คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12487/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองและการครบกำหนดอายุความ 10 ปี
ที่ดินของจำเลยและที่ดินของมารดาและยายจำเลยตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันเป็นแปลงใหญ่ จำเลยทราบดีว่า ท. ยายจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่และเป็นที่ดินที่จำเลยได้ครอบครองทำกินอยู่ด้วยไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยคงทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังจำเลยทราบด้วยว่า ท. ไม่ไถ่คืน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยก็ยังทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยมิได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือโดยบอกกล่าวต่อโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ฐานะการครอบครอบที่ดินพิพาทของจำเลยก็คงมีตามเดิมไม่อาจจะถือได้ว่าจำเลยครอบครองเพื่อตนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จนเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทและจำเลยคัดค้านการรังวัด อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2537 จึงจะพอถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทนั้นแล้ว แต่เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิตของผู้ถือกรรมสิทธิ์ และการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง
ขณะมีชีวิตอยู่ ห. เพียงแต่มีความประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีการยกให้จริง ดังนั้น ห. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ห. ตกได้แก่บรรดาทายาทของ ห. ซึ่งรวมถึงโจทก์และจำเลยด้วย การที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากที่ ห. ถึงแก่กรรมแล้วจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ห. คนอื่นๆ ด้วย จำเลยเพิ่งจะมาเปลี่ยนเจตนาครอบครองเพื่อตนก็เมื่อจำเลยไปยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 จึงมีอำนาจฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้งก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็เพราะว่าในการที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นนอกจากจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วจำเลยยังขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องแย้งของจำเลยด้วย ดังนั้น ในการอุทธรณ์จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งคำฟ้องโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543ยกเลิกพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม แต่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด"คดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทจำกัด: สิทธิ-หนี้เดิมยังคงอยู่ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้นแต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน มิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1240 ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราอากรขาเข้าผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดฟลูออเรสเซนต์ตามประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 และให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 เมื่อรายการที่เพิ่มไม่มีผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์อยู่ด้วย จึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองเนื้อที่ประมาณ8ไร่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับเรียกค่าเสียหายจำเลยให้การในตอนแรกว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่12ไร่โจทก์ไม่เคยครอบครองจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์มาแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี2517โดยรับโอนการครอบครองมาจากพ.โดยมีค่าตอบแทนจำเลยครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเองมาโดยตลอดแต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่าหากที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อเกิน1ปีแล้วนับแต่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฎิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิงคดีจึงคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และวินิจฉัยมาด้วยนั้นกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเกิน1ปีหรือไม่เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค3ฎีกาโจทก์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2532) เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมาย
จำเลยครอบครองเพโมลีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก
การมีเพโมลีนไว้ในความครอบครองเพื่อขาย มิใช่เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งแต่เดิมจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ขายได้ ตามสภาพและพฤติการณ์จำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ.มาตรา 64
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535ให้ยกเลิกมาตรา 13 เดิมและใช้ความใหม่แทน และให้เพิ่มความเป็นมาตรา 13 ทวิการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ และมีโทษตามมาตรา 89ซึ่งมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่มีโทษเบากว่าโทษตามมาตรา 89 เดิม จึงต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: การกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มเข้าครอบครอง แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ
จำเลยเข้าไปในที่ดินของ จ. แล้วปลูกมันสำปะหลังเป็นการเข้าไปเพื่อถือการครอบครอง หรือกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข ย่อมเป็นความผิดฐานบุกรุกในขณะที่เริ่มเข้าไปปลูกพืชผลนั้น ความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้ว ตั้งแต่จำเลยเข้าไปจึงเป็นการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุข ของ จ. ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นผลของการบุกรุกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจาก จ. เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครองหลังจากการกระทำผิดฐานบุกรุกสำเร็จแล้วการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก กรณีผู้ขอเดิมถึงแก่กรรมระหว่างดำเนินการ ศาลต้องรับคำร้องใหม่
การที่ ป. ยื่นคำคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แต่ต่อมาถึงแก่ความตายในระหว่างไต่สวน อ. บุตรของ ป. จึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวโดยอ้างว่ามี ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดย รับมรดกแทนที่ต่อจาก ป. นั้นกรณีเป็นเรื่องที่ อ. คัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่มิใช่เป็นการขอเข้าเป็นคู่ความแทน ป. ต้องรับคำร้องของ อ.ไว้พิจารณา
of 3