คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กล่าวหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่กลั่นแกล้งกล่าวหาผู้อื่น เพื่อยึดทรัพย์สินโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดข่มขืนใจตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ทั่วราชอาณาจักร ใช้อำนาจในตำแหน่งแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิด จำเลยกล่าวหาเช่นนั้นเพื่อมิให้ผู้เสียหายขัดขวางในการที่จำเลยกับพวกยึดเอาเลื่อยยนต์ของผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมมอบทรัพย์สินของผู้เสียหายให้แก่จำเลยกับพวกนั่นเอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น หากพนักงานอัยการไม่ฟ้อง ไม่ถือเป็นความเท็จ
จำเลยเคยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นคนร้ายยิงสามีจำเลย ต่อมาจำเลยแจ้งเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนร้ายพนักงานสอบสวนจึงดำเนินคดีแก่โจทก์ แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าคำกล่าวหาของจำเลยเป็นความเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: เบิกความเท็จทำให้ผู้อื่นถูกกล่าวหา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเบิกความในคดีก่อนทำให้ฟังว่าโจทก์ได้ร่วมกระทำผิดฐานฆ่า พ.ซึ่งเป็นความเท็จ การที่จำเลยฎีกาว่าข้อเท้จจริงมีการแทง พ.ถึงแก่ความตายจริง ส่วนผู้ที่แทง พ.นั้น เนื่องจากเกิดเหตุเวลากลางคืน และมีเหตุชุลมุน จำเลยเห็นเหตุการณ์ไม่ถนัด ทำให้จำเลยเบิกความไปตามที่ตนเข้าใจว่า ด. เป็นคนแทงซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ เพราะจำเลยไม่ได้เบิกความว่าโจทก์ร่วมกับพวกฆ่า พ. ไม่ทำให้โจทก์ได้รับผลจากคำเบิกความของจำเลยแต่ประการใดนั้น เท่ากับจำเลยประสงค์ให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าคำเบิกความของจำเลยไม่เป็นความเท็จ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความกล่าวหาเท็จและการสร้างพยานหลักฐานเท็จ ต้องพิสูจน์เจตนาแกล้งแจ้งความหรือสร้างหลักฐานผิด
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเจตนาแจ้งความเท็จ ไม่ใช่เพียงข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อน
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะ ทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ ทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไปจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 179 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเหตุสงสัยตามสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความเท็จได้
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913-2915/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเหตุยึดรถ และความผิดฐานแจ้งความเท็จเพื่อสนับสนุนการกล่าวหาเจ้าพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,174 วรรคสอง และ 83 ให้จำคุก 3 เดือนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 ให้อำนาจการยึดรถแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ 2 กรณี คือ ผู้ขับขี่หลบหนี หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่กรณี ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่หาจำต้องติดตามยึดรถในทันทีที่เกิดเหตุไม่ดังนั้นเมื่อมีการหลบหนีหรือหาตัวไม่พบพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจติดตามยึดรถในเวลาต่อมาได้ จำเลยที่ 1 แจ้งความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 มีความเห็นว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกรวม 3 คน เป็นการร่วมกันเอารถยนต์ของตนไปโดยเจตนาทุจริตและใช้กำลังบังคับว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้ดูแลรถอันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์และลักทรัพย์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอกก.กับพวกเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงความเห็นหรือความเข้าใจไม่การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,174 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 181(1) ซึ่งจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นแม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าร้อยตำรวจเอกก.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำการยึดรถยนต์ไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ทราบสาเหตุทั้งกระทำเกินความจำเป็นเพื่อสนับสนุนคำแจ้งความของจำเลยที่1 ให้กลายเป็นความจริงซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ร้อยตำรวจเอก ก. กับพวกจึงเป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 492/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลไม่มีชื่อในสารบบนักข่าว ไม่เป็นหมิ่นประมาท
ข้อความที่จำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์รายวันลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของตนว่า โจทก์ไม่มีชื่อในสารบบนักข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวประจำจังหวัดไปแอบอ้างหลอกลวงที่ไหนให้แจ้งตำรวจจับ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา แม้ไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่สมเหตุผล
แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้อื่นค้ายาเสพติดให้โทษเฮโรอีน แต่เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหามิได้มีการฟ้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดดังข้อกล่าวหาและไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างที่จะถือว่าไม่เป็นธรรมนั้นย่อมต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่เมื่อระเบียบของจำเลยให้คำนิยามคำว่า 'เลิกจ้าง' ไว้ว่าหมายความว่า 'มาตรการลงโทษที่ใช้กับพนักงานซึ่งบริษัทไม่ไว้วางใจและไม่ประสงค์ที่จะให้อยู่ทำการกับบริษัทต่อไปหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งงาน' พฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจและให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหา 'โกงบ้านโกงเมือง' ต่อข้าราชการเข้าข่ายหมิ่นประมาท แม้มีการใช้คำดูหมิ่นประกอบ
การที่จำเลยพูดว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นข้าราชการว่า "ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ ห. โกงบ้านโกงเมือง" นั้น แม้ถ้อยคำที่ว่า อ้ายเหี้ย ไอ้สัตว์ จะเป็นเพียงการดูหมิ่นเหยียดหยาม แต่ถ้อยคำที่ว่าผู้เสียหายโกงบ้านโกงเมืองนั้น มีความหมายว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เบียดบังทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ทางราชการมาเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต เป็นการใส่ความผู้เสียหายโดยการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาท
of 4