คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องยื่นคำฟ้องพ้นกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กบรรลุภาวะแล้วจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ ปรากฏตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านว่า ผู้ร้องเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2512 ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2546 ขณะผู้ร้องมีอายุได้ 34 ปี จึงเป็นการยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องจึงขาดอายุความ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ตายไม่เคยปฏิเสธว่าผู้ร้องมิใช่บุตรไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายจนเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ผู้ร้องไปติดต่อขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวสมาชิกคุรุสภา (ช.พ.ค.) แต่เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการให้ อ้างว่าไม่มีหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นับเป็นเหตุขัดข้องโดยเพิ่งเกิดการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ก็ตาม แต่การใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องก็ยังต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าวด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ร้องเพิ่งถูกโต้แย้งสิทธิ คดียังไม่ขาดอายุความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำคุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาคนเดียว จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์
จำเลยไม่อาจยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตาม คำพิพากษา เพราะจำเลยไปประกอบอาชีพที่จังหวัดลำปาง โดยจำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวัน นับจากจำเลยทราบประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ก็ตาม แต่การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ ของจำเลยแล้ว ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาใช่หกเดือนนับแต่ทราบว่าถูกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการได้รับใบสำคัญการทำงานตามกฎหมาย นายจ้างไม่อาจระบุข้อความอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 585 เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะให้นายจ้างออกใบสำคัญการทำงานโดยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง บทบัญญัติดังกล่าวหาใช่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะออกใบสำคัญการทำงานด้วยข้อความใด ๆ ตามความประสงค์ของนายจ้างให้ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิระบุข้อความลงในใบสำคัญการทำงานว่าได้เลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดด้วยวิธีใดและสาเหตุใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แบบพิมพ์คำร้องอุทธรณ์คำสั่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งผิดพลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือ เอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น และมาตรา 156 วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7)เท่านั้น หาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยก คำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยจัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32)ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าว ทั้งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลย เสียด้วย ก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้มีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักชำระต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีป่าไม้: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและโทษจำคุกต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฎว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิด ในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้าย ฟ้องโจทก์มิได้อ้างบท มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้ยังมิได้แปรรูปไวในครอบครองแล้วได้ไม่ กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้ รับอนุญาต เมื่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48,73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุก จำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
ในคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นฎีกา ฎีกาในปัญหาว่า พยานหลักฐานโจทก์เป็นพิรุธ ท.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้และมอบการครอบครองให้โจทก์ ค่าเสียหายของโจทก์มีไม่มากเท่าคำฟ้อง คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 6 เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทตั้งแต่ฤดูทำนาปี2530 แต่เพิ่งมาฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีแล้วนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีค่าจ้างและค่าชดเชยโดยไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
กรณีที่จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนแล้วจึงจะฟ้องได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสองนั้นจะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยจาก จำเลยทั้งสอง นอกจากจะมิใช่คดีเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โดยเป็นคดีเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว ในการฟ้องเรียกเงินดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามวิธีการที่กำหนด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าเกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้สิทธิฟ้องคดีระงับ
คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของจำเลยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์และดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยต่อไป แต่ทั้งนี้ให้รอไว้ 90 วันนับแต่วันที่คู่กรณีได้รับสำเนาคำวินิจฉัยตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 นั้น เป็นคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 จึงอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจากนายทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2529แต่มายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่ 10 เมษายน 2530 จึงเกินกำหนดอำนาจ ในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 22 สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่อายุความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นแม้ศาลแพ่งจะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ไม่อย่างไรก็ดี แม้ระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งศาลจะมีอำนาจขยายระยะเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่โจทก์จะนำคำสั่งอนุญาตของศาลแพ่งดังกล่าวมาใช้กับศาลชั้นต้นในคดีนี้ไม่ได้เพราะเป็นคนละศาลกัน ทั้งคำสั่งอนุญาตนั้นก็มิได้อาศัย มาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การฟ้องคดีโดยใช้สิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนการแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้มีการจดทะเบียนหาใช่เรื่องใช้สิทธิตามมาตราดังกล่าวไม่
of 3