คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวน: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เหตุคดีนี้เกิดในพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ มิได้เกิดในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดซึ่งได้เกิดขึ้นในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและข้อจำกัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 18
การสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (6) ประกอบมาตรา 18 เมื่อเหตุที่อ้างว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางแก่ ส. เกิดที่บ้านในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายภายหลังจากนั้นอีกในประการใด ท้องที่ซึ่งจำเลยถูกจับก็อยู่ภายในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกำแพงเพชร และไม่ปรากฏเหตุอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่จะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอปางศิลาทองมีอำนาจสอบสวนได้ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 128 บัญญัติไว้ การสอบสวนจำเลยโดยพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอปางศิลาทองจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวน: การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมโดยผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ซึ่งอยู่ในเขตการสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสูงเนินซึ่งมีพันตำรวจโท ข. เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 ส่วนที่มีพันตำรวจโท ว. เข้ามาเป็นพนักงานสอบสวนในเรื่องนี้ด้วยก็เป็นเรื่องที่พลตำรวจตรี ถ. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา แต่งตั้งเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสอบสวนพยานหลักฐานในคดีนี้โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 ข้อ 2.3 ตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาที่ 310/2542 เรื่องแต่งตั้งพนักงานสอบสวนคดีอาญา ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 พันตำรวจโท ว. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน และมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนอาญา: การสอบสวนที่เกินเขตอำนาจและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้วพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของตนโดยพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่น
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตนซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไทยเจริญ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวน: การสอบสวนที่เกินเขตอำนาจย่อมเป็นเหตุให้ฟ้องคดีไม่ได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงประการใด ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญทำการจับกุมและทำการสอบสวนเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน เป็นกรณีที่อ้างว่าพนักงานสอบสวนอ้าง หรือเชื่อหรือเข้าใจว่าเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนครอบคลุมไปถึงที่เกิดเหตุ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญไม่รู้ว่าเขตอำนาจสอบสวนของตนครอบคลุมเขตพื้นที่เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตน ซึ่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ ซึ่งเป็นเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีลักทรัพย์สาธารณประโยชน์: ผู้เสียหายไม่ใช่สาระสำคัญ
สายไฟฟ้าที่ถูกลักเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ กรมทางหลวงหรือกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้เสียหายหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการสอบสวน แม้มิได้สอบสวนให้แจ้งชัดว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหายการสอบสวนก็ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4370/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการสอบสวนและฟ้องร้อง พยานหลักฐานมั่นคงรับฟังได้
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกันการจับกุมที่ไม่ชอบนั้นไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าการจับกุมจำเลยในคดีนี้จะเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคดีได้
โจทก์มีประจักษ์พยานสองปากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเบิกความยืนยันว่า เห็นจำเลยทั้งสองกำลังนั่งนับเมทแอมเฟตามีนอยู่ โดยไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์รู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อน มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์อย่างไรในการแกล้งกล่าวหาให้จำเลยได้รับโทษในคดีนี้ จึงไม่มีข้อระแวงว่าพยานโจทก์จะสร้างหลักฐานขึ้นมาเบิกความปรักปรำจำเลยทั้งสอง ทั้งไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปหาเมทแอมเฟตามีนมาถึง 29 เม็ด ซึ่งมีราคานับพันบาทมากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสองขณะเกิดเหตุและก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นอยู่ภายในที่เกิดเหตุด้วย หลังเกิดเหตุพยานโจทก์ก็แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อไปรับตัวจำเลยทั้งสองและของกลางทันทีโดยมีพันตำรวจตรี น. และนายดาบตำรวจ ว. เบิกความสนับสนุนพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความที่ไม่ชัดเจนถึงเจตนาที่จะดำเนินคดี ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีความผิดอันยอมความได้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความแต่เพียงว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้ มีอำนาจ แจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษทั้งได้ความว่า เหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดี ความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสองการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด การเติมคำในเอกสารประกอบการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การแจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134นั้น แม้พนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งข้อหาจำเลยทุกข้อหาทุกกระทงความผิดก็ตามแต่เมื่อภายหลังได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย จึงถือได้ว่าได้มีการสอบสวนในข้อหาฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้ว ดังนั้นการเติมคำว่า "จำหน่าย" ในบัญชีของกลางในคดีอาญา คำให้การในชั้นสอบสวนและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างเพื่อลงโทษทางวินัยหลังการสอบสวน ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าจ้างตามมาตรา 116-117
ลูกจ้างฟ้องว่า นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างเป็นเวลา 5 วัน โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงาน ในชั้นพิจารณาลูกจ้างรับข้อเท็จจริงว่าได้กระทำความผิดจริงตามคำให้การต่อสู้คดีของนายจ้าง ดังนี้ นายจ้างย่อมมีอำนาจลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานได้ เมื่อการพักงานตามฟ้องเป็นการพักงานเนื่องจากการลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำความผิด มิใช่กรณีที่นายจ้างสั่งพักงานระหว่างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 116 และ 117 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานแก่ลูกจ้างตามบทกฎหมายข้างต้นไม่ได้
of 8