พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445-5565/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานอยู่ขณะทำข้อตกลง โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง
ธนาคารจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้โจทก์โดยพิจารณาจากการที่โจทก์เป็นลูกจ้างอยู่จนถึงวันสิ้นงวดบัญชีและผลการปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชาประเมินเท่านั้น แม้จำเลยจะกำหนดอัตราการจ่ายโบนัสไว้โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนของโจทก์เป็นจำนวนแน่นอนแต่ก็มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของวันทำงานทั้งข้อตกลงระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงาน ธ. ระบุว่า เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพนักงานจำเลยตกลงให้โบนัสพิเศษแก่พนักงานจึงเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานให้ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงไม่ใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 5
โจทก์เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยอยู่ในวันสิ้นเดือนมิถุนายน2541 และผลการปฏิบัติงานผ่านการประเมินของผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมมีสิทธิได้รับโบนัสงวดแรกของปี 2541 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันสิ้นเดือนมิถุนายน 2541 มิใช่เกิดขึ้นในวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ธ. ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่ภายหลังจากที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับโบนัสตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่จะมีผลผูกพันลูกจ้าง ต้องเป็นข้อตกลงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 19 วรรคสอง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมผูกพันเฉพาะลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้างในขณะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ลาออกก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงานธ. จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่ ขณะสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงไปตามข้อตกลงใหม่โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยและมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานธ. แล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่จึงไม่ผูกพันโจทก์
โจทก์เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยอยู่ในวันสิ้นเดือนมิถุนายน2541 และผลการปฏิบัติงานผ่านการประเมินของผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับเดิมมีสิทธิได้รับโบนัสงวดแรกของปี 2541 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันสิ้นเดือนมิถุนายน 2541 มิใช่เกิดขึ้นในวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ธ. ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่ภายหลังจากที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับโบนัสตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่จะมีผลผูกพันลูกจ้าง ต้องเป็นข้อตกลงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 19 วรรคสอง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมผูกพันเฉพาะลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้างในขณะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ลาออกก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงานธ. จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่ ขณะสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงไปตามข้อตกลงใหม่โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยและมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานธ. แล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่จึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการและการผูกพันบริษัทต่อเช็ค แม้การลงนามไม่ถูกต้อง
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท ค. กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่าจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ว.หรือ ส. และประทับตราของบริษัท หรือว.ลงชื่อร่วมกับ ท. และประทับตราบริษัท และที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่ อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1167 เมื่อ อ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัท ค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าว และโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัท ค.กู้เงินไปลงทุน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของ อ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัท ค. ทั้งบริษัท ค.ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาทจึงตกอยู่แก่บริษัท ค. มิใช่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นของทายาทตามคำพิพากษา
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อน มีประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเดียวกันว่า ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์นั้นโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และต้องโอนกรรมสิทธิ์คืนผ. หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด คดีถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทไว้แทน ผ. และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นทายาทของผ.เมื่อการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผ. และทายาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ คดีได้ความว่าโจทก์มิใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมก่อนทำสัญญา แต่หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
จำเลยที่2ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทนพ. และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้างและในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยอ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตามแต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่2ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่1ไปจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่2โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าพ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไปหรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้นหาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ดังนี้เมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่2รับประกันภัยไว้หรือไม่และจำเลยที่2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่1จำนวน30,000บาทแก่โจทก์ที่2จำนวน50,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่1และที่2แต่ละคนจึงไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน25,000บาทอัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ5นั้นการกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องหาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลยเมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่1จำนวน40,000บาทและโจทก์ที่2จำนวน521,700บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน25,000บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดแต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกแถวและการผูกพันตามสัญญาเช่าของผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด
