พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง: ผลของการคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ในกรณีที่ไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ฉะนั้น หากจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ เมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติถึงเหตุผลแห่งคำคัดค้านไว้ จึงต้องแปลว่าเพียงจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องดังกล่าวก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ประสงค์ให้การดำเนินคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ การที่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จะระบุเหตุแห่งคำคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ถือว่าไม่มีคำคัดค้านและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยตรงต่อศาลฎีกาได้นั้น จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณะ - เจตนา - ความสุจริต - การอนุญาตที่ไม่ชอบ - การนำสืบพยาน
พยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เมื่อจำเลยเข้าครอบครอง ที่ดินพิพาทโดยสุจริต เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ จำเลยจึงขาดเจตนา ในการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ
พ. รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ทำขึ้นสำเนาเอกสารที่ พ. ซึ่งเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ในภายหลังได้ส่งมาตามหมายเรียกของศาล โดยมีนักวิชาการป่าไม้ 6 กองอุทยานแห่งชาติรับรองสำเนาถูกต้องจึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคสอง แม้ พ. มิได้มาเบิกความก็ตาม
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้นมีอำนาจโดยชอบในการที่จะอนุญาตให้สร้างบังกะโลบนเกาะเสม็ดได้จำเลยจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
พ. รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ทำขึ้นสำเนาเอกสารที่ พ. ซึ่งเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ในภายหลังได้ส่งมาตามหมายเรียกของศาล โดยมีนักวิชาการป่าไม้ 6 กองอุทยานแห่งชาติรับรองสำเนาถูกต้องจึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคสอง แม้ พ. มิได้มาเบิกความก็ตาม
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้นมีอำนาจโดยชอบในการที่จะอนุญาตให้สร้างบังกะโลบนเกาะเสม็ดได้จำเลยจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต ทางภารจำยอมเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินและจัดสาธารณูปโภค
แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทก.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 และที่ดินโฉนดเลขที่ 31569 ส่วนที่เป็นทางพิพาทนั้นเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกระทำของบริษัท ก. ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 90แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่าบริษัทก. จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาทอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 การที่บริษัทก. จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัทก. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัทก. จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัทก.ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าว ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภารจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อที่ดินแปลงที่ทางภารจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การก่อสร้างหลังคาและประตูปิดกั้นทางพิพาทโดยไม่จำเป็น ขัดสิทธิการใช้ภารจำยอม แม้มีการอนุญาตจากเจ้าของเดิมก็ยกเลิกได้
ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ฉะนั้นการก่อสร้างหลังคาคลุมทางพิพาทก็ดี การทำประตูปิดกั้นทางพิพาทก็ดี หาใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท และแม้เจ้าของที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์คนเดิมจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทได้ การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ดังนั้น เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิมจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย การที่โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ไม่กระทบผลคดีหากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง
คำสั่งของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควร สู่ศาลสูงสุดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว การที่ โจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ นั้น ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยจึง ไม่เป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีแรงงาน: การอนุญาตให้ลูกจ้างออกนอกสถานที่ทำงาน
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตได้อนุญาตให้พนักงานซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาออกนอกโรงงานในเวลาทำงานเพื่อไปร้องเรียนต่อสำนักงานแรงงานโดยมิได้ยื่นใบลาและมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน ดังนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์อนุญาตให้พนักงานออกนอกโรงงานในเวลา12 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาพักเที่ยงของบริษัทจำเลย จึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้อนุญาตให้พนักงานออกนอกโรงงานในเวลาทำงาน อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดประชุมในโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความ 'การประชุม' ตามระเบียบบริษัท
ระเบียบของผู้ร้องมีข้อห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ได้ความว่า ขณะที่พนักงานของผู้ร้องมารวมกันเพื่อรับประทานอาหารในระหว่างพักแม้มิใช่การมาร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความหมายของ "ประชุม" เมื่อผู้คัดค้านได้แถลงข้อเท็จจริงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อพนักงานดังกล่าว เช่นนี้ พฤติการณ์ของผู้คัดค้านถือเป็นการเปิดประชุมแล้ว ผู้ร้องชอบที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ตามระเบียบดังกล่าวของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งของข้ามแดนต้องเป็นไปตามทางอนุมัติ แม้ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ก็ไม่สามารถลบล้างข้อห้ามตามกฎหมายได้
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2480 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดขนส่งของผ่านเขตแดนทางบกเข้าในราชอาณาจักรตามทางใดนอกจากทางอนุมัติ ฯ" ดังนี้ เห็นด้วยว่าเป็นการห้ามไว้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้น แม้พนักงานศุลกากรจะได้อนุญาตให้จำเลยขนส่งของผ่านเขตแดนนอกทางอนุมัติ ก็ไม่อาจลบล้างข้อห้ามตามกฎหมายและไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความผิดฐานฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691-1697/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่อเนื่อง ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจเข้าครอบครองที่ดินของรัฐในทุ่งเขาหน้าวัวซึ่งทางราชการสงวนไว้สำหรับให้ราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเข้าไปแผ้วถางปลูกพืชผลแล้วครอบครองที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานกับทั้งระบุถึงวันเดือนปีและที่เกิดเหตุอันเป็นการระบุครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 และ 108 นั้น เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยเข้าครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน แม้ทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าเป็นที่ดินซึ่งทางราชการสงวนไว้สำหรับให้ราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ เพราะความตอนนี้เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่ส่วนขององค์ความผิด
เมื่อกฎหมายห้ามเข้าครอบครองที่ดินโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฉะนั้น ถ้าผู้ใดครอบครองที่ดินอยู่ก็ย่อมเป็นการกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมาย และเป็นความผิดอยู่ทุกขณะที่ทำการครอบครอง คดีจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อกฎหมายห้ามเข้าครอบครองที่ดินโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฉะนั้น ถ้าผู้ใดครอบครองที่ดินอยู่ก็ย่อมเป็นการกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมาย และเป็นความผิดอยู่ทุกขณะที่ทำการครอบครอง คดีจึงไม่ขาดอายุความ