พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับบำนาญข้าราชการเมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่ และการเรียกร้องเงินบำนาญเกินสิทธิ
สิทธิของจำเลยในการขอรับบำนาญจากโจทก์เมื่อกลับเข้า รับราชการใหม่จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 34 ที่กำหนดว่า ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่า เงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการจะขอรับบำนาญรวมกัน ไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือน ใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ถ้าเงินเดือนใหม่ เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมก็ให้งดบำนาญในระหว่างนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนใหม่ในอัตราเดือนละ 750 บาท จำเลยมีสิทธิได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 250 บาท ซึ่งเมื่อรวม กับเงินเดือนแล้วไม่สูงกว่าเงินเดือนก่อนลาออกจากราชการ ที่รับอยู่ในอัตราเดือนละ 1,000 บาท และเมื่อเงินเดือนใหม่ ของจำเลยสูงขึ้น สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยก็จะต้องลดลง จนเมื่อเงินเดือนใหม่เป็นอัตราเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป จึงให้งดบำนาญเสียทั้งหมด สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยในกรณีที่กลับเข้ารับราชการใหม่กับไม่เข้ารับราชการใหม่ จึงไม่ เหมือนกันและเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อ โจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของ ของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับ เข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่า สิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ คืนจากจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ ของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการชดใช้ทุน: การกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนหลังถูกปลดออกและได้รับการล้างมลทิน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อ หรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนค่าเล่าเรียนหลังถูกปลดออกจากราชการ และผลของการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (โจทก์) เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษาหลังถูกปลดออกจากราชการ และการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ9ระบุว่า"ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ5ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ7"เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ9ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนม์พรรษา60พรรษาพ.ศ.2530ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญาและโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่1กลับเข้ารับราชการดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเองจำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้ารับราชการหลังรับบำนาญ: ผลกระทบต่อสิทธิบำนาญและการงดบำนาญระหว่างรับราชการ
โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนรับราชการเป็นครูในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง จำเลยที่ 3 ต่อมาเทศบาลเมืองตรังได้ขยายเขตพื้นที่การปกครองออกไปรวมเอาโรงเรียนซึ่งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสอนอยู่เป็นของเทศบาลเมืองตรังด้วย โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสมัครใจสอนในโรงเรียนเดิม จำเลยที่ 3จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุทดแทนในวันเดียวกัน เทศบาลเมืองตรังได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนเข้ารับราชการเป็นพนักงานเทศบาลเมืองตรัง โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนซึ่งได้ออกจากราชการและมีสิทธิรับบำนาญตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500 แล้วได้ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ในสังกัดเทศบาลโดยได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเดิม โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจึงต้องบอกเลิกรับบำนาญตามมาตรา 30 และโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจะต้องถูกงดบำนาญในระหว่างที่เข้ารับราชการใหม่ด้วย ตามมาตรา 34 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้ารับราชการใหม่หลังรับบำนาญแล้ว และผลกระทบต่อสิทธิการรับบำนาญตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนรับราชการเป็นครูในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังจำเลยที่3ต่อมาเทศบาลเมืองตรังได้ขยายเขตพื้นที่การปกครองออกไปรวมเอาโรงเรียนซึ่งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสอนอยู่เป็นของเทศบาลเมืองตรังด้วยโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนสมัครใจสอบในโรงเรียนเดิมจำเลยที่3จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนออกจากราชการเพื่อรับบำนาญด้วยเหตุทดแทนในวันเดียวกันเทศบาลเมืองตรังได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนเข้าราชการเป็นพนักงานเทศบาลเมืองตรังโดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิมเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนซึ่งได้ออกจากราชการและมีสิทธิรับบำนาญตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2500แล้วได้ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ในสังกัดเทศบาลโดยได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเดิมโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจึงต้องบอกเลิกรับบำนาญตามมาตรา30และโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนจะต้องถูกงดบำนาญในระหว่างที่เข้ารับราชการใหม่ด้วยตามมาตรา34วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุราชการต่อเนื่องหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ โดยการบอกเลิกรับบำนาญยื่นพร้อมกับการขอกลับเข้ารับราชการ
การขอกลับเข้ามารับราชการใหม่ของโจทก์กับการบอกเลิก รับบำนาญเป็นคนละเรื่องกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองพร้อมกัน ทั้งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2495 มาตรา 33 วรรคสี่และวรรคห้าก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใด การที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับหนังสือขอกลับเข้ามารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมการปกครองที่โจทก์สังกัดอยู่เดิมมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เสียก่อนจึงไม่ขัดต่อมาตรา 30 วรรคสี่ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30 วรรคห้า บัญญัติเพียงว่า การบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังจำเลย โดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัด มิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัด การที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้ว จำเลยจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาราชการช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลาราชการต่อเนื่องหลังลาออกและกลับเข้ารับราชการใหม่: การปฏิบัติตามมาตรา 30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันค่าชดใช้สัญญาการศึกษาและการกลับเข้ารับราชการ: หลักเกณฑ์การตีความ 'ส่วนราชการเดิม'
มติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1.4 ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่า ผู้ผิดสัญญาตามข้อ 1.1 พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ คำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิม คือ มหาวิทยาลัยโจทก์ หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่ เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สอง จำเลยที่ 1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11 กุมภาพันธ์ 2530 จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย