พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์แพร่เสียงแพร่ภาพเพื่อการค้า โดยการติดตั้งอุปกรณ์และถ่ายทอดสัญญาณในอาคารพักอาศัย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ รับเสียงและภาพ ภาพยนตร์รายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วม แล้วแพร่หรือถ่ายทอดสัญญาณนั้นผ่านสายรับสัญญาณไปยังห้องพักที่จำเลยให้บริการ อันเป็นการจัดทำงานแพร่เสียงแพร่ภาพภาพยนตร์รายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาต และเมื่อจำเลยจัดทำเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักในอาคารที่พักของตนได้รับชมโดยผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าซึ่งรวมถึงบริการสัญญาณเสียงและภาพตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดเพื่อการค้า
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักของตนได้รับฟังและรับชมรายการโทรทัศน์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ซึ่งตราบใดที่จำเลยยังคงแพร่เสียงแพร่ภาพก็ยังเป็นการกระทำความผิดฐานนี้ การกระทำความผิดทั้งสองวันตามฟ้องจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่หลายกรรมต่างกันดังฟ้องไม่
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักของตนได้รับฟังและรับชมรายการโทรทัศน์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ซึ่งตราบใดที่จำเลยยังคงแพร่เสียงแพร่ภาพก็ยังเป็นการกระทำความผิดฐานนี้ การกระทำความผิดทั้งสองวันตามฟ้องจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่หลายกรรมต่างกันดังฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพเพื่อการค้า ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์ และอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เว้นแต่จำเลยจะโต้แย้งว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟัง เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่หากข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ปรากฏต่อศาลเองว่างานที่ฟ้องร้องกันนี้มิใช่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อให้ลงโทษทางอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยรับสัญญาณภาพและเสียงของโจทก์ร่วมที่ส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง จากนั้นใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับสายสัญญาณเคเบิ้ลเข้าเครื่องถอดรหัสสัญญาณไปพ่วงต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ของจำเลย แล้วขยายสัญญาณโทรทัศน์แยกและต่อสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพไปยังห้องเช่าต่าง ๆ ของผู้พักอาศัยในอาคารของจำเลย โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าห้องพักและค่าบริการจากผู้เช่าเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมทั้งสอง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการจัดทำงานแพร่ภาพแพร่เสียงอีกทอดหนึ่ง ซึ่งงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง
จำเลยรับสัญญาณภาพและเสียงของโจทก์ร่วมที่ส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง จากนั้นใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับสายสัญญาณเคเบิ้ลเข้าเครื่องถอดรหัสสัญญาณไปพ่วงต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ของจำเลย แล้วขยายสัญญาณโทรทัศน์แยกและต่อสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพไปยังห้องเช่าต่าง ๆ ของผู้พักอาศัยในอาคารของจำเลย โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าห้องพักและค่าบริการจากผู้เช่าเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมทั้งสอง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการจัดทำงานแพร่ภาพแพร่เสียงอีกทอดหนึ่ง ซึ่งงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4798/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา..." การที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินตามฟ้องแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเสน่หา แม้การให้โดยเสน่หาจะถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1 (4) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่การที่บุพการีให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร การให้โดยเสน่หาดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาตรา 91/2 แห่ง ป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องทางการค้า: ผลของการทดลองเดินเครื่องจักรและการอายัดชั่วคราว
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้าที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือจากผู้คัดค้าน โดยโจทก์ได้ยื่นคำแถลงว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2540 จำเลยได้ทดลองเดินเครื่องจักรให้ผู้คัดค้านตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้วและขอให้ศาลแจ้งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือตามหมายอายัดมายังศาล ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ดำเนินการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิตอาหาร ไม่ใช่รหัสการค้า
โจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่โดยนำวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปคือขนมปังเบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น แล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูปพนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย ฝ่ายขายไม่อาจปฏิบัติงานได้ถ้าไม่มีสินค้าสำเร็จรูปไปขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะที่กล่าวมากิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ออกจากกัน กับได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส่วนลดการค้าไม่ใช่ค่าจ้าง – ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และหักออกจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดให้ทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป ลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้ที่ได้รับจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384-6394/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีสหภาพแรงงาน และการกระทำความเสียหายทางการค้า
ในสถานประกอบกิจการของผู้ร้องมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ ที่ตกลงกันไม่ได้ มีการเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานและกรรมการสหภาพแรงงานหลายคนโดยไม่จ่ายค่าชดเชย รวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสิบเอ็ดก็อยู่ระหว่างถูกผู้ร้องขออนุญาตศาลเลิกจ้าง ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ผู้คัดค้านกับพวกจึงร่วมกันออกแถลงการณ์ส่งไปขอความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน แม้ข้อความบางตอนในคำแถลงการณ์จะกล่าวหาว่าผู้ร้องเข้าแทรกแซงการทำงานและต้องการล้มสหภาพแรงงานแอมพาส ฯ แต่ก็เป็นการกล่าวในฐานะที่ผู้คัดค้านเป็นผู้สังกัดอยู่ในสหภาพแรงงานดังกล่าว โดยผู้คัดค้านที่ 1 เป็นประธานสหภาพแรงงาน และกำลังถูกผู้ร้องดำเนินการขอเลิกจ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ร้องได้เลิกจ้างกรรมการสหภาพไปหลายคนแล้ว หากไม่มีกรรมการ สหภาพแรงงานก็อยู่ไม่ได้ ถือได้ว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นการกล่าวหรือแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทผู้ร้อง แต่ข้อความที่กล่าวพาดพิงถึงคุณภาพสินค้าที่ผู้ร้องผลิตว่าขาดคุณภาพ ขอให้สหภาพแรงงานอื่นตรวจสอบและช่วยกดดันผู้ร้อง เป็นเจตนาที่มุ่งหวังผลจะทำลายชื่อเสียงหรือเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้อง เพื่อเป็นข้อต่อรองกดดันให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้คัดค้าน เป็นการจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การรับฟังคำรับสารภาพ, การพิสูจน์องค์ประกอบความผิด, และการแก้ไขโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31และ 70 เท่ากับโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 70 วรรคสองอยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุวรรคของบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามวรรคในมาตรานั้น ๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าและการบังคับค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งการซื้อขายจึงมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การกระทำความผิด การปรับบทลงโทษ และขอบเขตการลงโทษที่เหมาะสม
บริษัทจำเลยที่ 1 มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และพร้อมที่จะคัดลอกหรือทำซ้ำติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้ในวันที่ ฟ.ไปสุ่มซื้อได้ทันทีแม้การกระทำของฟ. จะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่ก็ไม่เป็นการชักจูงใจหรือก่อให้ฝ่ายจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ขึ้นมา เพราะจำเลยมีเจตนากระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมาตรา 28(2)
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ฟ. ไป ซึ่งเป็นการให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า แต่คิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้แก่ ฟ. แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) ซึ่งเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ฟ. ไป ซึ่งเป็นการให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า แต่คิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้แก่ ฟ. แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) ซึ่งเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น