พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุสุดวิสัยในการขอขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้นต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์นั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือนกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา มิใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน มิได้กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระหนี้ตามหนังสือแจ้งหนี้ และผลของการผิดนัดชำระ
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม2535 และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 แห่งป.พ.พ.ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระค่าปรับตามหนังสือแจ้งหนี้ การเริ่มนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้นโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่30พฤศจิกายน2535ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/1การนับระยะเวลา15วันในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา193/3วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใดจึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่30พฤศจิกายน2535นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยการนับระยะเวลา15วันตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1ธันวาคม2535และครบกำหนด15วันในวันที่15ธันวาคม2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน15ธันวาคม2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตั้งแต่วันที่16ธันวาคม2535เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การแจ้งคำสั่งและการนับระยะเวลาที่ถูกต้อง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่2เมื่อวันที่18กรกฎาคม2538หลังจากวันที่17กรกฎาคม2538อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก7วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่19กรกฎาคม2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบและตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่21กรกฎาคม2538อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้วจำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่21กรกฎาคม2538ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่28กรกฎาคม2538เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25กรกฎาคม2538จึงยังไม่พ้นกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาขอพิจารณาคดีใหม่: นับจากวันศาลยกฟ้อง ไม่ใช่วันที่ทราบคำสั่ง
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 นั้น โจทก์จะต้องร้องขอภายใน 15 วันนับแต่วันศาลยกฟ้อง มิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่ง ปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 12ตุลาคม 2537 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์อ้างในคำร้องว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จดวันนัดผิดและแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบก็ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ระยะเวลาการครอบครองนับจากผู้ครอบครอง ไม่ใช่เจ้าของเดิม
ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. เจ้าของโฉนดเดิมตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วและผู้ขายได้มอบที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมาเมื่อผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่าสิบปีผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ถือเอาระยะเวลาครอบครองของผู้ครอบครองเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาการยื่นคำขอพิจารณาใหม่หลังได้รับคำบังคับ: นับจากวันที่บังคับมีผล ไม่รวมระยะเวลาปฏิบัติตามคำบังคับ
การร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่คำบังคับมีผล มิใช่รวมระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับ 30 วันเข้าไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำกัด และการนับวันหยุดตามกฎหมาย
ส. เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จำเลยที่ 1 และออกจากการเป็นหุ้นส่วนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2526ความรับผิดของ ส. อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ ส. ออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน คือวันที่ 27 เมษายน 2528ซึ่งตรงกับวันเสาร์และในวันรุ่งขึ้น 28 ก็ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการตามประเพณี เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันจันทร์ที่29 เมษายน 2528 จึงถือได้ว่า ยังอยู่ภายในระยะเวลาสองปีอันเป็นเงื่อนเวลาตามกฎหมายที่ ส. ยังมีความผูกพันเกี่ยวกับหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 ที่ ส. จะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับนักเรียนนายร้อยสำรองที่อายุเกินเกณฑ์
โจทก์เป็นนักเรียนนายร้อยสำรองเมื่ออายุเกินกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ พ้นระยะเวลาการเป็นนักเรียนทหารที่ต้องขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ แล้ว จึงมีฐานะเป็นนักเรียนทหาร มิใช่ทหารประจำการหรือนายทหาร สัญญาบัตรประจำการ ทั้งโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนจากทางราชการ จึงไม่มีสิทธินับเวลาราชการระหว่างที่เป็นนักเรียนนายร้อยสำรองสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้