พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: บิดาตามกฎหมาย vs. บิดาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บิดาตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 4 บัญญัติว่า "บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาญาจักรไทย?" และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับ ผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย" ฉะนั้น การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ ต้องบังคับตามบทกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาญาจักรไทยจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ผู้ร้องต้องเกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบิดาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาวแม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ส่วนหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่าผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่นและบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แต่หามีผลลบล้างกฎหมายไม่
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาญาจักรไทยจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ผู้ร้องต้องเกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบิดาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาวแม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ส่วนหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่าผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่นและบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แต่หามีผลลบล้างกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด: หลักฐานไม่เพียงพอรับรองความเป็นบุคคลเดียวกัน
พยานหลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่ผู้ร้องนำมาสืบเพื่อสนับสนุนว่าผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย ไม่อาจนำมายืนยันได้ว่านาง ซ.เป็นคนเดียวกับนางส.และนางซ. เป็นมารดาของเด็กชาย จ. ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นคนเดียวกับเด็กชาย จ. เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้ ผู้ร้องจึงไม่ได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด และการไม่เข้าข่ายการเพิกถอนสัญชาติ
ผู้ร้องเป็นบุตรของคนสัญชาติ จีนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลตามมาตรา8ทวิวรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5ผู้ร้องจึงยังคงได้สัญชาติไทยตามมาตรา7(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดภายใต้ประกาศและ พ.ร.บ.สัญชาติ กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าวหรือถูกถอนสัญชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า"บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3)โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้น การที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและการไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย"หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้นการที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยและขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ. ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7(1) ดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับ จ. ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล. จึงมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ: คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้บิดาเป็นต่างด้าว และใช้สัญชาติบิดาต่างประเทศ ไม่เป็นเหตุถอนสัญชาติ
การที่ผู้ร้องแสดงตนและเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นบุคคลต่างด้าว หาทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิที่จะพิสูจน์ความจริงว่าตนมีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯมาตรา 57 ไม่ จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวโดยที่มิได้อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยมาตัดสิทธิของผู้ร้องและยกคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติได้ ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7(3) ผู้คัดค้านมิได้นำสืบว่าบิดาผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ได้รับอนุญาต หรือเข้ามา ตามที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 บัญญัติไว้ ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่ถูกถอนสัญชาติตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้สัญชาติจีน อันเป็นสัญชาติของบิดาตลอดมานั้น กรณีเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งถอนสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: การพิสูจน์ความเป็นบุตรและสถานที่เกิดมีผลต่อการได้สัญชาติ
ผู้ร้องเกิดที่ประเทศจีน มีบิดาเป็นคนสัญชาติจีน แม้มารดาจะเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องก็ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งเท็จการเกิดต่อเจ้าพนักงาน แม้ผู้แนะนำปฏิเสธ การกระทำโดยรู้ว่าเป็นเท็จมีเจตนา
จำเลยแจ้งข้อความต่อ บ. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลว่าเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรของตนเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ดอันเป็นความเท็จ เพราะเด็กหญิง ธ. เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยกรอกข้อความดังกล่าวลงในแบบฟอร์มใบรับแจ้งความการเกิดเอง โดย บ. มิได้แนะนำ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นอาจารย์ใหญ่ย่อมทราบดีว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จจำเลยจึงมีเจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิในทะเบียนบ้าน รวมถึงอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