พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยในการพิจารณาคดีหย่าสำหรับคนต่างชาติ และเหตุหย่าตามกฎหมายไทย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ ซึ่งหมายความว่ากฎหมายของประเทศตามสัญชาติคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างต้องมีบทบัญญัติกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหย่าหรือเหตุหย่าไว้ ศาลไทยจึงจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้หย่าขาดจากกันได้ มิใช่ต้องเป็นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นคนสัญชาติอเมริกัน ตามกฎหมายของรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเงื่อนไขการหย่าไว้และบทบัญญัติของกฎหมายของประเทศไทยก็ระบุเงื่อนไขการฟ้องหย่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศมีผลทางกฎหมายไทย: การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายต่างประเทศทำให้การสมรสภายหลังในไทยเป็นโมฆะ
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส. ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนววาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาและชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ข้อตกลงเลือกทำสัญญาในต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย (ป.วิ.พ.มาตรา 4)
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษนั้น แม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 4(2) เดิม (มาตรา 4 (1) ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา 7 (4) เดิม บัญญัติไว้อีกด้วย กล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต หรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลในประเทศไทยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล: ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย
ความรับผิดของจำเลยอันเนื่องมาจากสัญญารับขนสินค้าทางทะเลเป็นหนี้เหนือบุคคล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งได้ ข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทยเมื่อฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคลในไทย
ข้อตกลงใน ใบตราส่งระหว่าง ผู้ส่งและ ผู้ขนส่งที่ให้ ฟ้องคดีที่ศาลใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษนั้นเมื่อคดีเป็นหนี้เหนือบุคคล ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้ในประเทศไทย แม้มีข้อตกลงฟ้องคดีที่ต่างประเทศ หากขัดต่อกฎหมายไทย
คดีนี้เป็นคดีหนี้เหนือบุคคลจำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งส่วนข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ นั้นแม้สิทธิตามใบตราส่งดังกล่าวจะตกได้แก่ผู้รับตราส่งแล้วและโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่งก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา7(4)เดิมบัญญัติไว้อีกด้วยกล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือศาลที่มูลคดีของเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใดข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลในประเทศไทยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดเจนและมีผลผูกพันตามกฎหมายไทย
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำ พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5)แห่ง พระราชบัญญัติ รับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่ อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พิกัดอัตราศุลกากร: แผ่นอลูมิเนียมทำหลอดบรรจุยาสีฟัน จัดอยู่ในประเภทใด กฎหมายไทยหรือความเห็นคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร
สินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำด้วยอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียบ หนาเกินกว่า 0.20 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในสิบของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวเกินกว่า 6 มิลลิเมตร มีรูตรงกลางใช้ทำหลอดบรรจุยาสีฟัน เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในจำพวกเป็นแผ่นที่เตรียมไว้เพื่อทำหลอด จึงอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.06 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าได้แก่ หลอด ท่อ และแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดหรือท่อทำด้วยอลูมิเนียม ไม่เข้าลักษณะประเภทพิกัดที่ 76.16 ได้แก่ ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยอลูมิเนียม ก. ของประดับกายและของใช้ซึ่งตามปกติเป็นของติดตัว ซึ่งมิได้ระบุไว้ในประเภทอื่น อันเป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ ในกรณีที่สินค้าไม่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นและจะนำคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีข้อความแตกต่างจากที่พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรบัญญัติไว้ดังกล่าวมาเทียบเคียงปรับให้สินค้าดังกล่าวข้างต้นจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.16 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีแผ่นอลูมิเนียมใช้ทำหลอด ยึดกฎหมายไทยเหนือความเห็นองค์กรระหว่างประเทศ
สินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำด้วยอลูมิเนียมมีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียบ หนาเกินกว่า 0.20 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในสิบของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวเกินกว่า 6 มิลลิเมตร มีรูตรงกลางใช้ทำหลอดบรรจุยาสีฟัน เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในจำพวกเป็นแผ่นที่เตรียมไว้เพื่อทำหลอดจึงอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.06 ตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าได้แก่ หลอด ท่อ และแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดหรือท่อทำด้วยอลูมิเนียม ไม่เข้าลักษณะประเภทพิกัดที่ 76.16 ได้แก่ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยอลูมีเนียม ก. ของประดับกายและของใช้ซึ่งตามปกติเป็นของติดตัว ซึ่งมิได้ระบุไว้ในประเภทอื่น อันเป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ ในกรณีที่สินค้าไม่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นและจะนำคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรณ กรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีข้อความแตกต่างจากที่พระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากรบัญญัติไว้ดังกล่าวมาเทียบเคียงปรับให้สินค้าดังกล่าวข้างต้นจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.16 หาได้ไม่