คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การแบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: การให้โดยเสน่หา, พินัยกรรม, และสิทธิในการติดตามทรัพย์สิน
แม้การที่ ร. ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หาแก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(5) และ 1479 และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร. จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 1480 ได้ก็ตาม แต่โจทก์ยังมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังนี้ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่และจำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร. ให้โจทก์ การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง แม้ ร.มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่างร.กับโจทก์ที่ร.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร. ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรม ของ ร. ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมสร้างตนเองและบ้านที่ปลูกใหม่: สิทธิสินสมรสเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์
ที่ดินมือเปล่าที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวนิคมสร้างตนเองยังมิได้มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยและยังอยู่ในระหว่างที่กำลังปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจะได้กรรมสิทธิ์ แต่ยังปฏิบัติไม่สำเร็จตามเงื่อนไข และตกอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และถึงแม้หากจะได้มีหลักฐานกรรมสิทธิ์อยู่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าห้าปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสได้ ส่วนสิทธิในการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะไปว่ากล่าวกับนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ต่อไป บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการสมรสและมรดก: การแบ่งกรรมสิทธิ์ในสินสมรสและผลกระทบต่อการรับมรดก
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ว่า จำเลยเป็นบุตรคนเดียวของ ห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว ประเด็นจึงมีว่า จำเลยเป็นบุตรของ ห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ ห. และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อน จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและมรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์โดยตรง การแบ่งมรดกเป็นอำนาจผู้จัดการมรดก
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับ จ.บิดาโจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท
การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของ จ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ผู้จัดการมรดก หรือทายาทอื่น ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อ ป.ที่ดินมาตรา 86 ผลต่อไปต้องเป็นไปตาม ป.ที่ดินมาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และขอบเขตของสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น. ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สินสมรส vs. สินส่วนตัว และสิทธิในการรับเงินจากการขายทรัพย์สิน
จำเลยมีร้านทำการค้าขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์เป็นอย่างอื่น ย่อมฟังได้ว่า กิจการร้านค้าดังกล่าวจำเลยกับผู้ร้องกระทำด้วยกันตามธรรมดาของสามีภริยา จำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการร้านค้าจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกัน เป็นหนี้ร่วม ต้องเอาชำระจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ที่ดินที่ขายทอดตลาดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอกันส่วนของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การวินิจฉัยราคาที่ดินตามฟ้อง และการใช้ดุลพินิจของศาลในการคืนค่าธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกัน ส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องที่ดินจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการฟ้องซ้ำ
จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแบ่งที่ดินพิพาทนี้ โดยระบุว่าเป็นทรัพย์มรดก จำเลยจะแบ่งให้โจทก์ตามส่วนและข้อตกลงเมื่อโอนให้โจทก์แล้ว โจทก์จะต้องแบ่งให้บุตร4 คนของโจทก์ครึ่งหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับ โจทก์จำเลยตกลงจะไปโอนที่ดินภายใน 30 วันนับแต่วันทำสัญญาและบุตรโจทก์ 4 คนนั้นต้องชำระเงินให้จำเลย 2,000 บาท จำเลยจึงจะโอนให้ตามกำหนดโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแรกขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้ตามสัญญา คดีนั้นศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือว่าสัญญาให้ และวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งฝ่ายโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ว่าโจทก์ได้เสนอจะปฏิบัติการชำระหนี้แล้วขอให้บังคับให้จำเลยรับเงินและโอนที่พิพาทให้โจทก์ อันมีประเด็นโต้เถียงกันว่ากรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์เพียงใดหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยตกลงทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะแบ่งที่พิพาทให้บุตรโจทก์คือ น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาด้วย และได้ความว่าผู้ร้องสอดทั้งสามได้แสดงเจตนาที่จะรับที่ดินส่วนที่จำเลยแบ่งให้แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินส่วนของตนได้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ผู้เดียวก่อนหาได้ไม่ และคำร้องสอดเช่นว่านี้เป็นกรณีขอให้บังคับจำเลยตามสัญญา มิได้ขอให้บังคับโจทก์แต่อย่างใดจึงมิใช่เป็นการฟ้องโจทก์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1534
กำหนดเวลาตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีความหมายที่จะให้จำเลยปฏิบัติการโอนที่ดินให้โจทก์ภายในเวลา 30 วัน ส่วนข้อความตอนท้ายที่จะให้บุตรโจทก์ชำระเงินตอบแทนนั้น ก็มีความหมายเพียงว่าหากบุตรโจทก์ไม่ชำระเงิน จำเลยก็ยังไม่ต้องโอนที่ดินให้ตามกำหนดกำหนดเวลาตามสัญญานี้จึงมิใช่ข้อที่คู่สัญญาตกลงให้ฝ่ายโจทก์ชำระเงินภายใน 30 วัน การที่โจทก์เสนอชำระเงินภายหลังจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและเมื่อโจทก์และผู้ร้องสอดได้ขอชำระเงิน2,000 บาทให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องโอนที่ดินให้โจทก์และผู้ร้องสอด
ตามนัยของสัญญา น.และผู้ร้องสอดทั้งสามซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 4 ของครึ่งหนึ่งของที่พิพาทบุตรโจทก์แต่ละคนจึงต่างก็มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนของตนจากจำเลยได้เมื่อมีคนใดไม่ใช้สิทธิของตนหรือแสดงเจตนาสละสิทธิของตนย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิคนอื่นจะไปใช้สิทธิให้นอกเหนือไปจากสัญญาได้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าพวกตน 3 คนควรได้รับส่วนแบ่งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนที่จำเลยจะต้องโอนให้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยมีประเด็นเรื่องการครอบครองและการต่อสู้เรื่องการยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ค. ค.ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่ โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ค. ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ ค. ต่อมา ค. ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ค. เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ ค. ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ค. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ ค. ค.ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาหกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป้นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง 11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสในชั้นอุทธรณ์: สิทธิในการว่ากล่าวหลังศาลยกคำร้อง
ผู้ร้องสอดร้องขอแบ่งสินสมรสในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์สั่งยกแล้วก็ไม่ควรสั่งสงวนสิทธิให้ผู้ร้องในอันที่จะว่ากล่าวในเรื่องสินสมรสต่อไป
of 2