คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การริบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้เดินทางไปเจรจาซื้อขายยาเสพติด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขับรถยนต์มายังที่เกิดเหตุเพื่อเจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โดยมิได้นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมากับรถยนต์ด้วย ดังนั้น รถยนต์จึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่สามารถที่จะริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนคดีถึงที่สุด และการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด
เดิมบริษัทเงินทุน ท. เป็นเจ้าของรถยนต์ให้จำเลยเช่าซื้อเมื่อวันที่ 1 เมษายน2540 จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 และผู้ร้องซื้อทรัพย์สินประเภทสัญญาเช่าซื้อจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในนามและแทนบริษัทเงินทุน ท. เมื่อวันที่30 กรกฎาคม 2541 แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป"แต่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์ ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด บริษัทเงินทุน ท. ย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องเกิน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือและเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย: การตีความ 'เครื่องมือทำการประมง' ตาม พ.ร.บ.การประมง
พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสาหลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง" ดังนั้น เรือยนต์และอวนลากแขกจึงเป็นเครื่องมือทำการประมง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ออกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากคานถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด เรือยนต์และอวนลากแขกที่จำเลยใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 32 (2) ซึ่งต้องริบตามมาตรา 70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย การริบรถจักรยานยนต์
จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำหนัก 15 บาท ของผู้เสียหายผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำไว้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งตีจำเลย จำเลยลากผู้เสียหายไป 3 ถึง 4 ก้าว จนผู้เสียหายล้มลง จำเลยใช้มือกดหน้าอกผู้เสียหายพร้อมกับกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป แม้ไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย และผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำนั้น จำเลยได้พูดขู่เข็ญว่า ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยลากผู้เสียหายโดยเร็วและแรงมาก โดยจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา 1 (6) เพื่อให้ความสะดวกแก่การกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง
หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมากเช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานจำได้เหตุการณ์และหลักฐานสนับสนุน การริบรถจักรยานยนต์ที่ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด
เหตุเกิดในเวลากลางวัน ผู้เสียหายเห็นจำเลย 2 ครั้ง ในขณะจำเลยขอซื้อน้ำแข็งและขณะผู้เสียหายตักน้ำแข็งใส่จอกซึ่งซ้อนกันเป็นระยะเวลานานพอที่จะจำจำเลยได้ โดยผู้เสียหายเห็นจำเลยในระยะห่างกันเพียง 1 ศอก ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกก็ขับรถวนเวียนผ่านไปมาที่บ้านชะลอรถและมองมาที่ผู้เสียหาย นาง จ. พยานโจทก์อีกปากซึ่งนั่งอยู่ที่หน้าบ้านเกิดเหตุจึงจำจำเลยได้ เมื่อจำเลยถูกจับกุม พยานโจทก์ทั้งสองก็ชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้าย ในขณะที่จำเลยยืนปะปนอยู่กับบุคคลอื่น และพยานโจทก์ทั้งสองไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อน ศาลเชื่อว่าพยานโจทก์ทั้งสองจำจำเลยได้ รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ก่อนและหลังการวิ่งราวทรัพย์ หาได้ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ไม่จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ศาลจึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด ผู้ร้องมีสิทธิได้รับคืน
ในคดีร้องขอคืนของกลาง เมื่อได้ความว่าโทรทัศน์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด ซึ่งศาลไม่มีอำนาจสั่งริบ จึงต้องคืนโทรทัศน์ของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและการพกพา, พยายามปล้นทรัพย์, การริบยานพาหนะ
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดมาตั้งแต่ เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่ง และเมื่อได้ พกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดย ผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่าง กัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางไปพยายามปล้นทรัพย์ แต่ ก็เป็นเพียงยานพาหนะไปมา และพาจำเลยที่ 1 ที่ 2กับพวกหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดย สะดวกและรวดเร็วเท่านั้นรถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ ใช้ ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืนของผู้ตายในคดีอาญา: สิทธิในการริบระงับเมื่อผู้กระทำความผิดเสียชีวิต
ผู้กระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานตำรวจแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้กระทำความผิดย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 และโทษก็เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 ดังนั้น อาวุธปืนซึ่งเป็นปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นที่ผู้ตายใช้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่อาจริบได้ตามบทกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถของกลางหลังศาลสั่งริบ: ผู้รับโอนย่อมไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ เพราะกรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน
ผู้ร้องรับโอนรถจักรยานยนต์ของกลางภายหลังศาลสั่งริบย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะรถของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วจึงร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิด ไม่ถือเป็นของกลางที่ต้องริบ
จำเลยขี่รถจักรยานยนต์พา ข. นั่งซ้อนท้ายไปยิงผู้เสียหายโดย ข. เป็นผู้ยิง แต่กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย ดังนี้รถจักรยานยนต์ไม่ใช่ของที่ใช้ร่วมในการกระทำผิดแต่เป็นเพียงพาหนะที่ใช้ในการไปมาเท่านั้น จึงไม่ใช่ของกลางที่จะพึงริบ
of 5