พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดีตามปกติ
ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาทและให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วน ซึ่งต่อมาการแบ่งแยกที่ดินไม่อาจทำได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังกล่าว ซึ่งการยึดทรัพย์กรณีนี้มิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
โจทก์ขอนำยึดที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ทาง ส.ป.ก. ได้จัดไว้เพื่อให้ผู้ถือครองคือจำเลยซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ขณะโจทก์นำยึดที่ดินยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แก่จำเลย และพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยจะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยจะได้สิทธิในที่ดินไม่เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญา
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติ มาตราการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้ รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา 30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกและการยึดทรัพย์สิน ต้องมีสิทธิและส่วนได้เสียโดยตรง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขี เจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่งเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่ และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ย่อมทำให้ไม่สามารถขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ จำเลยที่ 2 กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว มีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ จึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาล และจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลัง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบ หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของกองทุนป้องกันปราบปรามยาเสพติดเหนือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และผลกระทบต่อการบังคับคดี
บัตรกำนัล มีดอกเบี้ย ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 16(4) และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มีคำสั่งให้ยึดและอายัดไว้ และคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินมีความเห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังต้องเก็บรักษาบัตรกำนัล ดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามคำร้องของพนักงานอัยการที่ขอให้ศาลริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่มีการริบ ดังนี้ แม้บัตรกำนัล ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าศาลสั่งริบบัตรกำนัลย่อมตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยขอให้ส่งบัตรกำนัลดังกล่าวต่อศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมเป็นการขัดสิทธิของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่มีอยู่เหนือบัตรกำนัล ดังกล่าวนี้ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสิทธิชนิดหนึ่งอันเข้าลักษณะเป็นสิทธิอื่น ๆ ตามมาตรา 287 โจทก์จะขอให้ยึดหรือส่งบัตรกำนัล ดังกล่าวเสียทีเดียวไม่ได้ได้แต่เพียงอายัดไว้ในกรณีที่บัตรกำนัลดังกล่าวจะต้องคืนแก่จำเลยเท่านั้นหากศาลในคดีอาญาสั่งไม่ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นทรัพย์เป็นของใคร และขอบเขตการอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใด แต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขาย แม้มีการยึดก่อนชำระราคาครบถ้วนและการบังคับคดี
การที่ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยปลูกบ้านอยู่อาศัย2หลังและได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้วทั้งได้มีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องด้วยถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ผู้ร้องจะชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนและก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ผู้ร้องก็ตามแต่การยึดก็ไม่มีผลกระทบสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ต้องเพิกถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดซ้ำและการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผลกระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของการขาย
แม้ว่าการยึดที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่2ในคดีแพ่งคดีอื่นซึ่งกระทำภายหลังจะเป็นการยึดซ้ำแต่เมื่อมีการโอนการยึดที่พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการขายทอดตลาดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เช่นนี้การยึดซ้ำในคดีแพ่งดังกล่าวไม่มีผลทำให้การขายทอดตลาดในคดีล้มละลายไม่ชอบแต่อย่างใด ราคาประเมินของสำนักงานที่ดินจังหวัดเป็นเพียงราคาประเมินในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่พิพาทไปในราคาใกล้เคียงกับราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหากแต่ต่ำกว่าราคาประเมินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งไว้โดยเทียบเคียงจากราคาในท้องตลาดอยู่มากการขายทอดตลาดที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123