คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การกระทำละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์ การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 นำบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะ และการกระทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่มีการใช้งานก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติ
จำเลยที่1และต.สามีจำเลยที่1ผู้เป็นบิดาของจำเลยที่2และที่3ได้อุทิศที่ดินบางส่วนอันเป็นที่ดินของจำเลยที่1และของจำเลยที่2กับที่3ที่มีแนวเขตติดต่อกันให้ใช้ตัดถนนสายพิพาทถนนสายพิพาทตลอดสายได้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีที่จำเลยที่1และต.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่2และที่2แสดงเจตนาอุทิศให้แม้ทางราชการตัดถนนสายใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนสายพิพาททำให้ไม่มีประชาชนใช้ถนนเฉพาะส่วนที่เป็นที่พิพาทอีกหรือแม้ต.จะได้อุทิศที่พิพาทให้ตัดถนนสายพิพาทโดยมีเงื่อนไขต่อผู้มาเจรจาขอให้อุทิศส่วนที่เป็นที่พิพาทไว้ว่าหากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่แล้วให้ยกเลิกถนนสายพิพาทส่วนที่เป็นที่พิพาทเสียก็ตามก็หาทำให้ถนนสายพิพาทตลอดสายสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่ ถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้สูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ไม่แม้จำเลยจะได้ครอบครองถนนบริเวณที่เป็นที่พิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ตามก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาที่ดินส่วนที่เป็นที่พิพาทกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1306การที่จำเลยร่วมกันขุดไถ่ทำลายถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทรวมทั้งการร่วมกันนำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาไม้จำนวนหลายต้นไปปักลงในส่วนของถนนที่ถูกขุดไถทำลายและการที่จำเลยร่วมกันนำเสาไปปักติดป้ายบอกข้อความว่าถนนดังกล่าวเป็นทางส่วนบุคคลที่จำเลยสงวนสิทธิย่อมเป็นการทำให้สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในความครอบครองดูแลรักษาของกรุงเทพมหานครโจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากเพลิงไหม้: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ใช่ความเสียหายจากตัวทรัพย์
กรณีที่เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 นั้น จะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้นโดยตรง แม้กระแสไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพแต่ตามฟ้องโจทก์อ้างเหตุละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองไม่ตัดกระแสไฟฟ้าให้ไม่ปลอดภัยต่อการดับเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงลุกลามไหม้บ้านโจทก์ ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคล หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์คือกระแสไฟฟ้าไม่ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ว่าราชการจังหวัด: ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจฟ้องแทนส่วนกลางหากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 50,51,53 และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 310 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจแก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการ ในส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายด้วย ดังนั้นเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินสาธารณะ แม้ไม่ใช่เจ้าของ ผู้ครอบครองมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดทำให้สัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของสัญญาณไฟจราจรดังกล่าวโจทก์ก็ต้องจัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษาสัญญาณไฟจราจรที่ต้องเสียหายนั้นให้มีสภาพดีเช่นเดิม ตามหน้าที่ โจทก์จึงเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องคดีละเมิด: การบรรยายลักษณะการกระทำละเมิดและสถานที่เกิดเหตุไม่จำเป็นต้องละเอียด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 สำหรับรถยนต์คันเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชนถูกรถยนต์ที่โจทก์กับพวกโดยสารมาพลิกคว่ำที่ถนนบริเวณพุทธมณฑลตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และต้องขาดประโยชน์ทางทำมาหาได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามให้รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ได้ความชัดว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์โดยสารมา ณ สถานที่ใด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรทั้งจำเลยทั้งสามต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุใดเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว การที่ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ด้วยอาการอย่างไร ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายใดในบริเวณพุทธมณฑล นั้นไม่เป็นข้อสำคัญถึงขนาดจะทำให้จำเลยทั้งสามไม่เข้าใจข้อหาได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับ ก็ยังต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาใช้ บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดย การยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรส ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้อง เป็นไปตาม บทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอน ท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัว ของผู้กระทำโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะ ที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตาม นัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีถึงที่สุดแล้ว แม้มีการกระทำละเมิดต่อเนื่อง ก็ฟ้องไม่ได้ หากประเด็นสำคัญเหมือนเดิม
โจทก์เคยฟ้องคดีขับไล่จำเลยซึ่งในชั้นพิจารณาศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์แต่ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นที่ว่าจำเลยปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงพิพากษายกฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุด โจทก์จะมาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นการกล่าวอ้างในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ คดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังว่า จำเลยไม่ได้ปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์นั้น ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยยังคงกระทำละเมิดต่อโจทก์อยู่ตลอดเวลาและฟ้องเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่ เพราะประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในคดีก็คือ จำเลยปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับคดีที่ได้พิพากษาไปแล้วนั่นเองฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายของผู้เป็นนายต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ย่อมถือเป็นการยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวมาแต่ต้น แต่กลับตั้งตัวแทนมาเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ดุจจะเป็นการกระทำของลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าผู้ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับชนรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นลูกจ้างและปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามที่ได้แสดงออกมานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจการเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การเข้าใจผิดและอำนาจบริหาร
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคารอ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรง กัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่า ไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบ จนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ. แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
of 3