พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077-8078/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำ ป.วิ.พ. มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานนอกเหนือจากคำให้การเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง และตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน (ฉบับที่ 3) ข้อ 6 ได้กำหนดวิธีการยื่นบัญชีระบุพยานของศาลแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้ในการดำเนินคดีแรงงาน ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากไม่ได้ระบุเหตุผลที่อ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดที่จะเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 (1) ถึง (6) ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบแล้ว จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ไม่บังคับรวมถึงการนำพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาคดีที่จะเกินกว่าที่พยานนั้นเคยให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8707/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาก่อนสืบพยาน: ศาลมีอำนาจหากเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรมและเกี่ยวข้องประเด็นสำคัญ
แม้สำเนาสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังจะมิใช่หลักฐานโดยตรงในเรื่องการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ถือเป็นพยานสำคัญในการชั่งน้ำหนักพยานโจทก์ แล้วนำไปเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่าที่นาของโจทก์ ปัญหาเรื่องการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ นับว่ามีผลต่อรูปคดี อย่างมาก เพราะอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) บัญญัติ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยาน หลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่าซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ในวันนัดพร้อม คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับข้อเท็จจริงว่าแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนนัดชี้สองสถานไป ครั้งถึงวันนัดชี้สองสถาน จำเลยแถลงคัดค้านเรื่องเนื้อที่ตามแผนที่พิพาทจึงขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่พิพาทใหม่ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการทำแผนที่พิพาทกลาง ต่อมาโจทก์ได้อ้างพนักงานที่ดินผู้จัดทำแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาล เพื่อเบิกความยืนยันถึงรายละเอียดและวิธีการจัดทำแผนที่พิพาทดังกล่าว พร้อมกันนั้นทนายโจทก์ได้ส่งเอกสารแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาลด้วย กรณีจึงเห็นได้ว่า โจทก์เพียงแต่อ้างแผนที่พิพาทเป็นเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งศาลจะรับฟังหรือไม่ก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาลทั้งการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานเอกสาร ถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อคดีจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็ย่อมเป็นการไม่ชอบตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยได้ด้วยเพราะเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9501/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ ป.วิ.พ. โดยศาลใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อน เมื่อโจทก์ได้แนบสำเนาเอกสารดังกล่าวมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์ไม่นำเอกสารหมาย จ. 3 และ จ. 4 แผ่นแรก ซึ่งเป็นรายการหนี้มาแสดงต่อศาล เพราะโจทก์ได้อ้างใบเสร็จรับเงินซึ่งสรุปยอดหนี้ในแต่ละเดือนแล้ว ทั้งเอกสารหมาย จ. 8 ก็สามารถทำให้จำเลยเข้าใจถึงยอดหนี้ได้ดี ส่วนเอกสารหมาย จ. 5 ซึ่งเป็นใบวางบิลแสดงยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ เมื่อได้ความตามทางพิจารณาว่า เอกสารดังกล่าวพนักงานโจทก์นำไปมอบให้แก่จำเลยรับไว้แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นเอกสารอยู่ในความครอบครองรู้เห็น ของจำเลยเช่นเดียวกับเอกสารหมาย จ. 8 ที่จำเลยทำขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนหนังสือพิมพ์ที่ซื้อขายกัน เมื่อเอกสารหมาย จ. 5 และ จ. 8 ต่างเป็นที่มาแห่งข้อพิพาทซึ่งนับว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ดังนี้ แม้โจทก์ จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ. 5 ให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้แนบสำเนามาท้ายคำฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารหมาย จ. 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90
สำหรับเอกสารหมาย จ. 8 แม้จะเป็นเพียงสำเนา มิใช่ต้นฉบับแต่จำเลยก็เป็นผู้ทำขึ้นเอง เมื่อไม่ปรากฏ เหตุสงสัยว่าจะมีข้อความผิดไปจากความจริง การที่โจทก์มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานซึ่งฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามมาตรา 87 (2) แม้จำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้นก็ตาม
