พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องเป็นบุตรของ ช. ส่วน ช. เป็นบุตรของผู้ตาย ช. จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของผู้ตายรวมทั้ง ช. เมื่อ ช. ก็ถึงแก่ความตาย สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่ ช. จึงเป็นมรดกของ ช. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วยถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทายาทจำกัดเฉพาะกองมรดก โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีกับทรัพย์สินส่วนตัวทายาท
โจทก์ฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. ผู้ตายให้รับผิดชำระค่าเสียหายจากการละเมิดของ พ. ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรกดของ พ. ความรับผิดของผู้ร้องตามคำฟ้องเป็นความรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ พ. มิใช่ในฐานะส่วนตัว แม้ผู้ร้องจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องมิใช่ทรัพย์สินในกองมรดกของ พ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอากับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทในกองมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้โดยตรง แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
กองมรดกของ ส. ที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของ ส. ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ซึ่งมิได้มีกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของ ส. โดยแท้ตามมาตรา 1600 จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. จึงต้องรับทั้งสิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ในกองมรดกของ ส. โดยผลของกฎหมาย อันเป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ส. จำต้องฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ สิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมเป็นคนละส่วนกับสิทธิและหน้าที่โดยส่วนตัวซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอยู่ก่อนถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฉะนั้น บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 จะนำมาบังคับใช้แก่หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งยังมิได้มีการแบ่งอันพึงมีต่อโจทก์มิได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งต้องรับผิดตามคำพิพากษาในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ช. เจ้ามรดกตกทอดได้แก่ทายาทซึ่งรวมทั้ง ม. มารดาผู้ร้องด้วย แต่ ม. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ช. ส่วนที่ตกได้แก่ ม. จึงเป็นมรดกของ ม. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของ ช. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9079/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดกของผู้สืบสิทธิจากทายาทโดยธรรม การขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องของผู้คัดค้านอ้างว่า อ. เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย อ. จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อ อ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ อ. ซึ่งตามกฎหมายย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งมีผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. รวมอยู่ด้วย ทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายยังมีทายาทลำดับอื่นก่อนผู้ร้องซึ่งยังมีชีวิตอยู่และผู้ร้องยังประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย สมควรถูกถอดออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหากเป็นจริงตามข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้สืบสิทธิของ อ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9079/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดกของผู้สืบสิทธิทายาทโดยธรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องของผู้คัดค้านอ้างว่า นาย อ. เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย นาย อ. จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อนาย อ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนาย อ. ซึ่งตามกฎหมายย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งมีผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย อ. รวมอยู่ด้วย ทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายยังมีทายาทลำดับอื่นก่อนผู้ร้องซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และผู้ร้องยังประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย สมควรถูกถอดออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากเป็นจริงตามข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้สืบสิทธิของนาย อ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก แม้เป็นคนล้มละลาย ไม่ขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้กองมรดก: การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทร้องขอ
เจ้าหนี้กองมรดกที่จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ต้องเป็นกรณีที่กองมรดกไม่มีทายาทและผู้จัดการมรดก เพราะหากไม่มีทายาทหรือผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดเจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้เลย แต่เมื่อกองมรดกมีทายาทร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้วก็มีตัวทายาทที่จะต้องรับผิดชำระหนี้จากกองมรดกให้แก่เจ้าหนี้ได้ ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงมีผู้รับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ไม่กระทบถึงส่วนได้เสียของผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของกองมรดกและการนับปีที่ถือครอง
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับโอนที่ดินสามแปลงมาจากนาย อ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ตาย โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายแล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาภายหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มานั้นออกไป เงินได้จากการขายที่ดินจึงไม่ใช่เงินที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข)
สำหรับจำนวนปีที่ถือครองนั้นต้องนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์จนถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 48(4) วรรคท้ายเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่
สำหรับจำนวนปีที่ถือครองนั้นต้องนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์จนถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 48(4) วรรคท้ายเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของผู้ค้ำประกัน การฟ้องข้ามอายุความทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏไว้กับโจทก์ สาขาบางขุนเทียน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2535 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ได้ทำหนังสือไปถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2538 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ขอให้ธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทของจำเลยที่ 1 ต่อไป แสดงให้เห็นว่า ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 ในขณะยื่นฟ้องคือวันที่ 11 ธันวาคม 2540 นั้น เป็นการวินิจฉัยผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 , 243 (3) ประกอบมาตรา 247 การที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 นับแต่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมภายในอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 694 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง