พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยอ้างแทนมารดาและการสิทธิในกองมรดก: การนำสืบพยานและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทบางส่วนโดยอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ซ. เป็นการรับโอนแทนมารดาโจทก์บางส่วน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนการที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่แสดงในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นดีกว่าคนอื่นเท่านั้น มิใช่การทำนิติกรรมแต่อย่างใด โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลตามข้ออ้างของตนได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินสาธารณประโยชน์โดยมิชอบทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องรุกล้ำที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ประเด็นในเรื่องนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและพิพากษาใหม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้ง ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดย ไม่ต้องย้อนสำนวน เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่ง บทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ทรงเช็ค: ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดการรับโอนเช็คเพื่อฟ้องเรียกเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 และตามมาตรา 914 บัญญัติไว้ความว่าบุคคลผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้ยื่นโดยชอบแล้วจะมี ผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมจ่ายเงินผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 914ดังกล่าวนี้มาตรา 989 บัญญัติให้นำมาบังคับให้เรื่องเช็คด้วยเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในฐานะอย่างไรรับโอนมาจากใครเมื่อใด มีมูลหนี้เป็นมาอย่างไร ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้การรับโอนที่ดินเป็นโมฆะ
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วโจทก์จึงรับโอนที่ดินจาก บ.ผู้มีชื่อโฉนดที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ก่อนโอนบ.ได้พาโจทก์มาดูที่พิพาท โจทก์ย่อมเห็นจำเลยปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอย่างถาวร เมื่อบ. บอกโจทก์ว่า จำเลยเช่าที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยโจทก์เชื่อก็ไม่ได้ขอดูหลักฐานการเช่าจากบ.ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเช่าที่พิพาทจริงหรือไม่ผิดวิสัยของผู้ซื้อที่ดินทั่วไป พฤติการณ์แสดงว่า ขณะโจทก์รับโอนที่ดิน โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเห็นเจ้าของที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้จะถือว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคบคิดฉ้อฉลในการรับโอนเช็ค: ต้องเกิดขึ้นขณะรับโอนเพื่อยกเว้นความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
การคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตอันจะทำให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 นั้น จะต้องเกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายได้โดยไม่ต้องแสดงรายละเอียดการรับโอน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 และตามมาตรา 914 บุคคลซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้ว จะมีผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ใช้เงินแก่โจทก์ได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในฐานะอะไร ได้รับโอนจากใคร เมื่อใด และมีมูลหนี้อย่างไรไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริตเพราะยักยอกจากผู้มีชื่อ เป็นคำให้การที่ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว จำเลยมีสิทธิตามข้อต่อสู้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือผู้มีสิทธิโดยตรง
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ในการพิจารณาว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสินทรัพย์ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่ แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14417/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องเป็นการรับโอนจากคู่ความเดิมหรือเจ้าหนี้เดิม
แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ศ.2550 มาตรา 5 มิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้องโดยตรง แต่อ้างว่าได้รับโอนมาจากบริษัท ร. ผู้โอน ซึ่งมิใช่คู่ความอยู่เดิม หรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12754/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายทรัพย์สินด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก. บสท. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกาศขายทอดตลาดที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นการรับโอนไม่มีผล
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 บัญญัติว่า "ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีการขายทอดตลาด แต่ถ้า บสท. เห็นว่าการจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์แก่ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้" และมาตรา 77 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การจำหน่ายทรัพย์สินตามมาตรา 76 ให้ บสท. ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย โดยลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวัน" โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 รวมสามวันติดต่อกัน และลงโฆษณาทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 โดยกำหนดวันขายทอดตลาดเป็นวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ซึ่งตามมาตรา 77 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโฆษณาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย ดังนี้ สำหรับการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เมื่อนับจากวันที่สามคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 จึงเป็นการประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย แต่สำหรับการลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 แม้หากจะถือว่าการลงโฆษณาดังกล่าวมีผลต่อเนื่องไป วันที่สามก็คือวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเมื่อนับจากวันดังกล่าวไปสิบห้าวัน วันที่ขายทอดตลาดได้อย่างเร็วที่สุดก็คือวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ดังนั้น การลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงในคดีนี้มาเป็นของตนแทนการจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดก, การครอบครองปรปักษ์, และเจตนาที่ไม่สุจริตของผู้รับโอน
ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น มีโจทก์ 3 คน คือ โจทก์ในคดีนี้ ห. และ ส. ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. โดยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในโฉนดที่ดินพิพาทที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการเรียกเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยเพื่อมาแบ่งปันแก่ทายาท แต่มีการบรรยายความเป็นมาว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไรเพื่อตัดสิทธิจำเลยมิให้รับมรดกด้วย สถานะของโจทก์ในคดีทั้งสองจึงแตกต่างกัน และประเด็นแห่งคดีทั้งสองก็แตกต่างกันด้วยฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น
แม้รายการในสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินพิพาทจะเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบหักล้างได้ว่าความจริงเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. นั้นจึงหาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. ไม่
แม้รายการในสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินพิพาทจะเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบหักล้างได้ว่าความจริงเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. นั้นจึงหาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. ไม่