คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การรื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินสาธารณะและการกีดขวางทางออกของที่ดินข้างเคียง สิทธิในการฟ้องรื้อถอน
จำเลยปลูกต้นไม้และก่อสร้างห้องน้ำในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะที่คั่นอยู่ระหว่างที่ดินของโจทก์กับถนนหลวง เมื่อที่ดินของโจทก์มิได้ติดต่อกับถนนหลวงมาแต่เดิมเนื่องจากมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ และจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทกีดขวางทางออกสู่ถนนสาธารณะหาได้ไม่ กรณียังไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 421 และมาตรา 1337 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนต้นไม้และสิ่งก่อสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและประเด็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลฎีกายกประเด็นสุจริตเนื่องจากไม่ได้กำหนดในชั้นชี้สองสถาน
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินริมคลองในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ
จำเลยปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตร ยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรงซึ่งเป็นคลองสาธารณะ ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ1 ถึง 2 เมตร ในลักษณะมั่นคงและถาวร อันอาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์มิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะจำเลยปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเพิ่มเติมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ
แม้ที่ดินตามแผนที่พิพาทเส้นสีเขียวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พิพาทกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1278/2532 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนแนวรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ต่อมาในชั้นบังคับคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการรื้อถอนรั้วออกไป แต่ยังส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อย เนื่องจากระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองได้ขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาท รวมทั้งปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วน ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาทและปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วนในระหว่างพิจารณาคดีก่อน มูลคดีนี้จึงเกิดภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่สามารถฟ้องมาในคราวเดียวกันได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดที่ดิน การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20,22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35 ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไป ดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อคือ ข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1 เมษายน2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2และที่ 3 ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3)ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริดรอนสิทธิการใช้ทางของผู้อื่น แม้ไม่ใช่ทางสาธารณะ ก็อาจถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ภริยาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้แบ่งขายที่ดินให้ผู้อื่นรวมทั้งโจทก์โดยตกลงยินยอมให้ผู้ซื้อที่ดินใช้ถนนที่ยังเป็นที่ดินของผู้ขายและอยู่ติดที่ดินที่โจทก์ซื้อเพื่อเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้การที่จำเลยก่อรั้วอิฐบล็อกและปักเสาคอนกรีตตามแนวรั้วอิฐบล็อกปิดขวางหน้าที่ดินโจทก์ซื้อตลอดแนวทำให้โจทก์ได้รับความไม่สะดวกในการเข้าออกบ้านโจทก์ในที่ดินที่ซื้อสู่ที่ดินของภริยาจำเลยที่ยังคงอนุญาตให้โจทก์ใช้เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะดังที่เคยได้รับเป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรโจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปด้วยการฟ้องคดีให้จำเลยรื้อถอนไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337และแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำดังกล่าวในที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ก็ไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ด้วยข้อกฎหมายบทใดศาลย่อมวินิจฉัยปรับบทบังคับไปตามกฎหมายนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แนวเขตที่พิพาทและการปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจตรวจสอบการรื้อถอนหากยังไม่ครบถ้วน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี ไม่มีการทำแผนที่พิพาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ก็ตาม ก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น หากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาท ก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี การที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตร ออกไปนั้น ยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้ว ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: สิทธิการใช้ทางและขอบเขตการรื้อถอนสิ่งกีดขวางตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมมีข้อความระบุให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถเต็มทั้งแปลงของโฉนดที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงที่ดินด้านหน้าที่ติดถนนก็ปลูกตึกแถวตลอดแนวเต็มเนื้อที่ และโจทก์จะดำเนินการก่อสร้างด้านในหลังตึกแถวดังกล่าวโดยทำถนนคอนกรีตไปจดแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อหลักหินและตัดต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นตามแนวเขตออกและยังมีสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อีก จึงเป็นการขัดขวางการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นเป็นการยอมให้ใช้เดินและใช้รถตามถนนในสภาพที่อยู่เดิม ไม่ใช่ยอมให้โจทก์เชื่อมถนนของโจทก์ จำเลยเข้าด้วยกัน ขัดกับข้อตกลงภาระจำยอมจึงฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ขัดขวางมิให้โจทก์ทำถนนมาเชื่อมกับถนนภาระจำยอม เป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมและจากที่บุคคลภายนอกบอกเลิกสัญญาไม่ยอมซื้อที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยว่า 600,000 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างในที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต แม้เริ่มแรกสุจริต แต่ทราบภายหลังแล้วยังก่อสร้างต่อ ถือผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ก่อนล้มละลายไม่ถือว่าเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ก่อนมีการฟ้องคดีล้มละลายประมาณ 4 เดือน ลูกหนี้จ้างผู้คัดค้านให้รื้อห้องสำนักงานของบริษัทลูกหนี้เป็นเงิน 85,000 บาท ผู้คัดค้านได้รื้อห้องให้เสร็จแล้ว ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึงเดือน ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ค่าจ้างให้แก่ผู้คัดค้านจำนวน45,000 บาท เป็นการชำระหนี้ตอบแทนในทันทีตามสัญญาจ้างปกติ อีกทั้งเป็นการชำระเพียงบางส่วน จำนวนเงินที่ชำระมีจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ถึง 25 ล้านบาท กรณียังถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ได้
of 2