คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การกู้ยืม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7187/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลผูกพัน: การรับชำระดอกเบี้ยต่อเนื่องหลังเช็คปฏิเสธ ย่อมแสดงเจตนาไม่ผูกพันตามเช็ค
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งโดยโจทก์มอบหมายให้ จ. กระทำการแทนแต่ละครั้งจำเลยจะนำสัญญากู้มามอบให้ จ. และจำเลยจะนำเช็คมามอบให้เพื่อเป็นการชำระหนี้หลังจากวันทำสัญญากู้ แต่เช็คเหล่านั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หลังจากนั้นจำเลยขอกู้เพิ่มจึงมีการทำสัญญากันใหม่โดยในการกู้ยืมแต่ละครั้งมีการชำระดอกเบี้ยมาแล้ว โดยจำเลยก็นำเงินสดมาชำระดอกเบี้ยในวันที่นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้เช่นเดียวกับครั้งเช็คพิพาท ซึ่งหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแล้วจำเลยยังชำระดอกเบี้ยมาตลอด ดังนั้น การที่ จ. ไม่สนใจเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งได้ประพฤติเช่นนี้ตลอดมาหลายครั้งจนถึงเช็คพิพาทซึ่งหลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังยอมรับเงินค่าดอกเบี้ยจากจำเลยเรื่อยมา อีกทั้ง จ. ก็ทราบฐานะทางการเงินของจำเลยว่าขาดสภาพคล่อง และยังยอมรับเงินค่าดอกเบี้ยโดยไม่ดำเนินคดีกับผู้ออกเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก่อนหน้านี้ จำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้กับโจทก์ในลักษณะเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้ผูกพันกันตามเช็คพิพาท โดยโจทก์รับเช็คพิพาทไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจเงินทุนและข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 การประกอบธุรกิจเงินทุนต้องมีการจัดหาเงินทุนมา แต่โจทก์มิได้ประกอบธุรกิจในการจัดหาเงินทุนมาเพื่อนำออกให้ผู้อื่นกู้ยืม จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.การประกอบธรุกิจเงินทุนฯ มาตรา8 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน จึงมิใช่สถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2533 มาตรา 3แต่โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน และตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา 654 โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินและเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาที่ใช้ในการกู้ยืมเงิน การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมายแต่จำเลยไม่ทราบการฟ้อง
จำเลยที่ ๑ ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ ๒ ได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ แต่ขณะที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และหลักฐานทางทะเบียนบ้าน โดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่๖๕ ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกัน ทั้งที่จำเลยที่ ๑ ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ ๒ ได้ย้ายไปอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๖๕ นั้นแล้ว แต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ ๑ ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนา๒ แห่ง คือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริงส่วนจำเลยที่ ๒ ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ ๑ ด้วย ถือว่ามีภูมิลำเนาณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้าน ถือว่าจำเลยที่ ๒ มีภูมิลำเนา ๒ แห่ง คือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ ๑ และที่จำเลยที่ ๑ ประกอบกิจการแท้จริง
เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ ๓๔/๑ หมู่ที่ ๔ ตำลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่ ๓๔/๑ ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์ การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ ๓๔/๑ จึงเป็นการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว และจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ดังนี้ แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงิน ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากไม่มีข้อความระบุหนี้ชัดเจน
เอกสารที่มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ ๑ รับเงินไปจากโจทก์ จำนวนหนึ่ง แม้จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ตามก็ไม่อาจแปล ได้ว่าจำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้ ที่ซึ่งจำเลยที่ ๑ จะต้องชำระแก่โจทก์แต่ประการใด จึงไม่ใช่หลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4973/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม หากไม่มีเจตนาชัดเจนถึงหนี้สิน
เอกสารที่มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 รับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ตามก็ไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้ที่ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์แต่ประการใด จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบที่มาแห่งหนี้จากการซื้อขายรถยนต์เพื่อยืนยันการกู้ยืม และความรับผิดของผู้จำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินแล้วนำสืบว่าการยืมเงินมีมูลหนี้เดิมมาจากการซื้อขายรถยนต์ เป็นการสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้นั้นมีมูลมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อการยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เพียงแต่ขาดหลักฐานแห่งการกู้ยืม ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หนี้ดังกล่าวมีการจำนองเป็นประกัน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญายืมจึงย่อมบังคับเอากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองได้ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ว่า การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมของการยืมเป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม เริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม เจ้าหนี้มาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถามซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืน วงเงินขั้นต่ำ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54 (7)แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่าสามปีให้แก่ผู้ให้กู้ และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิต-ฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ หาได้บังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกันโดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากข้อความไม่แสดงเจตนาการกู้ยืม
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนาย นเรศ แซ่ทวยผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่ เล็ก ๑๕,๐๐๐ บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม หากเนื้อหาไม่ชัดเจนถึงการก่อหนี้
เอกสารท้ายฟ้องฉบับแรกมีข้อความว่า "โปรดมอบเงินจำนวน15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ให้กับนาย นเรศแซ่ทวยผู้ถือบัตรนี้มาด้วยครับ" และอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่า "ได้รับเงินจากพี่ เล็ก 15,000 บาท" ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้งสองฉบับไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการอ้างถึงการกู้ยืมเงินและดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
of 3