พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7887/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็ค การบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท 7 ฉบับ ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่มีอยู่จริง ที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าประเภทเครื่องสำอาง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าประเภทเครื่องสำอางอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้แนบเอกสารที่แสดงถึงมูลหนี้มาท้ายฟ้องด้วยก็ตาม เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำเลยหลอกลวง ส. ผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงอันควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยประสงค์จะขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 119511 ให้ผู้เสียหายโดยมีเงื่อนไขว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด" ย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องระบุหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องที่ขัดแย้งทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์ หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานเบียดบังทรัพย์สิน: เพียงระบุหน้าที่, การกระทำ, และผลของการกระทำ ก็เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ หน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาที่เกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท พ.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้า และจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวัน แล้วเบียดบังเงินที่จำหน่าย สินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว ยังได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุด้วย คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไรด้วยวิธีการใดมาด้วย ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งไล่ออก: การบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิที่เพียงพอ
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดย ไม่มีเหตุอันสมควรเมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลจังหวัดอ่างทอง พิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่ง ที่ 99/2534 ให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์ มีกำหนด 60 วัน อันเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการ มึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยมีคำสั่ง ที่ 983/2534 ไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวระบุว่า เป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่ เสพสุรามึนเมาอาละวาด ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวจึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกการกระทำความผิดผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลต้องลงโทษตามองค์ประกอบความผิดที่บรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก. ข. ค.ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสอง ร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5 จำนวน 1 หลอด และบรรจุหลอดกาแฟ4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองของ จำเลยทั้งสองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้ รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย ดังนี้แม้ฟ้องข้อ 1 ข.จะระบุว่าจำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก.ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าวโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายอันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสองดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกทหารกองเกินและการฟ้องคดีอาญา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการออกหมายเรียกและรับทราบ
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินที่งอกริมตลิ่งและการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งในที่ดินของตน เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จำเลยได้คัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย หากนำที่ดินที่จำเลยคัดค้านนั้นไปให้ผู้อื่นเช่า โจทก์จะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3,000บาท กับมีคำขอบังคับ 2 ประการ คือ ให้ขับไล่จำเลยกับบริวารและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท ตามฟ้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ในการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินแล้วและตามคำคัดค้านกับบันทึกถ้อยคำของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องก็ระบุชัดว่า จำเลยได้ครอบครองที่ดินที่งอกริมตลิ่งมานาน 4 ปี แล้ว ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่งอกริมตลิ่งว่าเป็นของฝ่ายใดเพียงใด ข้อหาตามฟ้องเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว