พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุก ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 180 ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 182/1 วรรคหนึ่ง และไม่มีบทบัญญัติใดให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อเท็จจริง กรณีก็ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ เพราะเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนหลังการหย่าตกทอดถึงทายาทและปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โดยสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 1598/41 ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ประกอบกับโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามสิทธิแล้ว สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ และเป็นกองมรดกของโจทก์ตามมาตรา 1600 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายสิทธินี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าข้ามสัญชาติ: ศาลไทยต้องพิจารณากฎหมายอังกฤษก่อนพิพากษาหย่า
การหย่าระหว่างโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศอันตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 โดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า" ซึ่งมีความหมายว่า ในกรณีที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้ ดังนั้นข้อที่ว่ากฎหมายแห่งประเทศอังกฤษอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษหย่าได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อน และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นสามียินยอมให้หย่าได้และมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์ผู้เป็นภริยาและเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ หรือจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรส, ความรับผิดทางแพ่งของคู่สมรสอีกฝ่ายและบุคคลที่สามจากการเป็นชู้
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญการพิเศษโดยยกฟ้องโจทก์ คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) จึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงด้วยความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 แล้วก่อนการหย่าโดยคำพิพากษาคดีนี้จะมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ออกจากสารระบบความของศาลฎีกา ทั้งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันตามกฎหมายว่าด้วยมรดก
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท
ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมายซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำ หากคดีเดิมยุติด้วยการประนีประนอมและยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งศาลล่างเรื่องอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. และเด็กชาย ศ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเป็นการชั่วคราวโดยเป็นการทดลองปกครองเลี้ยงดู ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้พิพากษาแก้ไขในส่วนนี้ แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. แต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ศ. แต่เพียงผู้เดียวแยกออกจากกันเช่นนี้แล้ว ย่อมมีผลทำให้คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการชั่วคราวนั้น ไม่อาจบังคับได้ต่อไป เนี่องจากต้องปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่หากจะจำหน่ายคดีโดยยังคงผลของคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้ในคดีนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 แยกกันใช้อำนาจในการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง จึงเห็นสมควรแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องเสียด้วย พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง แล้วให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมิได้ ศาลฎีกาพิพากษากลับ
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การบรรยายฟ้องจึงต้องให้ได้ความว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งพร้อมข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ หากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายยื่นคำให้การต่อสู้คดีเห็นว่าคำฟ้องบกพร่องตรงไหน อย่างไร ก็จะต้องให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่าคำฟ้องนั้นเคลือบคลุม ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยรับประกันภัย และมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของผู้ขับรถยนต์บรรทุก คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยว่าเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมนั่นเอง แต่ปัญหาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ หาใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่ หากแต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7893/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างสิ่งล้ำน้ำกระทบทางสัญจรและประโยชน์สาธารณะ มีความผิดตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย
ตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 117 นอกจากบัญญัติห้ามการปลูกสร้างอาคารล่วงล้ำเข้าไปในน้ำอันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าแล้ว ยังบัญญัติรวมถึงการนำสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในน้ำด้วย การปรับพื้นถมดินล่วงล้ำเข้าไปในลำน้ำตามฟ้องถือว่าเป็นการนำสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปในน้ำ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 117 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องกรณีถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ: ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ร้องอ้างตามคำร้องว่า ช. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กับพวกควบคุมตัว พ. ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไต่สวนพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้วศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคำร้องของผู้ร้องและพยานที่ผู้ร้องนำเข้าไต่สวนก่อนว่าคดีของผู้ร้องมีมูลหรือไม่หากเห็นว่ามีมูลจึงหมายเรียก ช. และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องให้นำตัว พ. มาศาล การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงให้หมายเรียก ช. กับพวก ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ ช. อันอาจถือว่าเป็นบุคคลที่ผู้ร้องอ้างว่าเกี่ยวข้องในการควบคุม พ. มาไต่สวนเพิ่มเติม จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอน ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 90 บัญญัติไว้ การดำเนินการไต่สวน ช. กับพวกดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