ที่โจทก์ไม่นำเอกสารหมาย จ. 3 และ จ. 4 แผ่นแรก ซึ่งเป็นรายการหนี้มาแสดงต่อศาล เพราะโจทก์ได้อ้างใบเสร็จรับเงินซึ่งสรุปยอดหนี้ในแต่ละเดือนแล้ว ทั้งเอกสารหมาย จ. 8 ก็สามารถทำให้จำเลยเข้าใจถึงยอดหนี้ได้ดี ส่วนเอกสารหมาย จ. 5 ซึ่งเป็นใบวางบิลแสดงยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ เมื่อได้ความตามทางพิจารณาว่า เอกสารดังกล่าวพนักงานโจทก์นำไปมอบให้แก่จำเลยรับไว้แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นเอกสารอยู่ในความครอบครองรู้เห็น ของจำเลยเช่นเดียวกับเอกสารหมาย จ. 8 ที่จำเลยทำขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนหนังสือพิมพ์ที่ซื้อขายกัน เมื่อเอกสารหมาย จ. 5 และ จ. 8 ต่างเป็นที่มาแห่งข้อพิพาทซึ่งนับว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ดังนี้ แม้โจทก์ จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ. 5 ให้แก่จำเลยภายในระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้แนบสำเนามาท้ายคำฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารหมาย จ. 5 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90
สำหรับเอกสารหมาย จ. 8 แม้จะเป็นเพียงสำเนา มิใช่ต้นฉบับแต่จำเลยก็เป็นผู้ทำขึ้นเอง เมื่อไม่ปรากฏ เหตุสงสัยว่าจะมีข้อความผิดไปจากความจริง การที่โจทก์มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานซึ่งฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามมาตรา 87 (2) แม้จำเลยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้นก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่สอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่น และผลกระทบต่อการรับฟังพยาน
ฉ. เบิกความว่า เห็นจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ไปบ้านของผู้เสียหาย แต่ตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ได้ความว่าได้เดินไปทั้งไปและกลับ นอกจากนี้ตอน ส.ไปรับอาวุธปืนของกลางที่กุฏิของ ป.ส.เบิกความว่า อาวุธปืนอยู่ในเป้อยู่ที่กุฏิ ป. ไม่พบจำเลยที่ 2 แต่ในคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนหยิบเป้ใส่อาวุธปืนให้ ส.ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การชั้นสอบสวนแตกต่างกับพยานโจทก์และพยานจำเลยที่นำสืบ ทั้งจำเลยที่ 2 โต้เถียงว่าถูกขู่ให้รับสารภาพ คำให้การชั้นสอบสวนจึงไม่ชอบ ไม่อาจใช้ยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134และ 135
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค: ศาลต้องรับฟังพยานบุคคลสนับสนุนการชำระหนี้ แม้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คหาใช่ฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสืออันจะนำการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจึงจะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653บัญญัติไว้แต่อย่างใดจำเลยย่อมนำสืบด้วยพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วได้ ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยว่ามีน้ำหนักรับฟังได้หรือไม่โดยอ้างข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653แล้วสรุปว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้เช็คพิพาทให้โจทก์เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เสียใหม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำคัญ แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสาร แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แสดงว่า ท.เป็นเจ้าของผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ทั้งเป็นเอกสารสำคัญ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และแม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามกฎหมาย แต่เมื่อพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อใช้ประกอบดุลพินิจที่จะฟังว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การรับฟังพยานบุคคลแทนเอกสาร
การนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 คู่ความจึงสืบพยานบุคคลได้ โจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ขายที่พิพาทให้แก่บิดาโจทก์บิดาโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองมาโดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การ ว่า โจทก์ครอบครองที่พิพาทจริง แต่ไม่ได้ครอบครองอย่างเป็น เจ้าของ จำเลยไม่ได้ขายพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ขอทำนา ในที่พิพาทแล้วตกลงให้ข้าวเปลือกเป็นค่าตอบแทน บิดาโจทก์และ โจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยเท่านั้น สาระสำคัญที่เป็น ประเด็นพิพาทก็คือ โจทก์ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ จนได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย หรือเป็นเพียงครอบครองที่ พิพาทแทนจำเลย แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้แต่เพียงว่า โจทก์ครอบครองแทนจำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แน่แท้ว่าการครอบครองของโจทก์นั้น ถ้าโจทก์ไม่ได้ครอบครองแทนจำเลยโจทก์ก็ต้องครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยความสงบและ โดยเปิดเผยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ มิใช่เรื่องที่โจทก์สละประเด็น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา เกินกว่า 10 ปี โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ตามมาตรา 1382 แล้ว จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น