พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยเมื่อวางเงินค่าทดแทน แม้มีการปรับเปลี่ยนแนวเขตภายหลังก็ไม่คืนกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของเดิม
ที่ดินโจทก์ทั้งสี่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2535 เพื่อสร้างทางพิเศษ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและนำไปวางโดยฝากธนาคารออมสินให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนับแต่วันที่วางเงิน แม้ภายหลังต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2538 ออกใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีมีมติปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ อันเป็นเหตุให้เนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนลดน้อยลงก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินที่ไม่อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าวซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้วกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่เจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายเสร็จ การยึดใบคู่มือทะเบียนโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของเป็นสิทธิที่ไม่มี
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ" เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ. กับ ป. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป. ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: การโอนกรรมสิทธิ์โดยเจตนาสละ และการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
คำร้องขอบรรยายว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้าน ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดี
การพิจารณาว่าประเด็นแห่งคดีมีหลายอย่าง ต้องพิจารณาข้ออ้างและข้อเถียง ทั้งจากคำฟ้องและคำให้การ แม้ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ก็ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยคดี ไม่มีความจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก่อน เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ย่อมเพียงพอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไปได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารในสำนวน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาให้กรมชลประทานผู้ร้องที่ 2 ใช้ร่วมกับคูคลองและลำห้วยซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่เดิม เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจการของผู้คัดค้านและเพื่อประโยชน์ของราษฎรในบริเวณนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ประกอบกับการที่ผู้คัดค้านแจ้งแก่ผู้ร้องว่ายินดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง เป็นการยืนยันเจตนาว่าจะให้ใช้ที่ดินพิพาทเพื่อสาธารณประโยชน์ ถือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาสละที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 ผู้คัดค้านไม่อาจยกเงื่อนไขที่ตนมีต่อผู้ร้องขึ้นอ้างเพื่อลบล้างสภาพที่ดินซึ่งตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305
การพิจารณาว่าประเด็นแห่งคดีมีหลายอย่าง ต้องพิจารณาข้ออ้างและข้อเถียง ทั้งจากคำฟ้องและคำให้การ แม้ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ก็ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยคดี ไม่มีความจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก่อน เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ย่อมเพียงพอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไปได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารในสำนวน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาให้กรมชลประทานผู้ร้องที่ 2 ใช้ร่วมกับคูคลองและลำห้วยซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่เดิม เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจการของผู้คัดค้านและเพื่อประโยชน์ของราษฎรในบริเวณนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ประกอบกับการที่ผู้คัดค้านแจ้งแก่ผู้ร้องว่ายินดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง เป็นการยืนยันเจตนาว่าจะให้ใช้ที่ดินพิพาทเพื่อสาธารณประโยชน์ ถือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาสละที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 ผู้คัดค้านไม่อาจยกเงื่อนไขที่ตนมีต่อผู้ร้องขึ้นอ้างเพื่อลบล้างสภาพที่ดินซึ่งตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเจตนาลวง และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครอง
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอำพรางระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนโจทก์กับให้ใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องของ โจทก์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ ต่อสู้ในประเด็นนี้ แต่ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยและศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ราคาที่ดินพร้อมอาคารสโมสรและสระว่ายน้ำพิพาทประมาณ 8,710,000 บาท ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะยอมขายให้จำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 5,350,000 บาท ภายหลังซื้อขายที่ดินและทรัพย์พิพาทแล้วยังปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาให้โจทก์เช่าเป็นเวลา 3 ปีครึ่งต่อมาภายหลังจำเลยที่ 1 เข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เองกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ 12,000 บาท ทุกเดือน ประกอบกับ ก. บุตรของจำเลยที่ 1 เคยเบิกความในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาว่า โจทก์โอนที่ดินและอาคารสโมสรฝากจำเลยที่ 1ไว้ โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง แสดงให้เห็นว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงเจตนาลวงไม่มี ความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ที่ดินและอาคารพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ครอบครอง
บ.เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ.ผู้จะขายกับ บ.ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ.กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ.และผู้ร้องก็เข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ. ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่าบ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ.แม้ บ.จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ.ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ.และโดยอาศัยสิทธิของบ.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และ ม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์และ ม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่าง พ.กับโจทก์และ ส.ได้ระบุว่า มีการซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย แต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อ ม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้ว ม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 144วรรคสอง มิใช่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ แม้ครอบครองต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวแม้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน5ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองหรืออาศัยในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310-1311/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & สิทธิในที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่มีผลสมบูรณ์ แม้เอกสารสิทธิยังไม่โอน
ในขณะทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมี เอกสารสิทธิเพียง น.ส.3จำเลยชำระเงินให้ ส. ผู้จะขายครบถ้วนและผู้จะขายได้มอบที่พิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาแสดงว่าผู้จะขายได้สละการครอบครองและได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเมื่อได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วจำเลยยัง ครอบครองทำนาในที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านพฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีแล้วจำเลยจึงได้ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แม้ชื่อสัญญาจะระบุว่าเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย แต่ข้อความในสัญญาแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะโอนที่ดินให้แก่กันทันทีแต่มีเหตุติดขัดโอนให้แก่กันทันทีไม่ได้เพราะที่ดินอยู่ระหว่างการออกโฉนดดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็น สัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยขอให้โจทก์ไปทำการแบ่งแยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเป็นการฟ้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ใช่ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายที่ฟ้องระบุว่าจำเลยได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายเป็นการบรรยายถึงที่มาของการได้ที่พิพาทมาเท่านั้นการฟ้องเช่นนี้ ไม่มี อายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291-1292/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: การโอนกรรมสิทธิ์ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่4ต่างได้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ที่3โดยการซื้อขายได้มีการตกลงยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางเดินพิพาทและสระว่ายน้ำพิพาทและบรรยายว่าที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในโครงการและการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4มิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธจึงถือว่ารับในประเด็นข้อนี้ จำเลยที่1ที่2ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินได้จัดถนนและสระว่ายน้ำเป็นสาธารณูปโภคบนที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อบ้านในโครงการเสร็จแล้วถนนและสระว่ายน้ำจึงเป็นภารจำยอมเป็นประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงซึ่งเป็นภารจำยอมโดยผลของกฎหมายติดกับตัวทรัพย์ผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387เมื่อจำเลยที่4รับโอนที่ดินไปจึงต้องมีหน้าที่บำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4สร้างโรงรถและปิดกั้นรั้วในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดกับสิทธิของเจ้าของเดิมที่ได้โอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองปรปักษ์ที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยที่ 1 จะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ได้หรือไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เดิมที่ดินพิพาทมีชื่อ ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2664 ม. ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วจำเลยที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งจำเลยที่ 1อาจอ้างสิทธินี้ยัน ม. ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมได้ แต่ตามมาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของจำเลยที่ 1 อันยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากเจ้าของเดิมมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและตามมาตรา 6 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการ โดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับ โอนที่ดินพิพาทจาก ม.โดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ม. โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ดังนั้นสิทธิการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์นับเวลาใหม่ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยที่ 1 จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ยันโจทก์มิได้เช่นกันจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท