คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9248/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและทางภาระจำยอมเมื่อที่ดินถูกล้อม - การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย
โจทก์ตั้งรูปคดีโดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์เพื่อเป็นทางจำเป็นออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอม ซึ่งจำเลยต้องยอมรับภาระบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ ตามคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็น แต่ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ได้ ก็ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านให้แก่จำเลยแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และต่อสู้คดีว่าจำเลยควรได้รับค่าทดแทนเพื่อความเสียหายในการใช้ทางเพียงครั้งเดียวไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องเพื่อเพิ่มเติมให้มีประเด็นในเรื่องทางภาระจำยอม คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทแต่เฉพาะเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นเท่านั้น ปํญหาที่ว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่สาธารณะด้วยการก่อสร้างอาคาร การลงโทษตามกฎหมายอาญาและกฎหมายที่ดิน
จำเลยก่อสร้างระเบียงรุกล้ำทางเดินเท้าโดยทำพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีหลังคาอะลูมิเนียมปกคลุม เป็นการยึดถือครอบครองและทำให้เสียหายทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทางเดินเท้า เป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิด ต่อกฎหมายหลายบท เมื่อลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้ว จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 108 ทวิ วรรคสองมาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่เข้ายึดถือครอบครองได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360ไม่ได้บัญญัติข้อบังคับดังกล่าวไว้
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยสรุปว่าจำเลยก่อสร้างบ้านรุกล้ำที่สาธารณะ จำเลยย่อมเข้าใจและทราบได้ดีว่าที่ดินที่ถูกกล่าวหาว่าก่อสร้างอาคารรุกล้ำคือที่ดินที่อยู่ติดกับอาคารของจำเลยจึงถือว่ามีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องมาครั้งแรกผิดพลาดและขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นความบกพร่องของโจทก์ไม่ทำให้การสอบสวนที่ชอบแล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีใบจองก่อนออก น.ส.3ก. ไม่ขัดกฎหมาย และสิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น.โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2)ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497มาตรา 8 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
น.ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น(พ.ศ.2530)
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น.โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
น.โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น.แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น.ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 วรรคแรกโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่งป.ที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น.ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีใบจองก่อนมี น.ส.2 มิใช่การต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ที่ดิน และการสละการครอบครองไม่ขัดกฎหมาย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา8จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง น. ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (พ.ศ. 2530) ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น. โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9หรือไม่นั้นแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 น. โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น. แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น. ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377วรรคแรก โจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น. ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่า การที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4 ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4ด้วยหรือไม่ก็ตาม เป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ
โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตาม ป.ที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผลไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด
ป.ที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดิน การสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่าจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้นจึงหาต้องให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอนการอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดินและข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของวัด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวาอารามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับ จึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้ พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ พ. ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผล ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผลไม่ใช่ อายุความ แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน โจทก์ยังฟ้องได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่าเมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควรหากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณีถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน60วันดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตามเจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการติดตั้งสิ่งปฏิกูล การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อกฎหมาย
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ2เมตรจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342วรรคหนึ่งโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1342ดังกล่าวและขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครองทำประโยชน์ก่อนมีกฎหมายที่ดิน และผลต่อการเป็นป่า
เมื่อ ส.ได้ครอบครองทำประโยชน์ ทำสวนจากในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี 2486 ก่อน ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ใช้บังคับ ฉะนั้น ส.เป็นผู้ได้ที่ดินที่เกิดเหตุมาตาม ป.ที่ดิน ที่ดินที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (1)เมื่อ ส.ยกที่ดินที่เกิดเหตุให้จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
of 8