คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานยังไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ การฟ้องคดีหมิ่นประมาทจึงไม่ชอบ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และ 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ข้อความในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพื่อพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษการสอบสวนความผิดฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต้องระบุชัดว่าเป็นเจ้าของรถ
ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคแรก และมาตรา 37 ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การฟ้องใหม่ และอำนาจฟ้อง
การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเข้ามาใหม่ในกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะและไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความ หรือการย่นหรือขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนฟ้อง และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น หากได้ความตามคำร้องซึ่งอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนถูกฟ้อง ก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้นไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมก่อนฟ้อง และผลของการไม่วางค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์
การขอให้พิจารณาใหม่หากได้ความตามคำร้องก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว และศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีฝ่ายเดียวและมีคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ผู้ร้องได้อ้างส่งสำเนาคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 เข้ามาในสำนวนด้วยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกโจทก์ฟ้องคดี ฉะนั้น ฟ้องของโจทก์และกระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงมิชอบมาแต่ต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อสำนวนขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้องตลอดมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลไม่รับฟังเหตุพิจารณาใหม่ แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบเรื่องฟ้องเนื่องจากบวช
ขณะเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัด ซึ่งห่างจากบ้านจำเลยเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปมาสะดวก ที่บ้านจำเลยมีภริยาบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยอาศัยอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไปทำบุญที่วัดดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งในการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่พบภริยาจำเลยอยู่ที่บ้าน แต่ภริยาจำเลยไม่ยอมรับหมายแทน จึงได้ปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล แสดงว่าภริยาจำเลยทราบเรื่องการส่งหมายทั้งสองครั้งแล้ว ซึ่งตามปกติวิสัยเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ภริยาจำเลยหรือบุคคลอื่นในบ้านย่อมต้องรีบแจ้งให้จำเลยทราบเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การในกำหนด และไม่ได้ไปศาลตามวันเวลาที่นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและจงใจขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีเหตุให้พิจารณาใหม่และรับคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันรู้ถึงการละเมิด แม้มีการดำเนินคดีภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดจากการที่จำเลยยื่นฟ้องขับไล่โจทก์และบริวารพร้อมกับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ยื่นคำให้การว่าที่ดินโจทก์อยู่นอกเขตที่ดินจำเลย มูลละเมิดเกิดจากการที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เท่านั้นการที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาภายหลังเป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการยื่นฟ้องคดีอันเป็นมูลละเมิด มิใช่การกระทำละเมิดต่อเนื่องจนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เมื่อโจทก์ยื่นคำให้การแก้คดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 แสดงว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทหรือผู้จัดการมรดกก่อนฟ้อง
ในกรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ และต้องกำหนดเวลาอันสมควรเพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา ซึ่งกฎหมายกำหนดคือผู้จำนองฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว หากโจทก์ประสงค์จะบังคับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้า 1 เดือนก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ ส. ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวเป็นจดหมายหรือหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน แก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3และที่ 4 ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้แทนการขอหมายเรียก และอายุความการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วยก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)จึงถือได้ว่า มีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: การฟ้องจำเลยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่พิพาท และจำเลยที่ทำหน้าที่ตามกฎหมายปกติ
สำนักงานราชพัสดุจังหวัดราชบุรีจำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการจังหวัดราชบุรี สังกัดกรมธนารักษ์ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจถูกฟ้องได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งราชพัสดุจังหวัดราชบุรี มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุแทนกระทรวงการคลัง ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)จะทับโฉนดที่ดินของโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ไประวังชี้แนวเขตหรือไม่ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ก็มิใช่การกระทำที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง และการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ระงับการรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการสั่งในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด โดยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแต่อย่างใด ทั้งในคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 3 สั่งเช่นนั้นเพื่อจะกลั่นแกล้งโจทก์หรือสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน
of 6