ศาลยืนโทษจำคุกและไม่อนุมัติรอการลงโทษ
การสั่งนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แล้ว ยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 อีกด้วย ซึ่งในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ฐานนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดและฐานยื่นใบขนสินค้าโดยสำแดงเท็จตามมาตรา 27 และมาตรา 99 นั้น เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมมอบของกลางทั้งหมดให้กรมศุลกากรเพื่อระงับคดีและผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังพิจารณาอนุมัติให้ระงับคดีแล้วจึงทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ระงับไป ของกลางจึงอยู่ในอำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะจำหน่ายต่อไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานคร ขอรับการสนับสนุนของกลางเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้ทำบันทึกส่งมอบของกลางให้แก่สถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานครไปแล้ว แม้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมของกลางซึ่งเป็นวัตถุอันตรายตามบัญชี 1 แต่เมื่อของกลางคดีนี้เป็นของกลางในคดีที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งอยู่ในอำนาจของกรมศุลกากรด้วย เมื่อได้มีการจำหน่ายของกลางไปโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ของกรมศุลกากรแล้ว ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยทั้งสองย่อมไม่จำต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งและทำลายของกลางอีกต่อไป เนื่องจากไม่มีของกลางให้ขนส่งและทำลายอยู่ในความครอบครองของกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกต่อไปแล้ว หากกรมวิชาการเกษตรเห็นว่ากรมศุลกากรไม่มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับของกลางก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานทั้งสองซึ่งเป็นส่วนราชการด้วยกันต้องดำเนินการต่อกันเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3069/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีข่มขืน แม้โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานมาเบิกความได้ ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรตามกฎหมาย
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายที่ 1 ก. พ. และ ด. มาเบิกความเป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคำให้การของบุคคลดังกล่าว โดยผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันถึงตัวคนร้ายและจำเลยที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานดังกล่าวมาเบิกความในชั้นพิจารณาเนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของพยาน โดยโจทก์ใช้เวลาติดตามพยานเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษ นับว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ไม่สามารถนำพยานซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และเมื่อจำเลยหลบหนีไปนานจนติดตามพยานได้ยาก กรณีเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่เบิกความไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2726/2559 ของศาลชั้นต้น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดของโรงเรียน, ความเสียหายต่อโอกาสทางการศึกษา, และการคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 50, 54 วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 17, 45 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมาตรา 4 นิยามศัพท์ "การศึกษาภาคบังคับ" "สถานศึกษา" "เด็ก" แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เป็นบทบังคับให้ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาภาคบังคับ และเป็นหน้าที่ของรัฐจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนผู้มีสัญชาติไทยตามที่กฎหมายบัญญัติ เริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1 ถึง 3 จนจบการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำเลยที่ 1 เปิดสอนการศึกษาภาคบังคับจึงเป็นสถานศึกษาตามนิยามศัพท์แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับฯ โดยไม่คำนึงว่าเป็นโรงเรียนเอกชนหรือรัฐ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จัดการศึกษาภาคบังคับให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แม้มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับฯ ยังไม่ได้แก้ไขกำหนดอายุของเด็กก่อนวัยเรียนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่จำนวนชั้นปีที่ต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งสองฉบับสอดคล้องกับอายุเด็กซึ่งเริ่มตั้งแต่อายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก แสดงว่าการศึกษาภาคบังคับไม่ว่าเป็นการจัดการศึกษาโดยรัฐหรือเอกชนต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะให้ออกกลางคันหรือจำหน่ายนักเรียนออกจากทะเบียนนักเรียนโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องไม่ได้ ซึ่งมูลเหตุที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ออกจากโรงเรียนของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกิดจากความผิดของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 โดยคณะกรรมการบริหารของโรงเรียนแสดงเจตนาให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สิ้นสภาพการเป็นนักเรียนมีผลเป็นการจำหน่ายนักเรียนออกจากทะเบียนนักเรียนโดยปราศจากอำนาจตามตราสารจัดตั้งนิติบุคคลโรงเรียนจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำผิดต่อหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่จะได้รับการศึกษาภาคบังคับอย่างต่อเนื่อง การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการศึกษาจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้บริโภค ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนจึงเป็นผู้แทนนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 24 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 1167 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 4 ผู้อำนวยการโรงเรียนมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำทะเบียนนักเรียนกับปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามตราสารจัดตั้งของโรงเรียนตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 39 (4) (6) แต่กลับทำผิดหน้าที่จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 432

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลอาญา รับฟ้องคดีทุจริต หลังศาลอาญาคดีทุจริตเปิดทำการแล้ว เป็นการไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ภายหลังเมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเปิดทำการแล้ว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 10 ได้บัญญัติว่า "เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไว้พิจารณาพิพากษา" จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว ศาลชั้นต้นอื่นจะรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไว้พิจารณาและพิพากษามิได้ การที่ศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการไม่ชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมอันศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) จะใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ และศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) ซึ่งเป็นศาลที่ไม่มีเขตอำนาจคดีนี้ ไม่อาจโอนคดีไปยังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องของการโอนคดีไว้ ทั้งการที่ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 11 ว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่อาจนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10, 11, 13 มาปรับใช้แก่คดีได้ เนื่องจากตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติไว้ว่า ในพระราชบัญญัตินี้ "ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหารหรือศาลอื่น เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) ต่างเป็นศาลยุติธรรม กรณีจึงมิใช่เรื่องระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำมาปรับใช้กับคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนทางอาญาจำกัดเฉพาะความเสียหายจากการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่ผู้เสียหายจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ และค่าขาดไร้อุปการะได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญา: สิทธิการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้นมีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ตามที่ผู้ร้องฎีกาก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเกี่ยวกับป่าไม้: สิทธิการเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาถูกจำกัดเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้น มีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและสิทธิจำนองของผู้ชำระบัญชีตามกฎหมายบริษัทบริหารสินทรัพย์
เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้จำนองโอนขายสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนผู้ขอรับชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เดิมของจำเลยที่ 2 แสดงว่า ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะเข้าสวมสิทธิแทนที่ผู้ขอรับชำระหนี้จำนองในฐานะเดียวกัน เท่าเทียมกับสิทธิของผู้ขอรับชำระหนี้จำนองเดิมที่ศาลชั้นต้นเคยอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้รายอื่น โดยผู้ร้องไม่ได้มุ่งหมายที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่ของผู้ขอรับชำระหนี้จำนองก่อน จึงจะมายื่นคำร้องในคดีนี้ได้ ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 6 และ 7 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง
แม้ผู้ขอรับชำระหนี้จำนองได้โอนสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องหลังจากผู้ขอรับชำระหนี้จำนองถูกปิดกิจการและอยู่ระหว่างชำระบัญชี แต่ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 15 บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติหมวด 5 ลักษณะ 22 ในบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการชำระบัญชีโดยอนุโลม ซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่สามารถอนุโลมบังคับใช้กับอำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม พ.ร.ฎ. นี้ คือ มาตรา 1259 ที่บัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีทั้งหลายย่อมมีอำนาจดังจะกล่าวต่อไปนี้ (3) ขายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งความข้อนี้สอดรับกับ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง ว่า ในการขายสินทรัพย์ประเภทสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ซื้อ ให้บรรดาทรัพย์สิน หลักประกัน สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตกแก่ผู้ซื้อด้วย ดังนั้น การที่ผู้ขอรับชำระหนี้จำนองโอนขายสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้ร้องในระหว่างดำเนินการชำระบัญชี จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นต้องแจ้งวาระการประชุมที่สำคัญชัดเจน การลงมติถอดถอนกรรมการนอกวาระที่แจ้งไว้ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลา และสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่า ได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้น ไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 2