พบผลลัพธ์ทั้งหมด 468 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนแก้ชื่อกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินตามคำร้องขอ เป็นเพียงการวินิจฉัยรองรับสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมาเป็นชื่อของผู้ร้องตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิของผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธโดยอ้างเหตุผู้ร้องไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามมาตรา 103 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องโดยตรง ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องต้องนำคดีมาสู่ศาลเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินมีเหตุตามกฎหมายในการไม่ยอมจดทะเบียนหรือไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับให้กระทำได้จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินซ้ำกับคดีก่อนที่เจ้าของรวมคนอื่นฟ้องแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์
คดีก่อนที่ อ. และ ค. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทมีข้อพิพาทกับ ส. จำเลยในคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวม ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่าโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงเหตุที่โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุมไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นไม่ได้วินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกากล่าวถึงแต่ความเป็นมาของการครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งตกทอดมาถึงโจทก์ได้อย่างไร จำเลยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เพราะเหตุใด มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินนอกเหนือจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 บุกรุกที่ดินมีโฉนดของโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินของโจทก์จนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้จนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และประเด็นว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนจากคดีปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และการบังคับจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่: ปัญหาบริวารและการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ ที่ดินพิพาทมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน - โฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบ - การซื้อขายโดยสุจริต - ผู้ซื้อย่อมไม่มีสิทธิ
แม้พยานโจทก์ทุกปาก เว้นแต่เจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เมื่อปี 2521 นั้นถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของ ว. เป็นการออกโดยไม่ถูกต้องเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานตามที่ปรากฏอยู่ในสำนวนส่วนจะเชื่อพยานฝ่ายใดย่อมเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหาใช่การวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานนอกสำนวนหรือผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนไม่
การนำสืบเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใด การออกเอกสารสิทธิที่พิพาทชอบหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง อีกทั้งมิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ว. นำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ และ ว. ไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทว. จึงมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. นำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองจะซื้อและจดทะเบียนการซื้อขายโดยสุจริต จำเลยทั้งสองก็หามีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เพราะผู้ซื้อต้องรับไปเพียงสิทธิของผู้ขายเท่านั้น เมื่อ ว. ผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองผู้ซื้อจึงย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
กฎหมายเพียงให้เป็นข้อสันนิษฐานไว้เท่านั้นว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ด้วย จากข้อความดังกล่าวย่อมชัดแจ้งแล้วว่าเป็นเพียงการพิมพ์ผิดเท่านั้น ที่ถูกโจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่พิมพ์ผิดเป็นจำเลยที่ 2 โจทก์หาได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่เกินคำขอ
เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินมิได้บังคับบุคคลภายนอก แต่เป็นการบังคับเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินได้
การนำสืบเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใด การออกเอกสารสิทธิที่พิพาทชอบหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง อีกทั้งมิใช่การนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ว. นำที่ดินพิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ และ ว. ไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทว. จึงมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. นำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองจะซื้อและจดทะเบียนการซื้อขายโดยสุจริต จำเลยทั้งสองก็หามีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ เพราะผู้ซื้อต้องรับไปเพียงสิทธิของผู้ขายเท่านั้น เมื่อ ว. ผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองผู้ซื้อจึงย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
กฎหมายเพียงให้เป็นข้อสันนิษฐานไว้เท่านั้นว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ด้วย จากข้อความดังกล่าวย่อมชัดแจ้งแล้วว่าเป็นเพียงการพิมพ์ผิดเท่านั้น ที่ถูกโจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่พิมพ์ผิดเป็นจำเลยที่ 2 โจทก์หาได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่เกินคำขอ
เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินมิได้บังคับบุคคลภายนอก แต่เป็นการบังคับเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินติดทางสาธารณะ: การกีดขวางทางออกไม่ใช่เหตุให้บังคับรื้อถอน หากที่ดินส่วนบุคคลไม่ได้เชื่อมต่อโดยตรง
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวง แต่ก็มิใช่ตัวทางหลวง ไม่ว่าจะเป็นผิวจราจรหรือทางเท้า ที่ดินของโจทก์จึงมิได้เชื่อมกับถนนกันตังเนื่องจากยังมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ หากโจทก์จะเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์กับถนนกันตัง โจทก์จะต้องผ่านที่ดินพิพาทเสียก่อนซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากที่ดินของโจทก์ต่อเชื่อมกับถนนกันตังโดยผ่านที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินของโจทก์มิได้ติดต่อกับถนนกันตังมาแต่เดิมเนื่องจากมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ และจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตน โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทกีดขวางทางออกสู่ถนนกันตังหาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และมาตรา 1337 ในอันที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและต้นมะพร้าวออกจากที่ดินพิพาทได้