คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การปฏิบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายและผลของการรับชำระค่างวดเกินกำหนด แม้มีข้อตกลงยกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามข้อกำหนดแห่งสัญญากำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่างวดตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญายกเลิกทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว แต่จำเลยชำระค่างวดรวม 24 งวด เกินกำหนดระยะเวลาและเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาเกือบทุกงวด โจทก์ก็รับไว้ทุกงวด ไม่เคยปฏิเสธการชำระค่างวดทุกงวดที่เกินกำหนดแม้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยภายหลังที่จำเลยชำระค่างวดไป 22 งวด แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำเงินค่างวดงวดที่ 23 และ 24 ไปชำระให้แก่โจทก์ หลังจากโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยเพียง 1 สัปดาห์ โจทก์ก็รับไว้โดยไม่อิดเอื้อน ย่อมแสดงว่า ในทางปฏิบัติต่อกันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงจะนำเหตุแห่งข้อกำหนดในสัญญามาเป็นข้ออ้างสัญญาเลิกต่อกันทันทีเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามิได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 โดยหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรและบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่างวดสุดท้ายภายในระยะเวลานั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติโดยไม่มีเหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธ โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ประมูลเพียงคนเดียว และการปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้ประกาศขายทอดตลาดให้ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว ทั้งได้แจ้งส่งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยทราบและจำเลยได้มาดูแลขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยด้วยการที่มีโจทก์เข้าประมูลสู้ราคาเพียงคนเดียว ก็มิทำให้การขายทอดตลาดครั้งนี้เสียไป
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แสดงอาการเคาะไม้เมื่อตกลงขายทรัพย์ให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยที่มาดูแลการขายก็รู้ว่าได้มีการตกลงขายทรัพย์ให้แก่โจทก์แล้วและจำเลยก็มิได้คัดค้านขณะนั้น แม้แท่งไม้ที่ใช้เคาะเป็นไม้เล็ก ๆ มิได้เกิดเสียงดังมากให้ได้ยินกันทั่วห้องที่ทำการขายทอดตลาดเช่นที่จำเลยฎีกาก็ตาม ก็ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้ทอดตลาดได้ปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 509 แล้ว
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯ ข้อ 81 กำหนดให้เจ้าพนักงานผู้ขายปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาด ก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่สนใจ จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ทราบว่าสถานที่แห่งนั้นมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินกันเท่านั้น เมื่อผู้สนใจที่จะเข้าประมูลสู้ราคารู้สถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาดดีแล้ว แม้การขายทอดตลาดนั้นผู้ทอดตลาดมิได้ปักธงสัญลักษณ์การขายทอดตลาดก็มิได้หมายความว่า จะทำให้การขายทอดตลาดนั้นต้องเสียไปแต่อย่างใด เพราะระเบียบของกระทรวงยุติธรรม ดังกล่าวมิใช่กฎหมาย ดังนั้น แม้ธงสัญลักษณ์การขายทอดตลาดจะปัก อยู่ ที่หน้าห้องสมุดของศาลซึ่งเป็นคนละอาคารกับสำนักงานบังคับคดี ที่ทำการขายทอดตลาดก็ตามแต่อาคารทั้งสองแห่งก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน ทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ได้ความว่าการที่ไม่มีธงสัญลักษณ์ปักอยู่ที่ สำนักงานบังคับคดีที่ทำการขายทอดตลาดนั้นเกิดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี มีเจตนาทุจริตอย่างไร การอ้างเพียงไม่มีธงสัญลักษณ์ปักไว้ที่ทำการ ขายทอดตลาดเท่านั้น ไม่พอที่จะฟังว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำส่งสำเนาอุทธรณ์: การปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการเสียค่าธรรมเนียมเพียงพอต่อการนำส่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของผู้ร้องว่าส่งให้โจทก์หากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้นั้นจะถือว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่กรณีเช่นนี้เพียงแต่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ก็ถือว่าผู้ร้องได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านและการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499
ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ได้ เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 ใช้บังคับอยู่ ยังไม่ถึงวันที่พระราช-บัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499เป็นเกณฑ์
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 96/1 มาตั้งแต่ปี 2527 แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้น นับถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันย้ายออก เมื่อขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่ 96/1 อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/1 ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ของจำเลยที่ 1 ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และการปฏิบัติต่อบุตร
ผู้ตายพามารดาผู้คัดค้านที่ 3 ไปคลอดที่โรงพยาบาลกับแจ้งว่าเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 ออกค่าใช้จ่ายการคลอด และรับกลับจากโรงพยาบาล ส่งเสียให้เงินค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนตลอดมา ทั้งยังพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปสมัครงานโดยใบสมัครงานระบุว่าผู้ตายเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 นอกจากนี้ผู้ตายยังเคยพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปเที่ยวเป็นประจำ พฤติการณ์ที่ผู้ตายปฏิบัติต่อผู้คัดค้านที่ 3 เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ตายได้รับรองว่าผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตรของตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะคำสั่งตรงๆ การปฏิบัติเปลี่ยนไปถือเป็นการเลิกจ้างได้
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่จำกัดรูปแบบคำสั่ง การปฏิบัติเสมือนบุคคลภายนอกถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้นไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยด้วยวาจาและการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้จะต้องยื่นใบลาต่อนายจ้าง แต่ในทางปฏิบัติกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเจ็บป่วยหรือไม่มาทำงาน โจทก์เพียงแต่ขอลาด้วยวาขาต่อหัวหน้างานและจัดหาคนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้โดยไม่ต้องยื่นใบลาซึ่งโจทก์ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมาโดยนายจ้างไม่เคยถือเป็นความผิด ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มา ทำงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันแต่ได้ลางานด้วยวิธีดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่และการผูกพันตามการปฏิบัติจริงในการซื้อขาย
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหา ข้ออ้างที่มีต่อจำเลยคือตัวบุคคลที่จะต้อง ระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 55,67 โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิม ประกอบด้วยมาตราบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ซ. เข้ามาเป็นจำเลยในภายหลังจึงเท่ากับเป็นการฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยเพิ่มเข้ามาในคดีอีกคนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์ vs. เช่าที่จอดรถ: ศาลฎีกาชี้ขาดตามการปฏิบัติจริง แม้มีเอกสารระบุเป็นค่าเช่า
นำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมัน โดยมอบกุญแจรถแก่ลูกจ้างเจ้าของปั๊ม จอดไม่ประจำที่ แม้จะมีประกาศปิดไว้ที่ปั๊มและในใบเสร็จระบุว่าเป็นเรื่องให้เช่าและค่าเช่าสถานที่จอดรถ ก็ไม่หักล้างการปฏิบัติซึ่งเป็นการฝากทรัพย์
of 2