หนังสือสัญญาเช่า หนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่า และผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น (ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน 8 คูหา พร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 6 เมตร ความยาวประมาณ 30 เมตร และตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่า ปลูกอยู่ในที่ดินของ ศ. และ ล.โฉนดที่ 1593 ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่ จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 71 (1) แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตาม แต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่า ผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้ว การที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่ การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วย ป. ที่ดิน มาตรา 71 (2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย
ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้ และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดย ศ.และ ล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.จริงเช่นนี้ ก็ย่อมฟังได้ว่า ศ.และ ล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ ย.จริง ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการ เช่น ขาย จำนอง จำนำ ฯลฯ รวมทั้งให้เช่าด้วย ย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า ย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อฟังได้ว่า ย.ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือ ศ.และ ล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น ๆ อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
ศ.และ ล.ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาท ทั้งเมื่อ ศ.และ ล. กับ ย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาด ซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี 2522 มีกำหนด 30 ปี ล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกผันตามสัญญาเช่าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ล.ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง ซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว การที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่าง ๆ มาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้ และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดย ศ.และ ล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.จริงเช่นนี้ ก็ย่อมฟังได้ว่า ศ.และ ล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ ย.จริง ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการ เช่น ขาย จำนอง จำนำ ฯลฯ รวมทั้งให้เช่าด้วย ย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า ย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อฟังได้ว่า ย.ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือ ศ.และ ล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น ๆ อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
ศ.และ ล.ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาท ทั้งเมื่อ ศ.และ ล. กับ ย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาด ซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี 2522 มีกำหนด 30 ปี ล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกผันตามสัญญาเช่าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ล.ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง ซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว การที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่าง ๆ มาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวจึงไม่มีอำนาจผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด กรรมการ 2 ใน 3 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนได้ การที่โจทก์ ที่ 2กรรมการของบริษัทลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มี อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นการฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ เป็นกรณีความประสงค์ของนิติบุคคล นั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 ไม่ใช่กรณีเป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 56 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึง เป็นคำฟ้องที่ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, การผูกพันตามสัญญา, และข้อจำกัดในการขอแก้ไข
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้ คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: ห้างฯ ยอมรับการกระทำของอดีตหุ้นส่วนผู้จัดการที่เปิดบัญชีและกู้เงินแทนห้างฯ ทำให้ผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1แต่ได้พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท)กับธนาคารโจทก์ ในนามของห้างจำเลยที่ 1 และประทับตราชื่อห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 กระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวและห้าง ห้างจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีถึงกิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำ และยอมรับเอาเป็นกิจการที่ทำแทนห้างจำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าห้างจำเลยที่ 1 ได้เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของตน มีอำนาจกระทำกิจการดังกล่าวแทนห้าง ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อธนาคารโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำสัญญาค้ำประกันยังไม่สมบูรณ์ การมอบอำนาจและเอกสารยังไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อให้มั่นคงยิ่งขึ้นโจทก์ให้จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้รายนี้ด้วย โดยโจทก์จำเลยที่ 3 มุ่งเอาสัญญาขายฝากบ้านเรือนของจำเลยที่ 3 เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้รายนี้ จำเลยที่ 3 จึงทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จะไปทำสัญญาขายฝากอีกทีหนึ่ง และได้มอบหนังสือมอบอำนาจนี้กับเอกสารสำหรับบ้านเรือนของจำเลยที่ 3 ที่จะขายฝากไว้กับโจทก์ เพียงเท่านี้หาใช่สัญญาค้ำประกันที่จะบังคับจำเลยที่ 3 ตามที่โจทก์ฎีกาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการไฟฟ้า: การผูกพันตามสัมปทานและการเรียกเก็บเงินประกันที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ได่รับสัมปทานตั้งโรงทำการจำหน่ายไฟฟ้านั้นถือได้ว่าได้ทำคำเสนอแสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจะรับจำหน่างไฟฟ้าให้แก่ประชาชาชนในเขตสัมปทาน เมื่อมีผู้ขอให้ไฟฟ้าโดยยอมรับปฏิบัติตามสัมปทานแล้วก็ถือได้ว่าได้มีการสนองรับคำเสนอก่อให้เกิดสัญญาผูกพันกันขึ้นตามข้อที่กำหนดไว้ในสัมปทาน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกร้องตั้งข้อกำหนดนอกเหนือไปจากสัมปทานอีกไม่ได้และบอกเลิกสัญญาโดยลำพังตาม ป.พ.พ.ม. 386 ก็ไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2498)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2498)