พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึง, การใช้ก่อน, และสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนยื่นจดทะเบียน และความคล้ายคลึงจนสับสน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มาตรา 29 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วยแต่เมื่อไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกัน ทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่างและมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย
มาตรา 29 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วยแต่เมื่อไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกัน ทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่างและมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองชื่อที่ใช้ก่อนและป้องกันการใช้ในธุรกิจที่คล้ายคลึง
โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้าและใช้เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินธุรกิจให้เช่าห้องพักในรูปแบบเกสต์เฮาส์โดยใช้ชื่อว่า "Comfort Inn" และใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "Comfort Inn Co,. LTD." ถึง 5 ปี และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") เพื่อใช้กับบริการให้เช่าห้องพักและโรงแรมถึง 11 ปี เมื่อโจทก์ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการโรงแรมของโจทก์ เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับธุรกิจโรงแรมของโจทก์ และเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน เช่น กระดาษ แผ่นการ์ด ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณากิจการโรงแรมของโจทก์มาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้คำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการเกสต์เฮาส์ให้เช่าห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน กระดาษ ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยที่ 1 และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำว่า "Comfort Inn" มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") หลายปี โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าและที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความสับสนและความเหนือกว่าของสิทธิเมื่อใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาว คำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบ บริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta"อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูป หรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการโฆษณาเป็นสำคัญ
ปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากันจะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียนการใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้มิใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณา ในประเทศไทยและจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่ เป็นปัญหาเท่านั้น โจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าLANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ในประเทศไทย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวก 8,37 และ 50 ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากันส่วนในต่างประเทศนั้นจำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2419 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิดรวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วยได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศและได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้ โฆษณาหรือ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลยคงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนต่างประเทศ, การใช้ก่อน, และการเพิกถอนทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อม คำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้องซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่10832มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นโจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้วหาเป็น ฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการใน วัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วยก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้เมื่อบริษัท ก.เป็น ตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้บริษัท ก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศและได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเองโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วมทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยและจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตามโจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงกัน, สิทธิเจ้าของเครื่องหมาย, การใช้ก่อน, และการลอกเลียนแบบ
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่า นิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLE ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอด ในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรีณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนยื่นจดทะเบียน & การโต้แย้งสิทธิโดยลูกจ้างเดิม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปตัวอักษรโรมันคำ 'พี คิว' ซึ่งเป็นของบริษัทในสหรัฐอเมริกากับสินค้าน้ำมันเครื่องและผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ขณะนั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยยังไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเลย เช่นนี้ ในระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปยื่นขอจดทะเบียนโดยรู้ถึงสิทธิของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่บริษัทต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ไม่ เพราะโจทก์ฟ้องคดีตามสิทธิและในนามของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ผู้ขอจดทะเบียนรายหลังจะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนในการโฆษณาสินค้าซึ่งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรวมทั้งสินค้าสีมาก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดีกว่าโจทก์แม้เครื่องหมายการค้านั้นเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และโจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อนก็ตาม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้จำเลยเสียหายเพราะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าสีของจำเลย จึงเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้จำเลยเสียหายเพราะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าสีของจำเลย จึงเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยและต้องชดใช้ค่าเสียหาย