คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กลั่นแกล้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างองค์กร ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 มีความประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ซึ่งแม้จะมีข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องได้ 5 ประการ ตามมาตรา 123 (1) ถึง (5) แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ ดังนั้นถ้านายจ้างมีเหตุอื่นที่จำเป็น นายจ้างก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ตั้งแต่รัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ทำให้จำเลยที่ 2 ประสบภาวะการขาดทุนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง จำต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดขนาดขององค์กรให้เล็กลง โดยได้ยุบรวมหน่วยงานที่โจทก์ทำงานอยู่ และลดพนักงานในหน่วยงานของโจทก์ลงเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดขององค์กร จำเลยที่ 2 ได้ย้ายโจทก์ไปทำงานที่หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ แต่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่หน่วยงานใหม่ จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและความจำเป็นโดยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ และมิใช่เป็นการเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องการเลิกจ้างดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งที่ไม่เป็นธรรมในการมอบหมายงานนอกหน้าที่และกลั่นแกล้ง, สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกกลั่นแกล้ง
โจทก์ทำงานอยู่แผนกจัดส่ง มีหน้าที่รับส่งและบรรจุน้ำมันลงถังการที่ ว.หัวหน้าแผนกซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งให้โจทก์ไปตักน้ำมัน และไขน้ำมันจากท่อน้ำรวมในโรงงานซึ่งมีน้ำสกปรกไหลผ่าน เป็นการสั่งให้ทำงานนอกหน้าที่ของโจทก์ โดย ว.ไม่เคยใช้ผู้อื่นทำมาก่อน และคำสั่งของ ว.เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ คำสั่งของ ว.ดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม แม้โจทก์จะฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโดยมิชอบ ข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหาย ชี้เจตนาใช้อำนาจเกินขอบเขต
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมผู้เสียหายที่ได้ก่อการทะเลาะวิวาทก่อนหน้านั้นแต่เหตุแห่งการทะเลาะวิวาทได้ยุติลงแล้ว เหตุวิวาทยังไม่ชัดแจ้งว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า โดยมีคู่กรณีกับผู้เสียหายชี้ให้จับ แต่มิได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบอีกทั้งไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสงสัยว่ากระทำความผิดมาแล้วจะหลบหนี จำเลยซึ่งไม่มีหมายจับไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะจับผู้เสียหาย จำเลยจับผู้เสียหายโดยไม่แจ้งข้อหาไม่ทำบันทึกจับกุม ไม่ส่งมอบตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี กลับนำไปควบคุมที่ด่านตรวจ ชี้เจตนาจำเลยว่ากระทำโดยโกรธแค้น แสดงอำนาจ เพื่อข่มขู่กลั่นแกล้งผู้เสียหายให้เดือดร้อนเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องรุนแรงต่อความรู้สึกของประชาชนไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอเงินช่วยเหลือเพื่อแลกกับการลาออกและการสั่งย้ายงานเพื่อกลั่นแกล้ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 แล้วว่า ก่อน ณ. ผู้จัดการโรงงานจะมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่บริษัท พ. และบริษัท ม. ณ. ได้ยื่นข้อเสนอว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำ หากโจทก์ทั้งแปดลาออกจำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ เมื่อโจทก์ทั้งแปดไม่ยอมลาออก จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมาในบริษัทดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ได้นำสืบตามฟ้องแล้วและศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์แล้วเช่นกันส่วนที่ศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเสนอเงินช่วยเหลือโจทก์ถ้าโจทก์ลาออกนั้นเป็นเพียง ยกข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อให้มีเหตุผลสนับสนุนในการรับฟัง ข้อเท็จจริงได้หนักแน่นขึ้นว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งแปด ไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นการรับฟัง ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากการร้องเรียนกลั่นแกล้งและข่มขู่ผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจก่อสร้างและการโอนสิทธิการเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด โดยบรรยายมาในคำฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า การร้องเรียนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการจงใจทำละเมิดและกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีเจตนาไม่ให้โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารได้ตามปกติ ทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด อีกทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และบริวารได้พูดจาข่มขู่บุคคลภายนอกที่มาติดต่อขอรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ว่า หากรับโอนสิทธิการเช่าไปก็จะมีความเดือดร้อนเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ยังมีข้อพิพาทกับโจทก์อยู่ ทำให้อาคารที่โจทก์สร้างขึ้น 4 หลัง มีผู้รับโอนสิทธิการเช่าเพียงหลังเดียว ส่วนอีก 3 หลัง ไม่มีผู้ใดกล้าเช่าช่วงหรือรับโอนสิทธิการเช่า ดังนี้ การกระทำตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีกลั่นแกล้งโจทก์โดยอ้างอิทธิพลหน้าที่ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเห็นชอบและสั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา47และ48แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522เนื่องจากคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะมิได้มีสภาพบังคับเสมือนคำพิพากษา จำเลยที่2ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่ต้องเสนอคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีภายในกำหนดไม่เกิน7วันแต่กลับกักเก็บเรื่องไว้เป็นเวลากว่า2ปีจำเลยที่1ในฐานะรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่1ได้มีส่วนร่วมในการกระทำหรือสั่งการรู้เห็นด้วยและการที่จำเลยที่1มีคำสั่งตามมาตรา49ให้เสนอปัญหาข้อกฎหมายเข้าสู่การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งมีหน้าที่รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรา7(ข)แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522ก็เป็นการถูกต้องแล้วคดีจึงไม่พอมีมูลว่าจำเลยที่1มีพฤติการณ์ร่วมกับจำเลยอื่นในการกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่5มารับตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้าหลังจากที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่2(พ.ศ.2531)ได้ประกาศใช้แล้วการที่จำเลยที่5ยังปฏิบัติตามความในประกาศดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยที่5มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกับจำเลยอื่นเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ด้วยเนื่องจากจำเลยที่5ยังคงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวตราบเท่าที่มีผลบังคับใช้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเรื่องข่มขืน ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกลั่นแกล้งและมีเหตุผลเชื่อว่าเป็นการร่วมประเวณีโดยสมัครใจ
จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องพักของโรงแรมไม่มีผู้ใดรู้เห็น เมื่อโจทก์ร่วมกับจำเลยเบิกความโต้แย้งกันอยู่ จึงต้องฟังเหตุผลและพยานพฤติเหตุแวดล้อมประกอบกัน เมื่อพนักงานโรงแรมเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุตนเองเป็นผู้บริการเปิดม่านรูดให้โจทก์ร่วมและจำเลยขับรถเข้าไปจอดในโรงแรม และเปิดม่านรูดเมื่อรถยนต์ของโจทก์ร่วมและจำเลยจะออกไป จำเลยมิได้ร้องขอความช่วยเหลือประกอบกับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมิได้ใช้กำลังบังคับหรือใช้อาวุธขู่เข็ญจำเลยเพราะจะร่วมประเวณี พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมประเวณีกันโดยสมัครใจ เมื่อจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในเวลาต่อมาว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลย จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโดยรู้ว่าไม่มีความผิด เพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นความผิดตามมาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง
จำเลยเป็นทนายความไม่ได้รับแลกเช็คจากคุณหญิง ศ. จริงเพียงแต่รับสมอ้างดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะโดยรับมาจากโจทก์หรือจากคุณหญิง ศ.ก็ตาม โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็ค เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนโดยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ได้รับความเสียหายถูกจับกุมดำเนินคดี เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะไม่ผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยปราศจากเจตนาลัก แต่มีเจตนาประทุษร้ายเพื่อกลั่นแกล้ง
จำเลยกับผู้เสียหายรู้จักกันมาก่อนเกิดเหตุ วันเกิดเหตุจำเลยและผู้เสียหายเข้ามาดื่มสุราในร้านเดียวกัน จำเลยมีอาการเมาสุรามาก พูดจารบกวนผู้เสียหายและท้าผู้เสียหายชกต่อย ผู้เสียหายรำคาญจึงย้ายเข้าไปนั่งดื่มสุราต่อในร้าน จำเลยจึงเดินออกจากร้านอาหารและได้ยกรถจักรยานของผู้เสียหายซึ่งจอดอยู่หน้าร้านบรรทุกรถสามล้อเครื่องซึ่งขับผ่านมาไป มีการร้องตะโกนเรียกจำเลยแต่จำเลยก็ยังคงให้รถสามล้อเครื่องขับต่อไป ทั้งที่รถจักรยานยนต์ของจำเลยยังคงจอดอยู่ที่หน้าร้านอาหาร สักครู่จำเลยก็กลับมาที่ร้านอาหารอีก หลังจากจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับแล้ว จำเลยก็พาเจ้าพนักงานตำรวจไปเอารถจักรยานคืนผู้เสียหายโดยดี การที่จำเลยเอารถจักรยานของผู้เสียหายไปก็เพื่อจะกลั่นแกล้งผู้เสียหาย จำเลยไม่มีเจตนาลักรถจักรยานผู้เสียหาย
of 3