พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายสินค้า, การประเมินภาษี, และอำนาจการลดเบี้ยปรับของเจ้าพนักงาน
โจทก์ได้รับการว่าจ้างให้ติดตั้งหางพ่วงกระบะดัมป์เข้ากับรถยนต์บรรทุกของผู้ว่าจ้างจำนวน 7 คัน ในเดือนเมษายน 2540 โจทก์อ้างว่าโจทก์ต่อหางพ่วงกระบะดังกล่าวตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างโดยใช้แบบของผู้ว่าจ้าง แต่ในวันที่เจ้าพนักงานไปตรวจสินค้าของโจทก์ยังมีหางพ่วงเก็บอยู่ในโกดังของโจทก์อีก 17 คัน โดยไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งว่าจ้างจากผู้ใด และแบบหางพ่วงดังกล่าวโจทก์ได้ขออนุญาตกรมการขนส่งทางบกไว้ตั้งแต่ปี 2532 แบบดังกล่าวจึงเป็นแบบของโจทก์เองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกมีไว้สำหรับผลิตรถพ่วงเพื่อขาย เมื่อเจ้าพนักงานตรวจพบว่าหางพ่วงกระบะขาดหายไปจากรายการสินค้าและวัตถุดิบของโจทก์จำนวน 7 คัน ถือได้ว่าเป็นการขาย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 77/1 (8) (จ) โจทก์จึงต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 78 (1)
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ข้อ 3 เป็นเรื่องของการลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (10) กำหนดไว้ชัดเจนให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ ซึ่งหมายความว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาว่าจะลดเบี้ยปรับให้ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่ลดเบี้ยปรับให้เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ถูกยกเลิกไป โดยอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งใหม่เป็นคำสั่งที่ ท.ป. 81/2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 คำสั่งใหม่ดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนในข้อ 3 ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีที่เห็นว่าบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่งดหรือลดเบี้ยปรับให้ โดยมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ข้อ 3 เป็นเรื่องของการลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (10) กำหนดไว้ชัดเจนให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ ซึ่งหมายความว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาว่าจะลดเบี้ยปรับให้ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่ลดเบี้ยปรับให้เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ถูกยกเลิกไป โดยอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งใหม่เป็นคำสั่งที่ ท.ป. 81/2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 คำสั่งใหม่ดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนในข้อ 3 ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีที่เห็นว่าบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่งดหรือลดเบี้ยปรับให้ โดยมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด 24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใดเมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติมและเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมาก ไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน จึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใดอันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78/3 (1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี ฉะนั้น เมื่อมีแนวปฏิบัติเป็นการภายในของเจ้าหนี้ที่อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งเดียวใน 1 วัน จึงเป็นธรรมและเหมาะสมแล้วแม้การมีมิเตอร์วัดปริมาณที่ท่อส่งน้ำเยื่อกระดาษและการขายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายเดียวจะมิใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่า สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน หรือมิใช่การขายสินค้าในลักษณะเดียวกับกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปา แต่เมื่อนำเหตุทั้งสองมาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความก็สามารถกำหนดจุดส่งมอบและชี้ให้เห็นข้อแตกต่างในเรื่องลักษณะของการขายสินค้าว่าจัดอยู่ในประเภทใดได้แน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
การขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้ลูกค้าโดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใด เมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติม และเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน ตามหนังสือตอบข้อหารือในสำนวน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมากไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวันจึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด อันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามมาตรา 78/3(1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินจากการขายสินค้าก่อนจดทะเบียนบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องทุกข์
ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท อ. ร่วมกันนั้น จำเลย โจทก์ร่วม กับพวก ได้ตกลงกันให้ดำเนินการในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. (ซึ่งเป็นห้างเดิมของจำเลย) และ บริษัท ศ. ไปพลางก่อน โดยให้จำเลยเปิดบัญชีในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมเบิกถอนเงินได้แต่เพียงผู้เดียว ขณะอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท ได้มีการจำหน่ายสินค้าในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไป แต่เช็คถึงกำหนดชำระหลังจากจดทะเบียนบริษัท เรียบร้อยแล้ว จำเลยนำเช็คเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยที่โจทก์ร่วมและผู้ถือหุ้นคนอื่นไม่ยินยอมโดยอ้างว่าเพื่อ ชดใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องมือแพทย์ของจำเลยที่นำมาลงทุนไว้ในบริษัท เมื่อพิจารณาตามข้อตกลง ที่ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟัง เมื่อเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ได้จากการขายสินค้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนบริษัท จึงเป็นของโจทก์ร่วม การที่จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเสียโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี "รายได้" จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ สำหรับการขายสินค้าไปเพียงใด ในราคาเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไป การที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้า และไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้า สำหรับบทบัญญัติตามมาตรา 79 ทวิ (6) ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ประกอบการค้า ตามประเภทการค้า 1 และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้า ขาดจากบัญชีคุมสินค้า หรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้น ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้า จะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น โดยอายุความไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย และโจทก์ได้จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะขายสินค้าตามเครื่องหมายการค้านั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดมาในประเทศไทย เป็นเหตุให้การขายของโจทก์ลดลง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ อายุความตามสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยมิให้จำหน่ายรวมทั้งห้ามสั่งหรือนำเข้าซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเส้นด้ายเพื่อใช้ในการผลิตถุงปูนซิเมนต์ถือเป็นการขายสินค้าตามกฎหมายภาษีอากร
บริษัทโจทก์สั่งซื้อเส้นด้ายใยประดิษฐ์เข้ามาจากต่างประเทศใช้เย็บถุงกระดาษบรรจุผงซิเมนต์ซึ่งโจทก์ผลิตบรรจุถุงขาย มิได้นำเส้นด้ายนี้ไปขาย ไม่เป็นการสั่งเส้นด้ายเข้ามาผลิตปูนซิเมนต์ ไม่ว่าโจทก์จะขายโดยคำนวณต้นทุนรวมถุงด้วยหรือไม่ โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าโดยถือการนำเข้าเป็นการขายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การพิจารณาผู้ประกอบการค้าและการขายสินค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็ก และสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็ก และสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีละเมิดจากการขายสินค้าให้ลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ แม้มีการบังคับคดีกับลูกหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ให้แก่ลูกค้าโดยรู้ว่าลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องลูกค้าจนศาลได้พิพากษาให้ลูกค้าชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น เห็นว่าตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนพิพาทจากลูกค้า โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้เสมอ การฟ้องจำเลยไม่จำเป็นต้องรอให้การบังคับคดีกับลูกค้านั้นเสร็จสิ้นเสียก่อน การที่โจทก์ฟ้องลูกค้าก่อนและบังคับคดีได้เท่าใด มีผลเพียงว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในส่วนนั้นจากจำเลยซ้ำอีกไม่ได้เท่านั้น
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดีโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดีโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817-1818/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าฟิล์มเพื่อเช่าฉาย ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้าทั้งในฐานะผู้นำเข้าและผู้ให้เช่า
การนำสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับ และให้ถือว่าผู้ที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือ ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรคสองวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือ ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรคสองวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)