พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ของกลาง: ยังคงลงโทษได้ตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึด: ยังคงเป็นความผิดตามมาตรา 142 แม้กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 290 ถูกยกเลิก
ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปตามกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127 มาตรา 290 นั้น หาได้ถูกประมวลกฎหมายอาญายกเลิกไปโดยสิ้นเชิงไม่ แม้ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดหรืออายัดจะไม่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา แต่การเอาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดรักษาไว้ไปโดยทุจริต ก็คงยังเป็นความผิดตามมาตรา 142 ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฆ่าคนโดยเจตนาเมื่อเหตุเกิดก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา
จำเลยทำผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา เหตุเกิดก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249 ต้องลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 หาได้ไม่ เพราะอัตราโทษเท่ากันกับกฎหมายเก่า ไม่มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยประการใด และเมื่อคำให้การจำเลยมีประโยชน์ในการพิจารณาอยู่บ้าง จะปรานีลดโทษให้จำเลย ก็ร้องอ้างกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 59 จะมาอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญาเกินอัตราโทษประมวลกฎหมายอาญา ศาลไม่สั่งกำหนดโทษใหม่
คดีอาญาถึงที่สุดแล้ว จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา เป็นอัตราโทษหนักกว่าประมวลกฎหมายอาญา นั้น เป็นกรณีไม่เข้าอยู่ใน มาตรา3(1) ประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะกำหนดโทษเสียใหม่หรือจะปล่อยจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนาฆ่าโดยพยาบาทมาดหมาย: ความแตกต่างระหว่างกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250 ซึ่งต่างกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ข้อ 4 ที่ว่าฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250 จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย เพราะจะต้องให้ได้ความว่า เป็นการฆ่าคนโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายจึงจะมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา250 ที่โจทก์อ้าง (หมายเหตุ ตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 250 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 มีโทษสถานเดียวเท่ากัน คือประหารชีวิต)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายเขียนคำแก้ฟ้องเสียดสีพนักงานอัยการไม่ผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 285 หากข้อความอยู่ในประเด็นคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเป็นทนายเขียนคำแก้อุทธรณ์เสียดสีใส่ความโจทก์ซึ่งทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการให้เสียชื่อเสียง เมื่อศาลฟังว่าข้อความที่จำเลยเขียนเป็นเรื่องในฟ้องและเกี่ยวกับประเด็นแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษชิงทรัพย์ก่อนใช้ประมวลกฎหมายอาญา: ศาลฎีกาเห็นควรคงโทษเดิมตามกฎหมายลักษณะอาญา
การชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปก่อนวันที่ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับ(1 มกราคม 2500) และศาลล่างวางบทลงโทษ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 299 มีกำหนด 3 ปีนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรลงโทษเท่าเดิมก็ไม่มีเหตุที่จะใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นคุณแก่จำเลย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าปรับ: เปลี่ยนจากจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายลักษณะอาญาเป็นกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่การจำคุกแทนค่าปรับตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.18 ในหมายจำคุกยังไม่ถึงเวลาคุมขัง เพราะโทษจำคุกยังมีอยู่จนกระทั่งถึงวันใช้ประมวลกฎหมายอาญาเช่นนี้ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา ม.30 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ม. 6 คือต้องออกหมายกักขังแทนค่าปรับใหม่เป็นอัตราวันละ 5 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าปรับ: เปลี่ยนวิธีจากจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายลักษณะอาญา เป็นกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่การจำคุกแทนค่าปรับตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 18 ในหมายจำคุกยังไม่ถึงเวลาคุมขัง เพราะโทษจำคุกยังมีอยู่จนกระทั่งถึงวันใช้ประมวลกฎหมายอาญา เช่นนี้ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 มาใช้บังคับตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 6 คือต้องออกหมายกักขังแทนค่าปรับใหม่เป็นอัตราวันละ 5 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดโทษปรานีตามมาตรา 59 วรรคท้าย แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 59 ตอนท้ายให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจลดโทษปรานีให้จำเลยไว้อย่างกว้างๆ ฉะนั้นเมื่อศาลพิเคราะห์เห็นมีเหตุสมควรจะปรานีแก่จำเลยแล้ว ศาลก็ย่อมใช้อำนาจตามมาตรา 59 ตอนท้ายนี้ลดโทษฐานปรานีแก่จำเลยได้