พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมถูกเรียกเข้าเป็นคู่ความในคดีเช่าซื้อรถยนต์ ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดได้ และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีรถยนต์สูญหาย
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัดและศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลความกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพิ่มเติมแก้ไขข้อความ แต่แปลความตามเจตนาที่แท้จริง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่พิพาท ช่องผู้เอาประกันภัยนั้นได้ระบุชื่อบริษัท ค. และชื่อบุคคลอยู่ภายในวงเล็บต่อมา เป็นเหตุให้เกิดความสงสัย การที่ศาลอุทธรณ์แปลความถึงความมุ่งหมายที่เกิดขึ้นจริงแห่งข้อความที่ปรากฏว่าบุคคลที่อยู่ภายในวงเล็บเป็นผู้เอาประกันภัย จึงเป็นเพียงเหตุผลในการแปลความตามอักษรที่ปรากฏนั้นหาได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวน
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากถ้อยคำที่ปรากฏในสำนวน โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่า ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏอยู่ในสำนวนนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 รับว่าได้รับประกันวินาศภัยจริง แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือการมรณะของบุคคลภายนอกดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งมีปรากฏอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 ที่โจทก์อ้างส่ง และพยานจำเลยเองก็เบิกความรับ จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่มีปรากฏอยู่ในสำนวน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 รับว่าได้รับประกันวินาศภัยจริง แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือการมรณะของบุคคลภายนอกดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งมีปรากฏอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 ที่โจทก์อ้างส่ง และพยานจำเลยเองก็เบิกความรับ จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่มีปรากฏอยู่ในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเป็นสาระสำคัญสัญญา การแจ้งเหตุล่าช้ามีผลต่อการพิจารณาค่าสินไหม
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือสูญหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การตีความเฉพาะเจาะจงกรณีบาดเจ็บทางร่างกายและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้... ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท" ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิตเพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิตข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว...ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาล... และกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น 250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรมกรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามกำหนดเงื่อนไขความรับผิดต่างจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีข้อความระบุถึง ความรับผิดของบริษัทแตกต่าง ไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่งพระราชบัญญัตินี้บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง การเปลี่ยนมือผู้เช่าซื้อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริง การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท จ.แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2เข้าสวมสิทธิแทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7222/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อฟ้องคดี การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ทำให้ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลง การที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักฐานของสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา2 ปี แล้ว ไม่ทำให้คดีของโจทก์ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย การแจ้งล่วงหน้าตามเงื่อนไขสัญญา
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขในการบอกเลิกกรมธรรม์-ประกันภัยว่า โจทก์จะบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยนั้น เป็นเพียงข้อกำหนดให้ผู้รับประกันภัยส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์-ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า 15 วันเท่านั้น เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ส่งหนังสือบอกกล่าวเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแก่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยล่วงหน้าก่อนยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไม่น้อยกว่า15 วัน และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาประกันภัยแก่จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว