พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7517/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ หากมีข้อความระบุและมีลายมือชื่อผู้กู้
หนังสือสัญญาจำนองที่มีข้อความว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันเงินกู้ซึ่งผู้จำนองได้กู้ยืมเงินไปจากผู้รับจำนองและให้ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วยเมื่อสัญญาจำนองมีลายมือชื่อจำเลยจึงถือได้ว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญาซื้อขาย ศาลต้องบังคับตามนิติกรรมที่แท้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันแต่ทำหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์มอบให้โจทก์เป็นหลักฐานนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงินและตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา155 วรรคสอง แม้จะต้องถือว่าหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์ใช้บังคับเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน นิติกรรมซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง และย่อมถือว่าสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3418/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สัญญากู้ยืมเงินสำเนาเป็นหลักฐานฟ้องร้องได้เมื่อต้นฉบับไม่อยู่ในการครอบครองของผู้มีหน้าที่นำสืบ
สัญญากู้เงินได้ทำไว้ 2 ฉบับ โดยขณะทำสัญญาได้ใช้กระดาษก๊อปปี้คั่นกลาง ต้นฉบับอยู่ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ส่วนฉบับสำเนาอยู่ที่โจทก์ ดังนี้ สำเนาสัญญาไม่ใช่เอกสารปลอม เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยและนำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นแล้วว่าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ จึงรับฟังสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93(2) เท่ากับโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาฎีกา-การกู้ยืมเงิน: ศาลใช้ดุลยพินิจขยายเวลาได้หากมีเหตุผล & โจทก์มีสิทธิสืบที่มาเงินกู้
การที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้หรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล และโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายก่อนครบกำหนดยื่นฎีกาทั้งเหตุที่ขอขยายเวลานั้นก็เพราะว่าโจทก์ได้ย้ายที่ทำการแห่งใหม่และได้แต่งตั้งทนายโจทก์คนใหม่แล้ว ทนายโจทก์คนใหม่ได้แจ้งให้ศาลทราบด้วยว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ขอให้แจ้งไปที่ทำการแห่งใหม่ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของศาลได้ส่งหมายนัดไปยังทนายโจทก์คนเดิม โจทก์จึงไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จึงชอบแล้ว
การกู้ยืมเงิน แม้หนังสือสัญญากู้เงินจะมิได้ระบุว่าจำเลยกู้เงินไปจากใครก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุว่าจำเลยได้กู้เงินจำนวน๕๐๐,๐๐๐ บาท ไป โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ว่าจำเลยกู้เงินไปจากใคร.
การกู้ยืมเงิน แม้หนังสือสัญญากู้เงินจะมิได้ระบุว่าจำเลยกู้เงินไปจากใครก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุว่าจำเลยได้กู้เงินจำนวน๕๐๐,๐๐๐ บาท ไป โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ว่าจำเลยกู้เงินไปจากใคร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตธุรกิจเงินทุนและเครดิตฟองซิเอร์: การให้กู้ยืมเงินที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 4 หมายความว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินใน ระยะสั้นเป็นทางค้าปกติ คือให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันให้กู้ยืม จะมีหลักทรัพย์เป็นประกันโดยการจำนอง จำนำ หรือค้ำประกันด้วยบุคคลหรือไม่มีหลักประกันดังกล่าวเลยก็ได้ ส่วนกิจการเครดิตฟองซิเอร์นั้นหมายความว่า กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น แต่จำกัดว่าต้องมีหลักทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์มาจำนองเป็นประกันเงินกู้เท่านั้น จะเอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนำหรือเอาบุคคลเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้นั้นไม่ได้ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่1 ยังนำที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้อีกด้วย จึง เป็นการประกอบธุรกิจเงินทุนที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเช็คไม่ใช่การให้กู้ยืมเงิน การหักดอกเบี้ยล่วงหน้าจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
สัญญาแลกเช็คเป็นเงินสดหรือขายลดเช็คนั้นเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากการให้กู้ยืมเงินตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 การที่โจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า15 บาท จ่ายต้นเงินให้เพียง 85 บาท จึงมิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลในคดีมอบที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงิน – มาตรา 94 ป.วิ.แพ่ง
ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 ห้ามไม่ให้ฟังพยานบุคคลแต่เฉพาะในกรณีที่กฏหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดง อย่างเรื่องที่ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีในการกู้ยืมเงิน ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้จำเลยทำต่างดอกเบี้ยเงินกู้นั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามกฏหมายบทนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงโดยมีข้อตกลงการกู้ยืมเงินเป็นส่วนหนึ่ง สิทธิในการอยู่อาศัยย่อมมีผลผูกพันตราบเท่าที่สัญญายังมีผลบังคับใช้
ทำสัญญากู้เงินกัน ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เข้ามาทำการค้าขายในร้าน ซึ่งผู้กู้ได้เช่าอยู่ก่อนนั้นตลอดไป หรือจนกว่าผู้ให้กู้จะออกไปและเมื่อผู้ให้กู้ไปจากร้านนี้เมื่อใด ผู้กู้จะส่งเงินที่กู้ไปให้แก่ผู้ให้กู้ครบจำนวนที่กู้ทันที ดังนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตราบใดที่สัญญานี้ยังไม่เลิกและผู้ให้กู้ไม่ได้ทำผิดสัญญาแล้ว ผู้กู้ไม่มีเหตุอะไรจะฟ้องขับไล่ผู้ให้กู้ได้