คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การจัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิของเจ้าของร่วมและการดำเนินการหากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ตั้งอยู่บนชั้นที่ 6 ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุดฯ หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของห้องชุดดังกล่าวต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: สิทธิเจ้าของร่วมและการดำเนินการตามกฎหมาย
ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเป็นทรัพย์สินซึ่งเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน การจัดการทรัพย์ส่วนกลางต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 17, 33, 35, 36 และ 37 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจจัดการและดูแลรักษาห้องน้ำชายและหญิงซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ได้ปิดกั้นประตูห้องน้ำไม่ให้โจทก์และเจ้าของห้องชุดคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมใช้ประโยชน์ หากเป็นการจัดการทรัพย์ส่วนกลางที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับ โจทก์และเจ้าของห้องชุดต้องดำเนินการแก่จำเลยทางมติที่ประชุมของเจ้าของห้องชุดหรือทางคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการล้มละลายต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3 จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้
โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลาย โดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิของผู้จัดการมรดก & การแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้แบ่งที่ดินมรดกของบิดาให้ทายาททุกคน ซึ่งรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรรคแรก เมื่อผู้ร้องได้ขายที่ดินมรดกที่ได้รับแบ่งให้ไปแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีก แม้ต่อมาผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของบิดาก็ไม่มีสิทธิจัดการมรดกดังนั้น เมื่อผู้ร้องจะใช้อำนาจผู้จัดการมรดกมาเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกระทบกระเทือนสิทธิของผู้คัดค้านและทายาทอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนอยู่ มีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
แม้มีการแบ่งปันที่ดินมรดกโดยผู้คัดค้านและทายาทอื่นเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วก็ตาม แต่ที่ดินมรดกรายนี้เป็นที่ดินมี น.ส.3 และยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยก ทั้งเคยมีการไปขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียน แต่ได้รับการปฏิเสธที่จะดำเนินการแบ่งแยกทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ขอแบ่งแยกทางทะเบียน กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือแบ่งปันมรดกที่ดินของผู้ตายมีเหตุขัดข้อง ทั้งผู้คัดค้านมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการบริษัทโดยผู้ถือหุ้นและกรรมการ: ความชอบธรรมในการดำเนินการ
เดิมบริษัท ต.มี บ.เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก ป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัท ย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่าย บ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัท ต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่า ป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาท และกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัท ต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัท ต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การรอให้กรรมการที่ชอบดำเนินการแทนก่อน
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย.ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8 และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ต้องรอให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบเข้ามาดำเนินคดีเพื่อเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8มาเป็น ย. เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย. ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรส: อำนาจสามีจำนองสินสมรสก่อนสัญญาก่อนสมรส และสิทธิการกันส่วน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิมก่อนแก้ไขให้อำนาจสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวเว้นแต่ในสัญญาก่อนสมรสจะได้กำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การที่จำเลยจำนองที่ดินสินสมรสกับโจทก์ขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิมมีผลใช้บังคับอยู่จึงมีผลผูกพันที่ดินที่จำนองทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน และกรณีนี้เป็นเรื่องการจัดการสินบริคณห์ มิใช่เรื่องการชำระหนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าเป็นหนี้ร่วมที่จะต้องใช้จากสินบริคณห์และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายหุ้น: การที่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์การจัดการซื้อหุ้นและออกเงินทดรอง ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยและออกเงินทดรองแทนจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้นแม้จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ ก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดหุ้นส่วน: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้จากการจ้างงาน แม้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการ
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
of 3