พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของศาลให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงชอบแล้ว
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของศาลให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับบริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและหลักการบริวาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท และขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลย ไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวาร และทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลา ที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่า ไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนด เวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้อง และเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การปิดประกาศกฎหมายป่าไม้เพื่อใช้บังคับ จำเป็นต้องมีการนำสืบหลักฐานการปิดประกาศ ณ สถานที่ที่กฎหมายกำหนด
ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และเรื่องกำหนดเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้หวงห้าม มิใช่กฎหมาย โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่า ได้ปิดสำเนาประกาศตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่งพ.ร.บ. ป่าไม้ฯ แล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะยกขึ้นต่อสู้หรือไม่ก็ตามเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความเช่นนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถกระบะส่วนบุคคลกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่ โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใด จึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัมรถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 126.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: ความชอบธรรมของบทลงโทษและการบังคับใช้ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรม จึงได้กำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นกรณีพิเศษดังนั้นการที่มาตรา 87 ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้กระทำผิดจึงไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522 บัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้กระทำผิดมีกำหนดห้าปี เป็นบทบังคับเด็ดขาดไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจลดน้อยลงได้ ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้น้อยกว่ากำหนดห้าปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการฟ้องของสหภาพแรงงาน และการบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีกับบริษัทเอกชน
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นเพียง กำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตรา อื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพ แรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน) เหนือกฎหมายทั่วไป (ประมวลกฎหมายอาญา) ในคดีบุกรุกศาลเจ้า
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นตั้งอยู่ในที่ดินของกระทรวงมหาดไทย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ทางพิจารณาได้ความว่าศาลาโรงธรรมบ้านขมิ้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าไว้แล้ว จึงต้องบังคับตามเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาอันเป็นกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับภายหลังและมิได้บัญญัติยกเลิกกฎเสนาบดีดังกล่าวหาได้ไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว เป็นการอ้างกฎหมายผิดเป็นคนละเรื่อง มิใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ 22 มิได้ เพราะขัดต่อมาตรา 192 วรรคแรก จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ระเบียบภายในของ รฟท. และสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสืบสวนลับ
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบในการวางแผนงานและหลักเกณฑ์ใช้จ่ายเงินงบประมาณในการสืบสวนลับใหม่ ถือได้ว่าเป็นระเบียบที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้วางไว้ตั้งแต่มีมติดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ถือว่าเป็นระเบียบอีก และตามมตินี้มิใช่เป็นเรื่องคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยวางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานที่จะให้ผู้ว่าการรถไฟทำอันเกี่ยวกับนิติกรรมแต่เป็นระเบียบที่วางไว้เป็นการภายในให้โจทก์ในฐานะผู้บังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องหารือกับผู้ว่าการรถไฟก่อนถ้าจะทำตามแผนสืบสวนของกองตำรวจรถไฟ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา25(4) แห่ง พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ที่จะต้องให้รัฐมนตรีประกาศข้อบังคับนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้ทราบระเบียบนี้แล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบใหม่เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าสืบสวนลับไปโดยผิดหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบใหม่ ย่อมเป็นการนอกเหนือหน้าที่อันโจทก์จะพึงปฏิบัติโจทก์จึงไม่มีสิทธิเบิกจ่ายเงินค่าสืบสวนลับดังกล่าวได้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้ทราบระเบียบนี้แล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบใหม่เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าสืบสวนลับไปโดยผิดหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบใหม่ ย่อมเป็นการนอกเหนือหน้าที่อันโจทก์จะพึงปฏิบัติโจทก์จึงไม่มีสิทธิเบิกจ่ายเงินค่าสืบสวนลับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ใบมอบอำนาจ: เหตุสงสัยและสิทธิในการต่อสู้คดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ศาลจะบังคับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับใบมอบอำนาจปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม เฉพาะแต่เมื่อมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงฉะนั้นเมื่อศาลมิได้สงสัย.และจำเลยมิได้ให้การต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยก็ไม่จำต้องสั่งให้มีการปฏิบัติดังกล่าว