คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ผู้ขายมิได้เป็นผู้ก่อสร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าต้องพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี การยึดทรัพย์จากการกระทำของผู้ให้เช่าไม่ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุด
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28ปี แสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การตีความผลของการจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง และขอบเขตของสิทธิประโยชน์เดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้งซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้วให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่าจำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือนส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือนหลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การรื้อถอนส่วนต่อเติมและการใช้ทางภาระจำยอม
โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่รื้อส่วนที่เป็นหลังคาซึ่งอยู่เหนือเสาโรงรถออกไป จึงขอไม่วางเงินที่จะต้องชำระแก่จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หลังคาโรงรถไม่มีในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จะอ้างเป็นเหตุไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยไม่รื้อและปล่อยให้ชายคาและหลังคายื่นล้ำคร่อมทางภาระจำยอมที่จำเลยตกลงยอมให้โจทก์ใช้เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาตามยอม แต่เป็นการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: การตีความสัญญา การสร้างอาคารไม่ครบตามสัญญา และสิทธิของผู้เช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าจำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า "หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้าอย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปี ตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบ อย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที"ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ขอบเขตความรับผิดจำกัดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่การงาน หากมิได้ระบุขยายขอบเขตชัดแจ้ง
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้างเมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1978/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายหุ้น: สิทธิในเงินปันผลที่ยังมิได้ปันผลอาจรวมอยู่ในราคาขายได้
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1978/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายหุ้น: การรวมถึงเงินปันผลที่ยังมิได้ปัน การนำสืบข้อตกลงที่เข้าใจกัน
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายแร่: การตีความสัญญา, เหตุสุดวิสัย, และฐานตัวแทนที่มิได้เปิดเผย
การที่จำเลยทำสัญญาขายแร่ในนามของตนเอง ในสัญญามิได้ระบุว่าทำแทนใคร แม้จะมีตัวการ ๆ ก็ไม่เคยแสดงต่อผู้ซื้อมาก่อนว่าจำเลยทำแทน ดังนี้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา ตัวการหาอาจทำให้เสื่อมสิทธิของผู้ซื้อที่มีต่อจำเลย ฐานจำเลยผิดสัญญาได้ไม่
เมื่อข้อความในสัญญามิได้ระบุว่า จำเลยทำแทนผู้ใด ที่จำเลยนำสืบว่าทำในฐานะตัวแทน จึงต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94
ข้อสัญญาที่ว่า ค่าส่งจากสถานีโกดังผู้ซื้อ ผู้ขายต้องเสียเองนั้น หมายถึงว่า ผู้ขายต้องส่งมอบถึงโกดังผู้ซื้อ ไม่หมายเลยไปถึงว่า ผู้ขายจะต้องไปเอาแร่จากที่ใดที่หนึ่งมาส่ง ผู้ขายจึงอ้างเหตุสุดวิสัยว่าไม่สามารถขนส่งแร่จากที่หนึ่งมาแก้ตัวไม่ได้
การซื้อขายแร่แม้ผู้ซื้อขายไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติความผิดอยู่ที่ไม่ขออนุญาตกฎหมายมิได้ห้ามการซื้อขายแร่ทั้งสัญญาได้ทำในจังหวัดที่ยังมิได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.การทำเหมืองแร่ ฯ 2474 สัญญานั้นไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบตามคำสั่งศาล & การตีความสัญญาซื้อขาย: ข้อโต้แย้งการแก้ไขสัญญาไม่ใช่การแก้ไขเอกสาร
คู่ความโต้แย้งกันในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ในรายงานพิจารณาของศาล แต่เมื่อศาลสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนแล้ว โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลประการใดนั้น เป็นคำโต้แย้งระหว่างคู่ความ ไม่ใช่โต้แย้งคำสั่งศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
สัญญาซื้อขายโรงเลื่อยซึ่งมีบัญชีสิ่งของแนบท้ายสัญญาและในตอนท้ายบัญชีมีข้อความว่า 'เครื่องอะไหล่ที่ไม่แจ้งในบัญชีมีเล็กน้อยเมื่อรับโอนแล้วยังมีเหลือเท่าใดผู้ขายจะมอบให้' ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าสิ่งของตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเครื่องอะไหล่เล็กน้อยตามข้อความในตอนท้ายบัญชีนั้นเป็นเรื่องสืบอธิบายข้อความในสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องสืบแก้ไขเอกสาร
of 2