พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการทำงานร้ายแรง กรณีการกระจายหนี้และทำสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการทำงานเรื่องโจทก์กระจายหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายใช้วงเงินสินเชื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์แทนการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และยอมให้ลูกหนี้เงินกู้ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งกันและกัน ทำให้ธนาคารจำเลยไม่สามารถควบคุมการปล่อยสินเชื่อได้ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อความเชื่อถือของประชาชน จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (3) และจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง แม้ยังไม่เกิดความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้าบุคคลธรรมดา ใช้ชื่อนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินโดยผู้แทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับทราบ เก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้โดยออกสมุดเงินฝากให้แทน ทำรายการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินโดยลูกค้าไม่ได้ลงนามในใบถอนเงิน และนำส่วนต่างดอกเบี้ยจากการลงทุนในตั๋วแลกเงินของลูกค้าบางรายฝากเข้าบัญชีกองกลางของสาขา แม้การกระทำดังกล่าวของโจทก์จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยก็ตาม แต่ก็อาจเป็นเหตุให้ลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลยและจำเลยต้องจ่ายเงินให้ไป จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบทำงานของจำเลย เรื่อง วิธีปฏิบัติในการจำหน่ายตั๋วแลกเงิน ข้อ 2.2 ที่กำหนดให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน เป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำการล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท ถือเป็นกรณีร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นว่าพนักงานทดลองงานจะผ่านการทดลองงานหรือไม่ การที่โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากไม่ไป โจทก์จะเสนอความเห็นไม่ยอมให้ผ่านการทดลองงาน หรือโจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศนั่นเอง นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลยและความเจริญของกิจการ โดยทำให้พนักงานที่ไม่ยอมกระทำตามความประสงค์โจทก์และถูกโจทก์กลั่นแกล้งขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201-5202/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่จนเกิดเหตุร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องว่าด้วยการสิ้นสุดสภาพการจ้างในเรื่องการเลิกจ้าง กำหนดให้ผู้ร้องเลิกจ้างพนักงานที่ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยการทำงานกรณีร้ายแรงได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และบทที่ 8 ว่าด้วยวินัยในการทำงานและการดำเนินการทางวินัย ข้อ 8.2.1 ในเรื่องลักษณะความผิดวินัยว่าด้วยการปฏิบัติงานข้อ 3 กำหนดว่า การละทิ้งหน้าที่เป็นการผิดวินัยในการปฏิบัติงาน เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมีหน้าที่ดูแลเตาอบโฮโมจิไนซ์ซึ่งใช้อบแท่งอะลูมิเนียม ต้องคอยกดปุ่มนำแท่งอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดตามกำหนดเวลาแล้วออกจากเตาอบ เมื่อมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นและรู้อยู่แล้วว่า หากเปิดเตาอบทิ้งไว้ในขณะที่มีอะลูมิเนียมอยู่ในเตาอบ โดยไม่มีคนคอยดูแลนำอะลูมิเนียมที่อบได้ขนาดแล้วออกจากเตาอบ อะลูมิเนียมอาจจะละลายและอาจเกิดไฟไหม้ได้ การที่ผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปอยู่ที่โรงอาหาร โดยไม่ปิดวาล์วหรือที่ปิดเปิดแก๊สของเตาอบ จนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บริเวณเตาอบทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ – การรับส่งลูกค้าด้วยรถส่วนตัวไม่ใช่กรณีร้ายแรง
โจทก์นำรถยนต์กระบะส่วนตัวของโจทก์รับแขกซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยออกจากโรงแรมของจำเลยไปส่งที่นอกโรงแรมจำนวน 2 ครั้ง แม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ก็มีลักษณะเป็นค่าทิปหรือสินน้ำใจจากแขกที่อาศัยรถยนต์ของโจทก์เท่านั้น โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจการค้าหรือมุ่งหวังจะรับส่งแขกของจำเลยโดยเรียกค่าบริการแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์มิได้มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจบริการของจำเลย การรับส่งแขกดังกล่าวโจทก์ก็มิได้แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจของจำเลย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในธุรกิจของจำเลย การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงาน กรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี หากไม่ร้ายแรงถึงขนาดสร้างความเสียหาย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี ไม่ใช่เลิกจ้างได้ทันทีเสมอไป
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้น แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาป่วยเท็จครึ่งวัน ไม่ถือเป็นกรณีร้ายแรงพอเลิกจ้างได้ หากนายจ้างไม่เสียหายเป็นพิเศษ
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างลาป่วยเท็จเพียงครึ่งวันเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายเป็นพิเศษยังไม่พอฟังว่าผู้คัดค้านกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดทางอาญาหรือจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องอันเป็นกรณีร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านด้วยการเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท: ข้อบังคับบริษัทต้องระบุความร้ายแรงชัดเจน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างมิได้กำหนดว่ากรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเป็นกรณีร้ายแรงสถานเดียว การที่กรรมการลูกจ้างทั้งสองทะเลาะวิวาททำร้ายกับเพื่อนร่วมงานที่บริเวณหน้าห้องน้ำ และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขั้นที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากไม่ใช่กรณีร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการประทับ บัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทน เป็นความผิดร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยการไล่ออก เป็นระเบียบเกี่ยวกับ การทำงานที่นายจ้างกำหนดเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างจึงเป็นข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้น และมีผลใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย แต่จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยกรณีนี้หรือไม่ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โดยหากการฝ่าฝืนข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจำเลยเคยเตือนลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง ยังกระทำซ้ำคำเตือนอีกจำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะกำหนดให้การฝ่าฝืนเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นประทับ บัตรบันทึกเวลาแทน เพื่อความสะดวกและมักง่ายของตน หาใช่โดยทุจริต เพื่อโกงค่าแรงงาน ของจำเลยไม่จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับ กรณีไม่ร้ายแรงเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือ มาก่อน และจำเลยได้ไล่โจทก์ออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.