พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในหนี้จากการว่าจ้างช่วง แม้ไม่มีมอบหมายโดยตรง หากเป็นการค้าขายปกติของห้าง
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันประกอบกิจการรับจ้างถมดิน ทราย และลูกรัง โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบส่งมอบงานและรับค่าจ้างถมดินด้วยและหุ้นส่วนทุกคนจะรับผิดชอบในกิจการดังกล่าวจนแล้วเสร็จการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างช่วงให้โจทก์ถมดินในที่ดินบางส่วนซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้รับมอบหมายจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นโดยตรง แต่กิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้นก็เพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างทันตามสัญญา จึงอยู่ภายในกรอบแห่งวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายโดยตรงของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนอันถือได้ว่าเป็นการจัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในกิจการที่ว่าจ้างนั้น และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการประนอมหนี้แม้เคยลงมติยอมรับ และการล้มละลายจากการค้าขายโดยรู้ว่าไม่มีหนี้จ่าย
เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตามดังนั้นการที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ไว้ ต่อมาได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ ก่อนล้มละลาย จำเลยมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน และไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควรอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 74(2)(ข) ศาลสั่งให้ยกคำขอประนอมหนี้ได้ตามมาตรา 72 ประกอบมาตรา 73(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหนี้และการบังคับชำระหนี้ โดยไม่ใช้บังคับอายุความตามมาตรา 165(1) หากไม่ใช่การค้าขาย
เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213
โจทก์ประกอบการค้าปลาและสัตว์ทะเล มิได้ประกอบการค้าขายรถยนต์การที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ค่ารถยนต์จากจำเลยจึงมิใช่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) จะนำอายุความตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้
โจทก์ประกอบการค้าปลาและสัตว์ทะเล มิได้ประกอบการค้าขายรถยนต์การที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ค่ารถยนต์จากจำเลยจึงมิใช่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) จะนำอายุความตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขาย: การค้าขายเพื่ออุตสาหกรรม vs. การค้าขายต่อ
การที่จะถืออายุความห้าปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) ประกอบกับวรรคท้ายได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่เจ้าหนี้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของให้ลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้เอาของนั้นไปประกอบอุตสาหกรรม แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าซื้อของที่พ่อค้าขายเชื่อให้พ่อค้าอื่นไปขายอีกต่อหนึ่งแล้วไม่ใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ทำไปเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้ เพราะคำว่าอุตสาหกรรม นั้น หมายความถึงกิจการในทางผลิตสิ่งของเพื่อให้เป็นสินค้าขึ้น หามีความหมายไปถึงการค้าขายโดยตรงไม่ กรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเรื่องเงินตราและการหักล้างได้
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ว่าถ้ามีสตางค์เกิน 30 บาท ให้ถือว่าไว้เกินสมควรนั้น ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้.
พฤตติการณ์ที่ถือว่าผู้เข้าหุ้นทำการค้าขายกับพวกอีก 4 คนในระยะ 3-4 วันได้สตางค์มา 45 บาท 46 สตางค์ยังไม่ทันแบ่งกัน ไม่เป็นการเกินสมควร.
พฤตติการณ์ที่ถือว่าผู้เข้าหุ้นทำการค้าขายกับพวกอีก 4 คนในระยะ 3-4 วันได้สตางค์มา 45 บาท 46 สตางค์ยังไม่ทันแบ่งกัน ไม่เป็นการเกินสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเรื่องการมีเงินเกินสมควร สามารถหักล้างได้
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ว่าถ้ามีสตางค์เกิน 30 บาท ให้ถือว่ามีไว้เกินสมควรนั้น ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
พฤติการณ์ที่ถือว่าผู้เข้าหุ้นทำการค้าขายกับพวกอีก 4 คนในระยะ 3-4 วันได้สตางค์มา 45 บาท 46 สตางค์ยังไม่ทันแบ่งกัน ไม่เป็นการเกินสมควร
พฤติการณ์ที่ถือว่าผู้เข้าหุ้นทำการค้าขายกับพวกอีก 4 คนในระยะ 3-4 วันได้สตางค์มา 45 บาท 46 สตางค์ยังไม่ทันแบ่งกัน ไม่เป็นการเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายของเชื่อ: กิจการอุตสาหกรรมไม่ใช่การค้าขาย ใช้ 2 ปี
ซื้อของเชื่อเอาไปขายมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับจ้างฆ่าผู้อื่นโดยมีเหตุจากความแค้นเคืองในการค้าขาย ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 250
รับจ้างฆ่าเขาโดยรู้ว่าผู้จ้างมีเหตุพยาบาท ผู้รับจ้างมีผิดตาม ม.250 ข้อ 3
คำรับขั้นไต่สวนฟังลงโทษจำเลยได้
คำรับขั้นไต่สวนฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการรบกวนการค้าขาย: ความเดือดร้อนจากการสั่นสะเทือนต้องพิจารณาบริบทสภาพแวดล้อม
ละเมิด นิวแซนซ์ทำเลการค้าขายที่มีโรงเลื่อยโรงสีเบียดเสียด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14410/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญ - ความรับผิดร่วมกันในหนี้สิน - การค้าขายปกติ
จำเลยร่วมและจำเลยทั้งสองตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการจำหน่ายสินค้าที่ซื้อจากโจทก์ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรระหว่างกัน จึงเข้าลักษณะสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 แล้ว หาจำต้องทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองไม่ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์เป็นการดำเนินการในฐานะหุ้นส่วน อันเป็นไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ดังนั้น จำเลยร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1050