คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กองทุน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อตัวการจากกรณีตัวแทนเบิกเงินกองทุนแล้วไม่ส่งมอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. ผู้ตายขณะเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์และจำเลยร่วมซึ่งเป็นรองผู้จัดการโจทก์ในฐานะตัวแทนโจทก์ ได้นำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของโจทก์ไปเบิกและรับเงินของกองทุนไฟป่าจากธนาคาร แล้วไม่นำเงินเข้าบัญชีรายรับของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการฟ้องเรียกเงินที่ผู้ตายในฐานะตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่เงินของโจทก์ แต่เมื่อผู้ตายต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ ป. รับผิดกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ในกรณีละเมิด และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) นับแต่วันที่ ป. ผู้ตายรับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์ไป เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ลำดับความสำคัญระหว่างเจ้าหนี้และกองทุนปราบปรามยาเสพติด
บัตรกำนัลมีดอกเบี้ยที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 16 (4) และ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้ และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัลดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่มีการริบ ดังนี้ แม้บัตรกำนัลดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าศาลสั่งริบ บัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัลดังกล่าวนี้ กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 287 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่น ๆ ตามมาตรา 287 โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัลดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิเหนือทรัพย์สินก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
บัตรกำนัลมีดอกเบี้ยเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา16(4)และมาตรา22แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้และให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเก็บรักษาบัตรกำนัลไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแต่เมื่อคดีอาญาดังกล่าวไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการริบดังนี้แม้บัตรกำนัลยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตามแต่ถ้าศาลสั่งริบบัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการที่โจทก์ขอให้ส่งบัตรกำนัลต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัลดังกล่าวกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่นๆตามมาตรา287โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัลดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด: ลำดับความสำคัญระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและกองทุนป้องกันปราบปรามยาเสพติด
บัตรกำนัลมีดอกเบี้ยที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา16(4)และมาตรา22แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัลดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการริบดังนี้แม้บัตรกำนัลดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตามแต่ถ้าศาลสั่งริบบัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัลดังกล่าวนี้กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่นๆตามมาตรา287โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัลดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนจากนายจ้างเมื่อออกจากงาน ลดคน, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต: ดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า "ส่วนที่จะได้รับจากบริษัท พนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข" เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการประมาทเลินเล่อในการถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ และความรับผิดของธนาคาร
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นศึกษาธิการจังหวัดและผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดตามลำดับ ได้ลงชื่อในใบถอนเงินฝากของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่ฝากประจำไว้กับธนาคารจำเลยที่ 4เพื่อโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีอยู่แล้วที่ธนาคารจำเลยที่ 4 ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโจทก์ที่ 1 ว่าด้วยการจัดการกองทุนสงเคราะห์ ฯลฯ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการครูช่วยปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับเงินแทนแต่ใบถอนเงินดังกล่าวมิได้ระบุว่า เป็นการถอนเงินเพื่อโอนไปฝากในบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นใบถอนเงินเพื่อรับเงินสดไปจากธนาคาร แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารจำเลยที่ 4 ขอถอนเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ ในบัญชีเงินฝากประจำโอนเข้าบัญชีกระแสรายวันมอบให้จำเลยที่ 1 ไปก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินแล้วก็หลบหนีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะเป็นช่องทางให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเอาเงินที่ถอนไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากธนาคารจำเลยที่ 4 ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้การมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 ไปถอนเงินเป็นจำนวนมากถึงหกแสนบาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กลับมอบฉันทะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว จึงเป็นความประมาทเลินเล่อยิ่งขึ้น แม้ตามระเบียบจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีหน้าที่ไปถอนเงินด้วยตนเอง เพราะมีอำนาจหน้าที่ลงนามเป็นผู้ถอนเงิน จำเลยที่2 ที่ 3 ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำการแทนได้ แต่จะต้องควบคุมดูแล และใช้วิธีการที่รัดกุม รอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินแล้วเอาเงินสดหลบหนีไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
สำหรับธนาคารจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการประจำสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 สมุห์บัญชีนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำใบถอนเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบฉันทะโดยถูกต้องแล้วมายื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงินสด โดยมิได้ยื่นหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่ให้นำเงินเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวัน การที่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 6 จ่ายเงินสดให้จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำตามหน้าที่ มิได้ประมาทเลินเล่อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินผลประโยชน์กองทุนฯ หักค่าชดเชยได้ ไม่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3)ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินผลประโยชน์กองทุนเมื่อออกจากงาน หักค่าชดเชยได้ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3) ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทน สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดกฎหมาย
ท.ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท.แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้ง จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำเลยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3 ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีก สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธ์ทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทนหลังประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ขัดกฎหมาย
ท. ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท. แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้งจำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสองกำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธิทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3
of 2