พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ปล่อยผู้ต้องหาหลบหนี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส.เมื่อจำเลยจับตัว ส.ได้แล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องรีบนำตัวส.ส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยไม่ชักช้า การที่จำเลยยอมให้ ส.แวะพบญาติแล้วเป็นเหตุให้ ส. หลบหนีไปในระหว่างควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ไม่ใช่การกระทำแทนกรมตำรวจ
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากหน้าที่การงาน-ความรับผิดของกรมตำรวจ-ค่าเสียหายทางร่างกายและจิตใจ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยรวม 5 ปากเพราะพยานเหล่านี้กับพยานที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 นำเข้าสืบแล้วกับตัว จำเลยที่ 1 เป็นพยานคู่กันแม้สืบไปก็ได้ความเหมือนกับที่จำเลยที่ 1 กับพวกเบิกความมาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงได้ความจากคำให้การของพยานดังกล่าว ในสำนวนสอบสวนเพื่อพิจารณาทัณฑ์ทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ว่าพยานเหล่านี้ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ แต่มารู้เห็นเมื่อเกิดเหตุแล้วการที่จะสืบพยานเหล่านี้ไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี และเป็นการฟุ่มเฟือยเกินไปคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนโรงเรียนพลตำรวจภูธร 4 ของกรมตำรวจจำเลยที่ 5 การที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 5 การฝึกชัยยะ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะนักเรียนพลตำรวจตามคำสั่งและนโยบายของจำเลยที่ 5 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เกิดความเสียหายขึ้นก็เรียกได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในหน้าที่การงาน กรมตำรวจ จำเลยที่ 5 แม้ไม่ได้ร่วมทำละเมิดและมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างหรือตัวแทนก็จำต้องร่วมรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายนั้นด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
การที่ปืนในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ลั่นขึ้น และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายซึ่ง ตามมาตรา 444 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป กับเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 บัญญัติไว้ได้ การวินิจฉัยถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าจะต้องคำนึงถึงฐานะและรายได้ของผู้เสียหาย
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนโรงเรียนพลตำรวจภูธร 4 ของกรมตำรวจจำเลยที่ 5 การที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 5 การฝึกชัยยะ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะนักเรียนพลตำรวจตามคำสั่งและนโยบายของจำเลยที่ 5 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เกิดความเสียหายขึ้นก็เรียกได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในหน้าที่การงาน กรมตำรวจ จำเลยที่ 5 แม้ไม่ได้ร่วมทำละเมิดและมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างหรือตัวแทนก็จำต้องร่วมรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายนั้นด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
การที่ปืนในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ลั่นขึ้น และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายซึ่ง ตามมาตรา 444 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป กับเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 บัญญัติไว้ได้ การวินิจฉัยถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าจะต้องคำนึงถึงฐานะและรายได้ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรมตำรวจต่อการกระทำละเมิดของลูกน้องขณะปฏิบัติหน้าที่
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายตำรวจใช้จำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นำรถออกนอกพื้นที่โดยมิได้ขออนุมัติก่อน แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ก็ตาม เมื่อฟังได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 1 นำรถออกนอกพื้นที่เป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการมิใช่เป็นการไปทำธุระในเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิด ก็ต้องถือว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 อันเป็นผลให้กรมตำรวจจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความรับผิดทางละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบทำให้เริ่มนับอายุความ
อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้แทนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมตำรวจ เมื่ออธิบดีกรมตำรวจได้ออกคำสั่งกำหนดสายงานของกรมตำรวจและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้รองอธิบดีและผู้ช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี การปฏิบัติราชการของผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภายในกรอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ มีผลเท่ากับเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ของอธิบดีกรมตำรวจ การที่ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในฐานะดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2521 ถือได้ว่ากรมตำรวจโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: เงินถูกยักยอกไม่ใช่เงินงบประมาณของกรมตำรวจ, กรมตำรวจจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดของกรมตำรวจโจทก์แต่บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองบังคับการตำรวจรถไฟ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายจากเงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้นโดยกรมตำรวจโจทก์ไม่มีหน้าที่จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้ให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เงินต่าง ๆ รวม 33 ครั้งจำนวน 168 ฎีกาตามที่กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นผู้ตั้งฎีกาเบิกเพื่อนำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟตามสิทธิแต่ร้อยตำรวจเอก บ. สมุห์บัญชีของกองบังคับการตำรวจรถไฟได้ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินตามฎีกาทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสียเช่นนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ไม่ใช่กรมตำรวจโจทก์ แม้ฎีกาเบิกเงินได้แนบใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกและตามหลักฐานระบุว่าได้รับเงินไปครบถ้วนโดยลงนามรับเงินแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกยังมิได้รับเงินที่เบิกไปตามที่ ลงนามไว้ในใบเบิกเพราะเงินนั้นถูกยักยอกไปเสียก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยังมิได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกแม้จะมีการตั้งฎีกาเบิกและสมุห์บัญชีกองบังคับการตำรวจรถไฟรับเงินจำนวนที่เบิกไปจากกองคลังเงินการรถไฟแล้วเงินจำนวนนั้นก็ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ หาใช่เงินของกรมตำรวจโจทก์ไม่เมื่อมีการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตามแต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีผิดสัญญาประกันตัว พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ กรมตำรวจไม่ใช่คู่สัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 เมื่อจำเลยผิดสัญญา พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาได้ กรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยจะฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมตำรวจมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินที่กองสวัสดิการในสังกัดทำแทน แม้จะอ้างว่าเกินอำนาจ
กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ด้วยการรู้เห็นยินยอมของกรมตำรวจเคยจัดสรรที่ดินให้ประชาชนโดยทั่วๆ ไปเช่าซื้อ เมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้ สำหรับที่ดินรายพิพาทนี้ ก่อนที่จะนำออกจัดสรรได้ประกาศโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบโดยเปิดเผย โจทก์เชื่อ โดยสุจริตว่ากองสวัสดิการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรที่ดิน ให้เช่าซื้อได้ จึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับ กองสวัสดิการ และได้ชำระเงินโดยครบถ้วน แต่ทาง กองสวัสดิการไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้เพราะ เจ้าหน้าที่ทุจริต กรมตำรวจจึงได้มีคำสั่งให้รีบดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์และผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาที่ดินครบถ้วน ดังนี้ต่อมากรมตำรวจจะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อโดยอ้างว่าไม่รู้และยินยอมให้กองสวัสดิการเชิดตัวเองออกแทนกรมตำรวจในการทำสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่
กรมตำรวจรู้และยินยอมให้กองสวัสดิการซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์แทน และได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนด้วย ดังนี้จะปฏิเสธความรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุกองสวัสดิการผิดสัญญา โดยอ้าง ว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์และนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ของกรมตำรวจหาได้ไม่
กรมตำรวจรู้และยินยอมให้กองสวัสดิการซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์แทน และได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนด้วย ดังนี้จะปฏิเสธความรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุกองสวัสดิการผิดสัญญา โดยอ้าง ว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์และนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ของกรมตำรวจหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางละเมิด
พลตำรวจขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงทำละเมิดในการขับรถตามหน้าที่ ถือว่าเป็นผู้แทนกรมตำรวจและกรมทางหลวง ทั้ง2 กรมต้องร่วมรับผิดกับพลตำรวจด้วย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของกรมตำรวจต่อเงินกองกลาง แม้ไม่ใช่เงินงบประมาณแผ่นดิน
เงินกองกลางของกรมตำรวจอันเป็นเงินที่ได้มาจากการบริจาคของข้าราชการกรมตำรวจและประการอื่นนั้น แม้มิใช่เงินงบประมาณแผ่นดิน ก็นับว่าเป็นทรัพย์สินของกรมตำรวจ เมื่อมีผู้ทำละเมิดเอาเงินกองกลางไป กรมตำรวจจึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้.