คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การออกเช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คที่สมบูรณ์ แม้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้กรอกรายละเอียดเช็ค โดยผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อเท่านั้น
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ร่วม โดยส่งมอบเช็คให้ อ. พนักงานของโจทก์ร่วมในทันทีที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เมื่อ อ. รับเช็คแล้วได้กรอกจำนวนเงินและวัน เดือน ปี ที่ออกเช็คลงในเช็คต่อหน้าจำเลยและโดยความยินยอมของจำเลย แม้จำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แต่รายการดังกล่าว จำเลยหาจำต้องเป็นผู้เขียนลงไว้ด้วยลายมือของจำเลยเองไม่ ถือได้ว่าเป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์แล้วเมื่อจำเลยเป็นผู้ออกเช็ค และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็ค การลงวันที่ การระบุชื่อผู้รับ และการสลักหลัง
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องเช็ค การออกเช็คชำระหนี้ และการพิสูจน์เจตนา
การบรรยายฟ้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นไม่จำเป็นต้องใช้คำตามบทบัญญัติดังกล่าวทุกถ้อยคำ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ย่อมพอเข้าใจได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าและจำเลยสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายนั้นเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้วเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน รายการวันที่และจำนวนเงินที่ลงในเช็คนั้นจำเลยหาจำต้องเขียนลงไว้ในเช็คด้วยลายมือของจำเลยไม่ จำเลยอาจให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ข้อความดังกล่าวให้ก็ได้ หากข้อความถูกต้องตรงกับเจตนาของจำเลยในการออกเช็คนั้นและจำเลยลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วก็เป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องเช็ค การพิสูจน์หนี้ และการออกเช็คที่สมบูรณ์
การบรรยายฟ้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4นั้นไม่จำเป็นต้องใช้คำตามบทบัญญัติดังกล่าวทุกถ้อยคำการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าย่อมพอเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าและจำเลยสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายนั้นเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้วเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5) ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน รายการวันที่และจำนวนเงินที่ลงในเช็คนั้นจำเลยหาจำต้องเขียนลงไว้ในเช็คด้วยลายมือของจำเลยไม่จำเลยอาจให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ข้อความดังกล่าวให้ก็ได้หากข้อความถูกต้องตรงกับเจตนาของจำเลยในการออกเช็คนั้นและจำเลยลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วก็เป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแลกเงินสด: การออกเช็คโดยไม่มีหนี้เดิม ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากโจทก์ขณะแลกทรัพย์สินในระหว่างกันนั้น ผู้แลกต่างไม่ได้มีหนี้ต่อกันมาก่อน การออกเช็คในกรณีนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็ค จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่มีหนี้สิน การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระกันก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้มีชื่อได้นำเช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายมาแลกเงินสดจากโจทก์ ก่อนออกเช็คจำเลยและโจทก์หามีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังที่ออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็คชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ ว. เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 570,000 บาท แล้ว ว. สลักหลังโอนเช็คนั้นให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่การที่ ว.ให้จำเลยกู้ยืมเงินไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมทั้งเช็คก็มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653การที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ยืมให้ ว. เป็นการชำระหนี้ที่ไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา: การออกเช็คไม่เป็นความผิด หากดอกเบี้ยผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น
เช็คพิพาทที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมให้แก่ อ. มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 อ. ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การออกเช็ครายนี้จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ อ. จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมไม่ทราบว่ามี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้ออกเช็คของจำเลยซึ่งไม่ผิดกฎหมายกลับเป็นผิดกฎหมายขึ้นมาอีกเพราะจำเลยจะรับผิดในทางอาญาต้องเป็นการกระทำของจำเลย มิใช่จะถือเอาข้อที่โจทก์ร่วมได้รับเช็คมาโดยไม่ทราบว่าเช็คดังกล่าวมี ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่มาเป็นข้อกำหนดความผิดจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028-5030/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการออกเช็ค-ความผิดพ.ร.บ.เช็ค: แม้มีการแลกเช็คคืน แต่เจตนาให้เรียกเก็บได้เมื่อถึงกำหนด ถือเป็นความผิด
โจทก์ขายเสาเข็มให้จำเลยมาหลายปี ในทางปฏิบัติเมื่อคิดบัญชีค่าเสาเข็มแล้ว จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าประมาณครึ่งเดือนให้แก่โจทก์ และภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสั่งจ่ายในเช็ค ถ้าจำเลยมีเงินสดจำเลยจะนำเงินไปแลกเช็คคืนจากโจทก์แต่คราวใดจำเลยมีเงินในบัญชีพอจ่าย จำเลยจะให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ แสดงว่าการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวทุกครั้งนั้น จำเลยมีเจตนาให้โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้เมื่อถึงกำหนดวันสั่งจ่ายในเช็ค ไม่ใช่เป็นเรื่องมอบเช็คให้เป็นหลักฐานหรือประกันหนี้ เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้เนื่องจากการซื้อเสาเข็มไปเรียกเก็บเงินแล้ว ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจำเลยจึงมีความผิด
ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นทันทีที่ธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อความผิดเกิดขึ้นและโจทก์นำคดีมาฟ้องแล้วคดีจะระงับต่อเมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดย ถูกต้องตามกฎหมาย การชำระหนี้หรือเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่เป็นเหตุให้คดีระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็ค 3 ฉบับ มีความผิด 3 กระทง และการคำนวณโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็ค 3 ฉบับ แม้ธนาคาร ตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ในวันเดียวกัน ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำความผิดในการออกเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ต่างกรรมต่างวาระกัน เพราะจำเลยมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยในการออกเช็ค 3ฉบับจึงเป็นความผิด 3 กระทง
ศาลลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 8 เดือน รวม 3 กระทงต้องกำหนดโทษรวมเป็นจำคุก 24 เดือน ไม่ใช่ 2 ปีและเมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วก็ต้องกำหนดโทษจำคุกเป็น 12 เดือน เพราะการวางโทษเป็นปีทำให้จำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฎิทิน ในราชการดังนั้นการนับวันใน 1 ปีจึงเท่ากับ 365 วัน แต่การนับวันใน 1 เดือน เท่ากับ 30 วัน กำหนดโทษ 12 เดือนคิดเป็นวันจึงเท่ากับ 360 วัน.
of 2