พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นคู่ความในคดีมรดก: การรับมรดกสิทธิเฉพาะตัว และการจำหน่ายคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรม
การขอตั้งผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่กรรมได้ เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่กรรม น. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้ามาเป็นคู่ความแทน และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาผู้คัดค้านที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ต้องสงสัยคดีอาญา และผลกระทบต่อการรับมรดก
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผูัจัดการมรดกของผูัตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผูัจัดการมรดกของผูัตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรับมรดกในส่วนสินสมรสและทรัพย์มรดกของทายาทที่ไม่ชอบ
จำเลยไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ว. จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ว. และข้อความในบันทึกถ้อยคำการไม่รับมรดกตามเอกสารหมายจ.8 หรือ ล.2 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าไม่ประสงค์จะยกที่ดินและ ห้องแถวพิพาทที่เป็นส่วนสินสมรสของโจทก์ให้แก่จำเลย ที่ดินและห้องแถวพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์จึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย สำหรับมรดกในส่วนสินสมรสของ ว. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 การที่จำเลยไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นบุตรของ ว. และขอรับมรดกของ ว.เป็นการไม่ชอบโจทก์ในฐานะสามีของว.ซึ่งเป็นทายาทของ ว. ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการรับมรดกที่ดินและห้องแถวพิพาทของจำเลยเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของคนสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ก่อนที่ผู้สาบสูญถึงแก่ความตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ. ดังนี้ หากศาลสั่งให้ ผ.เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่าผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 แต่ท.บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปีพ.ศ.2478ดังนั้นถึงท.จะมีสิทธิรับมรดกของ ผ. ในฐานะลุง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ.ถึงแก่ความตายนั้นท. ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดก การเพิกถอนการโอนที่ดิน และประเด็นการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นบัญชีพยานจำเลยในวันสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนบัญชีพยานดังกล่าวอ้างตัวจำเลยทั้งสามซึ่งแม้เป็นกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกฎหมายก็ยังให้จำเลยเบิกความเป็นพยานตนเองได้และปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานตามกำหนดเพราะทนายจำเลยติดการประชุมสภาจังหวัดการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีพยานโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสามจึงชอบแล้ว จำเลยยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยอ้างว่ายังบกพร่องอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตโจทก์แถลงคัดค้านแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพิกถอนคำสั่งแล้วสั่งใหม่ว่าสำเนาให้โจทก์โจทก์แถลงคัดค้านเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตใหม่โจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งนี้ไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหลานเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์เจ้ามรดกมีที่ดิน3แปลงได้ยกให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโจทก์ครอบครองตลอดมาเกินกว่า10ปีแล้วจำเลยที่1ที่2โอนที่ดินทั้ง3แปลงแก่จำเลยที่3ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นของโจทก์และเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยเมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นมรดกและเจ้ามรดกมิได้ยกให้โจทก์แต่โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยเฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิรับมรดกและให้โอนที่ดินที่เพิกถอนนั้นแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมรดกความในคดีที่ฟ้องผู้บุพพการี: การวินิจฉัยอำนาจฟ้องเป็นอุทลุมและการรับมรดกความ
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส. ร้องขอรับมรดกความ แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของ ส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่า การรับมรดกความของ ส. ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพพการี ส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่งการขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาล ยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส.มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก.ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก.ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้นยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่า การรับมรดกความของ ส. ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพพการี ส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่งการขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาล ยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส.มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก.ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก.ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้นยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพพการีอย่างคดีเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกตามพินัยกรรมและการถูกจำกัดสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ต้องเป็นผู้ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกแต่การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุลงไปในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอีกด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
เมื่อเจ้าพนักงานโอนโฉนดให้แก่ทายาทผู้ขอรับมรดกดังกล่าวแล้ว ภายหลังทายาทนั้นขอแบ่งที่ดินมรดกเพื่อจะขายและเอาเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินนั้นไปประกันเงินกู้ ดังนี้ ไม่ใช่กรณียักย้ายหรือปิดบังมรดก
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินกับเรือนให้จำเลยและยกโคกระบือให้โจทก์ ดังนี้ จะนำเรื่องจำกัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรคแรกมาใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับที่ดินและเรือนมรดก หาได้ไม่
เมื่อเจ้าพนักงานโอนโฉนดให้แก่ทายาทผู้ขอรับมรดกดังกล่าวแล้ว ภายหลังทายาทนั้นขอแบ่งที่ดินมรดกเพื่อจะขายและเอาเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินนั้นไปประกันเงินกู้ ดังนี้ ไม่ใช่กรณียักย้ายหรือปิดบังมรดก
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินกับเรือนให้จำเลยและยกโคกระบือให้โจทก์ ดังนี้ จะนำเรื่องจำกัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 วรรคแรกมาใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับที่ดินและเรือนมรดก หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการรับมรดกต่อเนื่อง: กรรมสิทธิที่ดินไม่ต้องโอนโฉนด
บิดาได้ครอบครองถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินมาช้านานถึง 30 ปี แล้วถึงแก่กรรมลงบุตรได้รับมรดกคงปกครองที่ดินนั้นต่อมาอีก 5,6 ปี โดยมิได้โอนโฉนดทางทะเบียนก็ถือได้ว่า บุตรได้รับช่วงการครอบครองที่ดินสืบต่อบิดา หาจำต้องโอนโฉนดทางทะเบียนก็ได้กรรมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาของผู้ทำพินัยกรรมสำคัญกว่ารูปแบบเอกสาร
พินัยกรรม์ต้องเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1646 แม้เอกสารจะใช้คำว่า พินัยกรรม์และข้อความในตอนต้นอาจมีทางพอจะตีความว่าได้เป็นพินัยกรรม์ก็ดี แต่เมื่ออ่านข้อความตอนอื่นประกอบแล้ว เห็นว่าผู้ตายหาได้มีเจตนาจะทำพินัยกรรม์ไม่ หากเป็นหนังสือสัญญาซึ่งทำไว้แก่ฝ่ายสาว เวลาที่ผู้ตายจะได้จำเลยเป็นภริยาเท่านั้น การที่ผู้ตายเขียนคำว่า ขอทำพินัยกรรม์ ในตอนต้นจึงเป็นการใช้ถ้อยคำผิดดังนี้ เอกสารเช่นว่านั้น จึงไม่ใช่พินัยกรรม์
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่า จำเลยไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องในกองมฤดกของผู้ตาย และห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องในการรับมฤดกของผู้ตาย คำขอไม่ให้เกี่ยวข้องนี้กว้างมาก หากศาลพิพากษาห้ามดังโจทก์ขอแล้ว อาจไปกระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องร้องกันนี้ก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงพิพากษาห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกองมฤดกของผู้ตาย ในฐานะเป็นผู้รับมฤดก ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากเรือนซึ่งเป็นกองมฤดกของผู้ตายก็เช่นเดียวกัน.
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่า จำเลยไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องในกองมฤดกของผู้ตาย และห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องในการรับมฤดกของผู้ตาย คำขอไม่ให้เกี่ยวข้องนี้กว้างมาก หากศาลพิพากษาห้ามดังโจทก์ขอแล้ว อาจไปกระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องร้องกันนี้ก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงพิพากษาห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับกองมฤดกของผู้ตาย ในฐานะเป็นผู้รับมฤดก ส่วนคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากเรือนซึ่งเป็นกองมฤดกของผู้ตายก็เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกหลังเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
พฤตติการณ์อย่างไรเป็นผิดฐานฉ้อโกง